Category Archives: opensource

แหล่งสารสนเทศ

หลังจากที่ดิฉันกลับจากอินเดียสิ่งที่ได้ติดตัวมาคือความเข้าเรื่องระบบเปิดมากขึ้น จึงหันมาสนใจแหล่งของวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่อยู่ในรูปแบบนั้น รวมถึงการไปสอบถามจากนักศึกษา ป.เอก ทั้งหลายว่าพวกเขาอยากให้ช่วยเรื่องอะไร จึงตั้งอกตั้งใจรวบรวม เริ่มจากสำรวจจากสิ่งที่ตัวเองเข้าไปใช้ เช่น DART  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7295 ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 29 สิงหาคม 2009 ปีนี้ก็ 30 สิงหาคม 2019 เวลาผ่นไปเร็วจนน่าใจหาย พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว …

ฐานข้อมูลแบบเข้าถึงโดยเสรี (Open Access) : ArXiv.org

ในปัจจุบันมีฐานข้อมูลออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงโดยเสรี หรือที่เรียกว่า Open Access มากขึ้น อาจเนื่องจากความต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือเป็นการฝากงานวิจัย หรือเป็นการแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยมากขึ้น และการส่งผลงานไปตีพิมพ์ในฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย นักวิจัยจึงเริ่มให้ความสนใจกับฐานข้อมูลประเภทนี้มากขึ้น และเพื่อแนะนำให้เพื่อน ๆ น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักกับฐานข้อมูลประเภทนี้ วันนี้จะขอแนะนำ ฐานข้อมูล ArXiv.org …

จาก บุพเพสันนิวาส ไป Europeana และต่อที่ British Museum

ดิฉันเขียนเรื่องราวของเว็บไซต์ Europeana ไว้ตั้งแต่ 12/07/2009 นานจนลืม!!! ซึ่งเป็นปีแรกๆ ของการเขียน blog ส่วนปีนี้คือ 2018 กลับไปอ่านที่ตัวเองเขียนไว้เพื่อทบทวนความคิดแถมยังมีร่องรอยการทำงานที่เริ่มลืมเลือน ส่วนบรรทัดสุดท้ายนี่พีคมาก เพราะบอกว่าไปสมัครเป็นสมาชิก ตกใจถึงกับตาเหลือกมองบน  😯 http://202.28.73.5/snclibblog/?p=4982
 
วันนี้ 12/3/2018 ดิฉันนึกถึงเว็บนี้ เนื่องจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาสเป็นเหตุ  …

รู้นะว่า… ก๊อบแล้วแปะ

เมื่อวานมีสหายโทรศัพท์มาถามว่า ห้องสมุดของเราได้ซื้อโปรแกรมที่ตรวจจับการโจรกรรมทางวรรณกรรม (plagiarism)  หรือไม่ บอกว่าไม่ได้ซื้อจ้า เพราะเราไม่มีตังส์ (เหตุผลหลัก) เพราะโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบได้ที่ขายในท้องตลาด ไม่สามารถใช้ตรวจสอบกับภาษาไทยได้
เรื่องนี้พี่พัชได้เขียนและมีการแสดงความเห็นกันไว้แล้วเมื่อ 30 July 2009 ซึ่งอีกไม่กี่เดือนก็ครบสามปีเต็ม  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=5526
และอื่นๆ ได้แก่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=9214 และ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=10805

ฟอนต์ราชการ

คำว่าฟ้อนต์ มาจากภาษาอังกฤษ ว่า  font  แปลว่า ตัวอักษร  แล้วเราก็จะเรียกติดปากกันว่า ฟอนต์  พวกเรามักใช้ฟอนต์ตามที่อยู่ในเครื่อง ซึ่งแล้วแต่ว่าท่านที่ลงโปรแกรมให้ว่าจะให้มีมากขนาดไหนและชื่ออะไรบ้าง แล้วเราก็ยังเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้อีก

ตัวเองยังเคยคิดเลยว่าในโลกนี้มีแค่ Angsana Cordia ฺBrowallia แถมก็ยังไม่รู้อีกว่า หากต่อท้ายด้วย New หรือ UPC …

ความสุขจาก blog

ภารกิจของดิฉันในขณะนี้คือเขียนของบบริการชุมชนปี 54 ซึ่งต้องรายงานผลของปี 52 คือปีที่ผ่านมาหมาดๆ
เหตุที่มาวุ่นวายตอนนี้เนื่องจากมีการเปลี่ยนปลงรูปแบบรายงานใหม่ ที่ต้องอาศัยทุกอย่างทั้งการประเมินผลและภาพประกอบ
แต่มีความรู้สึกว่าอ่านแล้วก็ธรรมดาเหมือนอ่านรายงานทางวิชาการทั่วๆ ไป คือไม่มีอารมณ์และความรู้สึกใดๆ ข้อความไม่มีชีวิต เหี่ยวๆ แห้งๆ จึงไปดูตาม blog ต่างๆ ที่หลายๆ คน ขะมักเขม้นเขียนรายงานการทำงานต่างๆ แบบอ่านแล้วสัมผัสได้ถึงความโหด …

เครือข่ายบรรณารักษ์ไทย Thai librarian Network

น้องวา่ย คุณเมฆิน ลิขิตบุญฤทธิ์ เจ้าของ projectlib ตามด้วย libraryhub และกิจกรรม libcamp ที่หลายๆ คนมักไปแสวงหารู้แบบแนวๆ ได้ที่นั่น วันนี้เจ้าตัวมีโครงการใหม่คือเพียรพยายามสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ไทย ด้วยความมานะอดทน ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่น่านับถือและจับตามอง เพราะเรื่องแบบนี้นอกจากสร้างแล้ว ยังต้องมีอะไรๆ ตามมามากมาย ทั้งบวกและทั้งเกือบบวก…
ไปหาเพื่อน …

Previous Posts

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร