ฟอนต์ราชการ

คำว่าฟ้อนต์ มาจากภาษาอังกฤษ ว่า  font  แปลว่า ตัวอักษร  แล้วเราก็จะเรียกติดปากกันว่า ฟอนต์  พวกเรามักใช้ฟอนต์ตามที่อยู่ในเครื่อง ซึ่งแล้วแต่ว่าท่านที่ลงโปรแกรมให้ว่าจะให้มีมากขนาดไหนและชื่ออะไรบ้าง แล้วเราก็ยังเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้อีก

ตัวเองยังเคยคิดเลยว่าในโลกนี้มีแค่ Angsana Cordia ฺBrowallia แถมก็ยังไม่รู้อีกว่า หากต่อท้ายด้วย New หรือ UPC จะให้ผลที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มารู้ต่อเมื่อสังเกตุว่าทำไมคนอื่นถึงได้ทำตัวอักษรสวยๆ ที่ต่างจากเรา เพราะงานที่ทำอยู่จำเป็นต้องเผยแพร่ออกไป จึงต้องการความงาม จึงไปไขว่คว้าหามา เรื่องพวกนี้นอกจากจะอาศัยอากู๋นามกูเกิ้ลแล้ว ยังมีประสบการณ์ของตัวเองที่ลองผิดลองถูก รวมทั้งพวกเด็กๆ ลูกหลานเรานั่นแหละเป็นตัวช่วยอย่างดี … ไม่เชื่อลองหันไปถามสิ

ไม่บอกวิธีการหรอก เด็กในยุคจะบอกว่าหนูทำใ้ห้ แล้วก็คลิกโน่น นี่ ว๊อบแว๊บ ทำให้เราต้องใช้กรรมวิธีแบบวิศวกรรมย้อนรอย ไปควานหาวิธีการ หรือโบราณเรียกว่าครูพักลักจำ

เมื่อเดือนที่แล้วได้อ่านข่าวบอกว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์ อื่น ๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (สอซช.) หรือ SIPA และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) และใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยให้ติดตั้งและใช้งานให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2553

เหตุผลคือส่วนราชการจำนวนมากมีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลาย ไม่มีมาตรฐานในเอกสารทางราชการ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการหลายแห่งใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาด ลิขสิทธิ์ เช่น Angsana อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาและมีการประกวดแข่งขันฟอนต์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ Open Source Software ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีให้ส่วนราชการไทยประกาศมาตรฐานเอกสารดิจิตัลและรูปแบบ ของฟอนต์ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใด ๆ เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและพร้อมแจกจ่ายให้ กับผู้ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ (ข้อมูลจาก http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2158)

เรื่องนี้ยังนำไปขยายค่อในเฟซบุ๊คส์ของหอสมุดฯ และต่อมาก็ยังมีน้องๆ ส่งมาให้ดูเตือนความจำ ยังลุ้นดูอยู่ว่าใน มหาวิทยาลัยใครจะประกาศ แต่ก็เห็นเงียบๆ ทีแรกกะว่าจะใช้ไปก่อน เกรงว่าจะเกิดอาการงงงวยตีกลับมาว่าใช้ฟอนค์อะไรพิมพ์มา จึงได้ยั้งๆ เอาไว้ก่อน แล้วก็ลืมไปจนกระทั่งปัจจุบัน ….

บังเอิญวันนี้หนูใหญ่ บอกว่าให้ไปโหลดแบบฟอร์มของบประมาณปี 55 จากกองแผนงาน เปิดดูเห็นฟ้อนต์ในแบบของบประมาณแล้วแปลก เลยไปดูอ๋อใช้ TH Fah kwang น่าจะเรียกว่า ไทยฟ้ากว้าง

fontthai31

และหน้าตาของแบบอักษรดังกล่าวในเอกสารจะเป็นแบบนี้ เลยทำให้สงสัยและนึกถึงเรื่องดังกล่าว จึงคิดว่าน่าจะถึงกาลที่นำมาเล่าให้พวกเราฟัง

fontthai2

และฟ้อนต์ทั้ง 13 แบบ หน้าเป็นแบบนี้ ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/runner/2010/09/11/entry

fontthai1

แล้วก็โหลดโลดได้ที่ SIPA (อ่านว่า ซิป้า) ค่ะ http://www.sipa.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=20&Itemid=78

แต่ฟ้อนต์ที่แนะนำให้ชื่อคือ TH SarabunPSK ซึ่งน่าจะอ่านว่า  ไทยสารบรรณ

จึงแจ้งมาให้ทุกท่านทราบและใช้ผลิตผลของไทย จะได้เรื่องทันเหตุการณ์ตามกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีท่านให้มานโยบายค่ะ

รู้ตัวเร็ว พร้อมก้าวกันอีกแระ อิอิ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร