ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์…เรื่องปวดหัวที่ต้องรู้
กรณีตัวอย่าง สตาร์บัค VS สตาร์บัง
ชื่อและเครื่องหมายการค้า ที่มีการจดทะเบียนแล้ว บุคคลอื่นจะทำคล้าย หรือ เหมือนไม่ได้
ลิขสิทธิ์…เป็นคำที่หลายๆ คน ฟังแล้วเกิดอาการวิงเวียน
ลิขสิทธิ์…เป็นคำที่หลายๆ คน ฟังแล้วเกิดอาการใบ้ชั่วขณะ
ลิขสิทธิ์…เป็นคำที่หลายๆ คน ฟังแล้ว…bla bla bla
วันนี้จะนำสาระง่ายๆ ใส่บ่าแบกหาม และจับต้องได้
เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ มาแบ่งและปัน…เพื่อทราบ และไม่ทราบ (หากไม่พึงประสงค์)
การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีหลักสำคัญ คือ Fair Use เป็นที่สังเกตได้ไม่ยาก คือ
- ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
- ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
ข้อยกเว้นที่พึงสังเกต คือ
ข้อยกเว้นที่ 1 วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
ข้อยกเว้นที่ 2 ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
ข้อยกเว้นที่ 3 การติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น เช่น Book Review
ข้อยกเว้นที่ 4 เสนอรายงานข่าวสารสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
ข้อยกเว้นที่ 5 ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล
หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
ข้อยกเว้นที่ 6 ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน
เพื่อประโยชน์ในการสอนของตนอันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
ข้อยกเว้นที่ 7 ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน
หรือสถาบันศึกษาเพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
ข้อยกเว้นที่ 8 นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
ข้อยกเว้นที่ 9 การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อสังเกต ประเด็นที่ควรรู้ และพึงระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์
- ลิขสิทธิ์คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์งาน และหลังจากเสียชีวิต อีก 50 ปี
- ภาพทุกภาพบนอินเตอร์เน็ตอาจไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ภาพบางภาพบนอินเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์เราไม่รู้
- ช่างภาพรับจ้างถ่ายภาพ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้จ้าง โดยควรทำสัญญาจ้างระบุถึงการจ้างว่าจ้างใคร ทำอะไรทั้งนี้ผู้ถ่ายภาพยังคงชื่อตนเองในงานเป็น “ธรรมสิทธิ์” ได้
- การใส่ลายน้ำ เป็นการแสดงถึงการเป็นผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น
- ความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ภาพ คือ การใช้ภาพที่ถ่ายด้วยตนเอง
- การใช้ภาพถ่ายจากภาพวาด ถือเป็นการทำสำเนา จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
- การวาดภาพจากภาพถ่ายที่มีลิขสิทธิ์ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
- การถ่ายภาพบางประเด็นอาจใช้พิกัดตัดสินการละเมิดได้ เช่น ภาพพลุไฟ ซึ่งถ่ายในมุมเดียวกัน วินาทีเดียวกันหากพิสูจน์พิกัดที่ถ่ายภาพได้ก็สามารถตัดสินละเมิดหรือไม่ได้ เช่น ถ่ายจากตึกสูงแต่อยู่คนละชั้นองศาของภาพจะเป็นหลักฐานให้พิสูจน์ได้
- การนำงานของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนเอง สามารถใช้ได้ตามสมควรโดยอิงตามความเหมาะสมกับต้นฉบับ
- ระบบการอ้างอิงแบบอเมริกันจะอ้างอิงทุกการจบประโยค (Full stop) แต่ระบบของไทยอ้างอิงเฉพาะท้ายข้อความ
- การละเมิดลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีเจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ร้อง และยุติได้ด้วยเจ้าของสิทธิ์ไม่เอาความ
- การนำความคิดเห็นผู้อื่นมาใช้ แม้จะมีการเรียบเรียงใหม่เป็นของตนเอง หลักการอ้างอิงที่ถูกต้องจะต้องอ้างอิงในทันที ไม่ใช่นำไปอ้างอิงเฉพาะในบรรณานุกรม
- การประเมินงานวิจัย จะประเมินผ่านหรือไม่ผ่าน ต้องอ้างอิงระเบียบว่าไม่ผ่านด้วยระเบียบข้อใด
- วิทยานิพนธ์แม้มหาวิทยาลัยจะแจ้งลิขสิทธิ์ไว้ แต่โดยส่วนมากหากเจ้าของผลงานทำเรื่องขออนุญาตบัณฑิตวิทยาลัยก็มักจะไม่ขัดข้อง
- นักศึกษาทำงานวิจัยส่งและได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารหากนักศึกษาต้องการนำมาเผยแพร่พิมพ์ซ้ำต้องขออนุญาต
- การเซ็นต์ยินยอมยกลิขสิทธิ์ให้บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่เริ่มทำวิทยานิพนธ์ถือเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
- การขอคำปรึกษาและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกามิได้หมายรวมถึงการตัดสินของศาล เรื่องที่ต้องมีการตัดสินจะสิ้นสุดที่อำนาจศาลที่มีมากกว่า คกก. กฤษฏีกา
- คดีหมิ่นประมาทแยกเป็นคดีแพ่งและอาญา ทางแพ่งแม้เป็นเรื่องจริงก็ถือว่าผิด
- ส่วนทางอาญาแม้เป็นเรื่องจริงก็ถือว่าหมิ่น เพราะกฏหมายให้ความคุ้มครองบุคคลทุกคนมิให้เกิดการติฉินนินทาให้ผู้อื่นเสียหาย
- การเขียนงานซึ่งยังไม่เผยแพร่ แต่มีบุคคลอื่นมาลอกเลียนนำไปเผยแพร่ก่อนลิขสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้เขียน โดยต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นผู้เขียนงานนั้น
- การตีพิมพ์หนังสือเก่าซ้ำโดยไม่รับอนุญาตถือว่าละเมิด เช่น หนังสือพิมพ์ในปี 2478 นำมาเปลี่ยนปกและตีพิมพ์ซ้ำ