รู้นะว่า… ก๊อบแล้วแปะ

เมื่อวานมีสหายโทรศัพท์มาถามว่า ห้องสมุดของเราได้ซื้อโปรแกรมที่ตรวจจับการโจรกรรมทางวรรณกรรม (plagiarism)  หรือไม่ บอกว่าไม่ได้ซื้อจ้า เพราะเราไม่มีตังส์ (เหตุผลหลัก) เพราะโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบได้ที่ขายในท้องตลาด ไม่สามารถใช้ตรวจสอบกับภาษาไทยได้
เรื่องนี้พี่พัชได้เขียนและมีการแสดงความเห็นกันไว้แล้วเมื่อ 30 July 2009 ซึ่งอีกไม่กี่เดือนก็ครบสามปีเต็ม  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=5526
และอื่นๆ ได้แก่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=9214 และ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=10805
เวลาผ่านไปเร็วเหมือนโกหก เพราะปัจจุบันมีผู้คิดค้นสิ่งที่เราอยากได้มาแล้ว ซึ่งได้เขียนไว้ใน “อ่านเอาเรื่อง” จดหมายข่าวของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ที่พยายามให้ออกเป็นรายเดือน ในฉบับที่ 3 ปี 2554 (โปรดอ่านได้จากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ) เรื่อง ใครลอกใคร ใครลอกเรา เราลอกใคร หรือเราลอกเราซึ่งตอนที่ตั้งชื่อเรื่องนี้นึกถึงที่พี่พัชไปฟังบรรยายเรื่องนี้ แล้วกลับมาเล่าให้ฟังว่า การลอกมีหลายแบบ ลอกของตัวเองหากไม่อ้างอิงก็เข้าข่ายแบบนี้ด้วย
เนื้อหาใจความของเรื่องที่ว่าคือ แนะนำระบบ Anti-Kobpae หรือ ระบบตรวจสอบความคล้ายกันของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลงานของทีมนักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยและภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (์์NECTEC ) ระบบนี้สนับสนุนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยนำเอกสารที่ต้องการตรวจสอบเปรียบเทียบกับเอกสารที่จัดเก็บไว้ในคลัง ข้อมูลและเอกสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยลดเวลาในการตรวจสอบเอกสารที่ต้องการ โดยเทคนิคที่ใช้ในระบบนี้จะใช้เทคนิค Sliding Window เพื่อช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้เขียนเอกสารบางรายหลบหลีกการตรวจสอบจากระบบ โดยเพียงแค่เพิ่มคำ ลบคำ บางส่วนในเนื้อหา หรือมีการสลับประโยค ระบบสามารถตรวจสอบได้เช่นกัน
คุณสมบัติของระบบบอกไว้ว่า
-ระบบสามารถตรวจสอบเอกสารภายใต้โครงการ NSC และเอกสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตได้  (NSC คือโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย)
– ระบบตรวจสอบความคล้ายกันของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
– ระบบมีการทำงานในรูปแบบรับ-ให้บริการ (Client-Server) และพัฒนาเป็นลักษณะเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application)
– ระบบสามารถตรวจสอบเอกสารในรูปแบบของ Plain Text (*.txt), Microsoft Word (doc, docx) และ Open Office Writer (odt)
– ระบบสามารถตรวจสอบเอกสาร Plain Text (.txt) โดยรองรับ encoding ทั้ง UTF-8 และ ANSI
– ระบบทำสรุปเป็นเปอร์เซ็นต์ความคล้ายกันของเอกสารที่ตรวจสอบได้
– ระบบสามารถแสดงผลการเปรียบเทียบความคล้ายกันระหว่างเอกสารทั้ง 2 เอกสาร และทำแถบสีที่ข้อความที่คล้ายกันได้
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจาก  http://www.anti-kobpae.in.th/ ที่บอกเล่าความเป็นมาและมีคู่มือการใช้ไว้เรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นพวกเราจงลองเข้าไปใช้ และเอาไว้ตอบแบบถามได้ตอบได้ เวลาใครมาถามจ้า … เล่นไม่ยากจ้า
copy
… ส่วนผลจะเป็นอย่างไร โปรดติดตาม เพราะบางทีคนฉลาดก็อาจจะฉลาดมากกว่าระบบ
โปรดอย่าลืม http://www.anti-kobpae.in.th/

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร