โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบสำหรับผู้หญิง
โรคกระดูกพรุนมักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะมีการสลายกระดูกสูงกว่าการสร้างใหม่ ทำให้เนื้อมวลกระดูกลดลง เพราะคนไทยขาดการป้องกันและการดูแลที่ถูกต้อง โรคกระดูกพรุนมักจะไม่แสดงอาการ จะเป็นโดยไม่รู้ตัว สำหรับผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน กระดูกจะสลายตัวอย่างรวดเร็วกว่าปกติถึง 5 เท่า เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เช่น ผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ออก คนที่มีร่างกายผอมบางมาก คนที่สูบบุหรี่ กินเหล้า และผู้ที่กินยาเป็นระยะเวลานานๆ เช่น สเตรียรอยด์ ไทร็อกซิน
การดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ไม่ยาก เช่นการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร 3 ชนิด ที่จำเป็นในกระบวนการสร้างกระดูกให้แข็งแรง ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี และที่สำคัญที่สุดคือ วิตามินดี 2 มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นการสะสมแคลเซียมในกระดูกทำให้เนื้อกระดูกหนาแน่นขึ้นแข็งแรงมากขึ้น วิตามินดี 2 พบมากที่สุดใน มัตโตะหรือถั่วหมักญี่ปุ่นมีวิตามินดี 2 สูงถึง 900 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม และที่สำคัญคือการรับประทานอาหารที่มีทั้งแคลเซียม วิตามินดี และวิตามินดี 2 ให้ครบ แต่ถ้าหากได้รับสารทั้ง 3 ไม่เพียงพอ ก็สามารถเลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติ เพื่อเสริมสารอาหารที่จำเป็นให้ครบถ้วน
ที่มา : นิตยสารชีวจิต ฉ.488