แหล่งสารสนเทศ
หลังจากที่ดิฉันกลับจากอินเดียสิ่งที่ได้ติดตัวมาคือความเข้าเรื่องระบบเปิดมากขึ้น จึงหันมาสนใจแหล่งของวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่อยู่ในรูปแบบนั้น รวมถึงการไปสอบถามจากนักศึกษา ป.เอก ทั้งหลายว่าพวกเขาอยากให้ช่วยเรื่องอะไร จึงตั้งอกตั้งใจรวบรวม เริ่มจากสำรวจจากสิ่งที่ตัวเองเข้าไปใช้ เช่น DART http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7295 ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 29 สิงหาคม 2009 ปีนี้ก็ 30 สิงหาคม 2019 เวลาผ่นไปเร็วจนน่าใจหาย พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว เป็นอมตะวาจาเสมอ จากนั้นไปค้นในเว็บไซต์ที่เอ๋ทำไว้ รวมทั้งหมดแล้วส่งพี่พัชซึ่งทำเก็บไว้เช่นกัน เมื่อนำมารวมกันจึงได้ 20 แหล่งสารสนเทศ ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นเลขสวยประสาอะไรก็ต้องเป็นเลขกลมๆ
พี่พัชช่วยเข้าไปทดลองใช้และเขียนแนะนำแต่ละฐานข้อมูล ดิฉันรับมา edit ถ้อยคำ และลงมือออกแบบ เพราะคิดว่าตนเองมีเวลารวมทั้งเข้าใจตนเองว่าต้องการอะไรโดยอาศัย canva เป็นตัวช่วย https://www.canva.com ซึ่งหลายคนดิฉันแนะนำหรือสอนให้ใช้ และให้บอกต่อกันไปเรื่อยๆ เครื่องมือต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนอยู่เสมอ งานพวกนี้มีความสวยงามในระดับหนึ่งที่ยอมรับได้ และคนที่ไม่มีทักษะด้านศิลปะจะช่วยได้มาก รวมทั้งรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
งานชิ้นนี้ดิฉันแชร์ให้หนิงเข้ามาแก้ไขได้ เพราะส่วนตัวเชื่อว่าการทำงานมากกว่าสองตาและหนึ่งสมอง มักรอบคอบและดีกว่าเสมอ 😮 และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ดิฉันหาขีดๆ ที่ติดออกมาไม่ได้ แต่หนิงหาพบและเข้าไปแก้ไขได้ เช่นเดียวกับเราใช้ googledoc การทำงานบนเมฆแบบนี้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้เสมอ หนิงเขียนสเตตัสทำเป็นอัมบั้ม แล้วอธิบายแต่ละรูปว่าคืออะไร สเตตัสนี้ยังได้รับการแชร์อยู่เรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน จึงขอขอบคุณเดอะทีมมา ณ ที่นี้ ส่วนใครยังไม่เห็นจะตกข่าวอย่างแรง
ดิฉันบอกน้องๆ ว่าตั้งเป้าไว้ที่ 50 ไลค์และ 100 แชร์ 😯 ขำตัวเองเพราะเข้าข่ายโรคจิตที่หลงยอดไลค์ ยอดแชร์ 5555
ดิฉันบอกนี่คือ Status of the year ในสไลด์ที่นำเสนอผลงานของหอสมุดฯ ในวันที่ตรวจประกันคุณภาพ 30 สิงหาคม 2562 นี้ และการสร้างเนื้อหาแบบนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายบรรณารักษ์ทุกคน ที่เราต้องเพียรพยายามกันต่อไป สู้ต่อไปนะทาเคชิ!!!