การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับบรรณารักษ์และห้องสมุด
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง “กฎหมายลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุด” โดยคุณเขมะศิริ นิชชากร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นวิทยากร ซึ่งได้กล่าวถึงลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดไว้หลายประเด็น จะว่าไปในฐานะที่พวกเราทำงานห้องสมุด มุ่งเน้นในเรื่องของการบริการให้เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ ก็อาจทำให้เราเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยไม่ตั้งใจ ทั้งนี้และทั้งนั้นเราก็คงต้องมีความรู้ในเรื่องของลิขสิทธิ์ไว้บ้าง เพื่อลดความเสี่ยงลง…
เขียนอย่างไร?
เมื่อวานมีผู้สอบถามว่าจะเขียนอย่างไรให้ดูว่าไม่ “ละเมอ” และช่วย “อ่าน” ให้หน่อย เพราะอยากจะปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่เนื่องจากพักนี้ดิฉันต้องอ่านเอกสารจำนวนมาก รวมทั้งมีโทรศัพท์จากเสียงที่ไม่คุ้นเคย จึงอยากรักษาใจให้นิ่งๆ แล้วจะค่อยๆ ตามย้อนอ่าน 🙁 จึงไม่สามารถตอบได้ทันที
แต่เมื่อขอมาก็กลับไปอ่าน เพราะช่วงนี้บล๊อกเปลี่ยนหน้าใหม่ เพราะ (อีกครั้ง) ให้เข้ากับ device …
อย่าละเมอ จนละเมิด
เมื่อไม่นานนี้ ห้องสมุดได้จัดโครงการบริการชุมชนฯ ด้วยการเชิญวิทยากรมาพูดเรื่องเกี่ยวกับการทำงานผลงานทางวิชาการโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ คนที่มีโอกาสเข้าฟังบอกว่าชอบมาก เพราะเข้าใจง่ายและทุกคำถามมีคำตอบ ขอบคุณโลกของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้รู้จักวิทยากร และขอบคุณโลกของหนังสือที่ทำให้เรามีโอกาสได้อ่านผลงานของท่าน และเสียดายต้องเดินทางไปราชการจึงไม่มีโอกาสได้ฟัง แต่น้องปูผู้ไปราชการงานเดียวกับดิฉัน ได้สร้างโอกาสให้ตัวเองด้วยการขอยืมวิดิโอที่ได้บันทึกไว้ โดยใช้ชั่วโมงการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ดิฉันทราบก็รู้สึกดีใจกับน้องที่รู้จักสร้างโอกาส ถือเป็นโมเดลดีๆ ที่น่าประพฤติตาม
ผลงานทางวิชาการ ไม่ได้ตีความเท่ากับตัวอักษร …
ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์…เรื่องปวดหัวที่ต้องรู้
กรณีตัวอย่าง สตาร์บัค VS สตาร์บัง
ชื่อและเครื่องหมายการค้า ที่มีการจดทะเบียนแล้ว บุคคลอื่นจะทำคล้าย หรือ เหมือนไม่ได้
ลิขสิทธิ์…เป็นคำที่หลายๆ คน ฟังแล้วเกิดอาการวิงเวียน
ลิขสิทธิ์…เป็นคำที่หลายๆ คน ฟังแล้วเกิดอาการใบ้ชั่วขณะ
ลิขสิทธิ์…เป็นคำที่หลายๆ คน ฟังแล้ว…bla bla …
ว่าด้วยเรื่อง…ลิขสิทธิ์ (ห้องสมุด)
เนื่องจากตัวเองต้องรับผิดชอบในงานของหอสมุดฯ ที่อาจมีโอกาสไปเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะจากการที่ได้อ่านเรื่องราวของลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจากหนังสือ หรือเอกสารการสัมมนา หรือแม้แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ รวมถึงครั้งล่าสุดที่ได้มีโอกาสไปร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ ซึ่งจัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ยิ่งฟังก็ยิ่งหนาว…เพราะถ้าเอาเข้าจริงๆ แล้ว เรามีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ได้อยู่ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
ลิขสิทธิ์ หมายถึงอะไรคงไม่ต้องพูดถึง เพราะจริงๆ มันคงผ่านเลยจุดนั้นไปแล้ว แต่ที่แน่ๆ ผลงานนั้นๆ …
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรมและประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรองรับให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 1013)
ดูเหมือนว่าบรรณารักษ์อย่างดิฉันจะยึดมั่น ถือมั่นกับบางข้อความเป็นพิเศษ ในกฎหมายลิขสิทธิ์ที่บอกว่า …
ทำอย่างไรจึงจะใช้รูปจากหนังสืออื่นไ้ด้อย่างไม่ละเิมิดลิขสิทธิ์
เมื่อหลายวันก่อน มีอาจารย์มาขอคำปรึกษาเรื่อง การนำรูปภาพจากหนังสือต่างประเทศมาใช้ในการรวบรวมเขียนเอกสารที่ใช้ในการสอนนักศึกษา ว่า ทำอย่างไร จึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่โดนฟ้องร้อง ( หนังสือของอาจารย์จะทำขายนักศึกษาด้วย) หลังจากคุยกับอาจารย์ไปแล้ว ก็ได้กลับมาอ่าน คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ทีเป็นธรรม ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบตัวเอง และคำตอบว่าใช้ได้หรือไม่ จึงได้นำมาสรุปแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้ทราบด้วย …