จาก บุพเพสันนิวาส ไป Europeana และต่อที่ British Museum

ดิฉันเขียนเรื่องราวของเว็บไซต์ Europeana ไว้ตั้งแต่ 12/07/2009 นานจนลืม!!! ซึ่งเป็นปีแรกๆ ของการเขียน blog ส่วนปีนี้คือ 2018 กลับไปอ่านที่ตัวเองเขียนไว้เพื่อทบทวนความคิดแถมยังมีร่องรอยการทำงานที่เริ่มลืมเลือน ส่วนบรรทัดสุดท้ายนี่พีคมาก เพราะบอกว่าไปสมัครเป็นสมาชิก ตกใจถึงกับตาเหลือกมองบน  😯 http://202.28.73.5/snclibblog/?p=4982
 
วันนี้ 12/3/2018 ดิฉันนึกถึงเว็บนี้ เนื่องจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาสเป็นเหตุ  เพราะอยากเห็นรูปเก่าๆ ในละคร Europeana วันนี้ต่างจากวันก่อนมาก (รำพันเบาๆ) ที่อยู่คือ https://www.europeana.eu/portal/en 
 
Europeana เป็นห้องสมุดดิจิทัลรวบรวมสารสนเทศ ที่เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรม ทั้งที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพยนตร์ แม้กระทั่งเสียง ทั้งหมดเกิดจากความร่วมมือของประเทศในทวีปยุโรป ในหน้าแรกบอกว่ามีจำนวน 51,423,386 รายการ หากท่านใดอยากทราบรายละเอียดเยอะๆ เห็นความเป็นมา เป็นไป ความร่วมมือกันการทำงานที่เป็นยประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ดูได้จากที่นี่ค่ะ  http://europa.eu/rapid/press-release_MEMO-09-366_en.htm?locale=en ในที่นี่จะขอเล่าในสิ่งที่พบและนำมาใช้ 
 
b1
 
พอเห็นช่องคำค้น นึกๆ สิ่งที่อยากรู้เลยใส่คำว่า “์Narai” enter แล้วรอ อัยย่ะ!!! เจอแล้วค่ะพี่น้อง ตามประสบการณ์คือต้องคลิกไปที่รูป  https://www.europeana.eu/portal/en/record/92062/BibliographicResource_1000126046895.html?q=Narai
 
b3
 
อ้าวเห็นปุ่ม Download รอช้าอยู่ไย คลิกสิคะ 
 
b5
 
แล้วก็คัดลอกได้รูปนี้ 
92062_BibliographicResource_1000126046890
 
รูปนี้พบในหนังสือหลายเล่มที่ระบุว่าคือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ใน Europeana ไม่มีชื่อจิตรกรหรือคำอธิบายใดๆ บอกไว้ใน Metadata  
 
b7
 
ตามประสาบรรณารักษ์ที่มีหน้าที่ต้องค้นและคว้าเพื่อให้คลายข้อสงสัย จึงคิดต่อไปว่าต้องมีสักที่ที่ทำให้เราค้นต่อได้จึงนึกถึงที่ British Museum เพราะทราบว่ามี Collection Online  http://www.britishmuseum.org/research/collection_online/search.aspx
b8
ผลที่ได้คือรูปภาพและเมทาดาทาแบบแน่นๆ
 
b9
มีคำอธิบายว่า “Portrait of the King of Siam: bearded man, bust-length, turned to the left, wearing richly ornate costume formed by crown adorned with pearls, cape, and embroidered tunic; in oval frame with ribbon tied in the upper part, and coat of arms in the lower part Engraving
 
คำถามคือจะเขียนอ้างอิงและเขียนบรรณานุกรมอย่างไร หากเราพบรูปภาพใน จาก Europeana หรือ British Museum ว่าแล้วก็ตุ้มต๊ะตุ้มตุ้๊ยย้ายร่างขึ้นไปหาพี่พัชผู้ชำนาญการเรื่องนี้รับไป และให้พี่เค้าเล่าถึงการทำงานเมื่อมีโจทย์แบบนี้ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าดิฉันที่เป็นผู้รับข้อมูล 😛 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร