ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรมและประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรองรับให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 1013)
ดูเหมือนว่าบรรณารักษ์อย่างดิฉันจะยึดมั่น ถือมั่นกับบางข้อความเป็นพิเศษ ในกฎหมายลิขสิทธิ์ที่บอกว่า …
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 มาตรา 34 การทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์โดยบรรณารักษ์ห้องสมุดที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่
(1)  เป็นการทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(2)   เป็นการทำซ้ำบางส่วนบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา ทั้งนี้การดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร และไม่เป็นการกระทบกระเทือนสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (มาตรา 32 วรรค 1)
การกระทำใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ถ้าไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายเกินสมควร ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น วิจัยหรือศึกษางานนั้นอันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร และใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท (มาตรา 32 วรรคสอง (1) (2)) เป็นต้น
หรืออีกนัยยะหนึ่งคือคิดว่าห้องสมุดทำได้ เพราะเราทำเพื่อการเรียนการสอน
สมัยอยู่ฝ่ายบริการพี่พัช จะเป็นผู้ไปฟังเรื่องนี้บ่อยๆ แล้วกลับมาเล่าให้ฟัง จำฝังใจเลยว่า มันไม่ใช่แบบนั้นทั้งหมด เพราะต้องกระทำแบบพองามไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจของเค้า อ่านจากบล๊อกเก่าๆ ที่พัชเขียนให้อ่านได้ เช่น http://202.28.73.5/snclibblog/?p=12959
เมื่อเร็วนี้ๆ เพื่อนใน Librarian in Thailand พูดถึงเรื่องนี้กัน จึงไปตามหาอ่าน เนื่องจากภาระงานตอนนี้คือตรวจสอบหนังสือบริจาคด้วย ไม่ทราบวาบรรณารักษ์ของเราใครเป็นสมาชิกกันบ้าง เพราะประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของที่นี่ล้วนมาจากตัวจริงเสียงจริง ช่วยเพิ่มพูนความรู้แบบอักโข
บรรณารักษ์ทุกคนอยากเก็บหนังสือทุกเล่มเพราะ “เสียดาย”  แม้จะเห็นว่าพื้นที่นั่งอ่านชักเข้าสู่อาการสาละวันน้อยลงๆ
เนื่องจากเรื่องนี้เป็นภาษากฏหมาย อ่านแล้วชวนมึนหัว  :mrgreen:  จึงพยายามทำตัวให้ไกลๆ เข้าไว้ แต่พอต้องย้ายมาทำงานซึ่งเป็นต้นทางของการนำทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาในห้อง สมุด จึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเองใส่ตัว 😆
เรามักหาเหตุผลให้กับตัวเองเสมอ การทำงานนี้ก้อเช่นกัน เริ่มจากดูสภาพของหนังสือว่าเหมาะมั๊ย มีอาการบวมพองปูดโปนหรือไม่ มีร่องรอยขูดขีดฆ่าและอื่นๆ ที่พอจะรับได้หรือไม่
ดูข้อแรกคือมีอยู่มั๊ยในหอสมุดของเรา หรือมีอยู่ในห้องสมุดใต้ชายคาเดียว ถ้ามีมีคนยืมออกไปใช้หรือไม่ …. ไม่มีห้องสมุดไหนจัดหาหนังสือมาครบทุกชื่อทุกเล่มได้ การรวมบรรณานุกรมจากทุกห้องสมุดและงานบริการยืมระหว่างวิทยาเขตคือทางออกของเรื่องนี้
บางทีมีแล้วก้อยังอยากให้มีอีกเพราะ “เสียดาย”
ส่วนหนึ่งพบว่าเป็นหนังสือที่ได้จากการถ่ายเอกสารเย็บเล่มอย่างดี ปัญหาคือเราจะเก็บ หรือปล่อยออกไป ซึ่งทั้งเก็บและปล่อยต่างต้องมีเหตุผล
ทั้งเก็บและปล่อยล้วนเป็นเรื่องที่ต้องคิดหาทางจัดการ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำงาน
ตอนนี้เรื่องการปล่อยหนังสือ รู้สึกสบายใจขึ้นเพราะตัวเองมีเครือข่าย โยงใยมากมายที่ยินดีรับหนังสือออกไปให้ถึงมือผู้ใช้จริงๆ
อย่างไรก้อแล้วแต่ ผลคือต้องให้น้องกาญจน์ในฐานะหัวหน้างานพัฒนาทรัพยาการห้องสมุด ปรับแบบฟอร์มหนังสือบริจาคนิดหน่อย เพื่อความสบายใจของคนทำงาน
เพราะบอกตรงๆว่าอ่านเรื่องของลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุดแล้ว “เสียว” เพราะบางเรื่องไม่เกิด หรือไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงก็จะรู้สึก เฉย เฉยยยยยย แต่บางเรื่องเกิดแล้วจงอย่าได้ลืม
นึกถึงสมัยเมื่อครั้งเคยอยู่ในงานจัดหาฯ มีผู้แนะนำให้บอกรับวารสารแบบ individual แล้วมาให้บริการที่ห้องสมุด บอกว่าราคาถูกมาก (ไม่รู้รึไง เรื่องแค่นี้เอง)  แต่ยืนยันว่ายังไงไม่ทำ  ขอทำแบบเงื่อนไขที่สำนักพิมพ์กำหนดคนทำงานอย่างพวกเราสบายใจดีกว่า
เรื่องแบบนี้อย่าได้ลืมเชียว มีปัญหาขึ้นมายุ่งยิ่งกว่าลิงแก้แห คนที่มีประสบการณ์คงเล่าถ่ายทอดให้น้องๆ ฟังได้ เพราะไม่สามารถถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ น้องๆ ขอให้จำ และนำไปเป็นบทเรียนในการทำงานต่อไป
ท่านใดที่สนใจอยากอ่านเรื่องราวแบบนี้ ได้พิมพ์และเสนอเวียนเรื่องไปแล้ว แต่สามารถอ่านออนไลน์ หรือหากมีข้อสงสัยใคร่ถาม โปรดไปที่ลิงค์ที่ให้ด้านล่าง หรืออ่านจาก คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ทีเป็นธรรม ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่งานบริการสารสนเทศ
http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_fireboard&Itemid=612&func=showcat&catid=16
หรือแบบนี้ที่ขอฝากให้น้องเอ๋และพลพรรคที่ฝ่ายโสตทัศนวัสดุเป็นพิเศษ
cd

2 thoughts on “ลิขสิทธิ์

  • เลี่ยงความเสี่ยงทุกประเภทเป็นการดีที่สุด คำที่บอกว่าต้องไม่กระทบผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรนั้น เป็นคำที่เป็นนามธรรมมาก มันนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ในการทำงานของบรรณารักษ์นั้นถึงทีสุดแล้ว หากมีการฟ้องร้องกัน เราก็คงไม่ถูกจับเพราะเราทำโดยหน้าที่ที่ไม่ได้หวังกำไร แต่ใครอยากจะโดนฟ้องกันล่ะ
    ในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายเอกสารระหว่างห้องสมุด มีห้องสมุดหลายแห่งระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์มาก โดยไม่ถ่ายเอกสารให้ทั้งเล่ม แต่ในการให้บริการระยะหลังนี้การขอถ่ายเอกสารทั้งเล่มน้อยลง เนื่องจากสามารถ download ไฟล์วิทยานิพนธ์ได้โดยอิสระ ไม่ว่าจะเป็นของ ThaiLIS หรือของห้องสมุดใจดีต่างๆ ที่ให้ download ได้ ผู้ใช้บริการ(ที่มักเป็นบุคคลภายนอก) บอกหน้าชื่นตาบานว่า ต้องการไฟล์ไปปรับแก้..เศร้าใจที่สุด แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร
    จริงๆ แล้วอยากจะให้ทำอย่างที่จุฬาฯ เขาทำเหมือนกัน คือ ให้อ่านได้แต่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ไม่ให้ print ไม่ให้ download file และอยากให้มีใครสักคนสามารถสร้างโปรแกรมตรวจเช็คเหมือนกับ Turnitin หรือ อื่นๆ ที่สามารถตรวจสอบการลอกเลียนในภาษาไทยได้ และมีการใช้บังคับในการตรวจสอบการทำวิทยานิพนธ์ หรือการทำผลงานของบุคลากรครู

  • พี่ๆ ทำงานแล้วมีความเสี่ยงสูงเปลี่ยนตำแหน่งเป็นอย่างอื่นเถอะแค่นี้ กฏหมายก็ระบุว่าบรรณารักษ์ (กลัวไม่อยากถูกฟ้อง) เห็นด้วยกับพี่พัชค่ะ ที่มีโปรแกรมให้อ่านอย่างเดียวเหมือน โปรแกรมที่หอสมุดแห่งชาตินะ ให้อ่านจากหน้าจอได้อย่างเดียว ต้องเอาสมุดไปจด หรือจะทำเป็นบรรณนิทัศน์ ก็ำได้ ต้องทำแบบนี้แหละ ไม่งั้น ปริญญานิพนธ์ (Thesis)จะเป็นงานวิจัยหรือ ผู้ใช้ก็เหลือเกิน แล้วชาติจะเหลืออะไร หนังสือบริจาคเคยไ้ด้ยินอาจารย์ท่านพูดว่า หนังสือได้มีโอกาสเดินทางไปหาผู้อ่าน เพียงเท่านี้ก็คุ้มค่าแล้ว เห็นด้วยกับพี่ปองค่ะที่ได้นำหนังสือไปปล่อย หนังสือเรามีมากเกิน ๑ copy เราเดินมาถูกทางแล้ว หนังสือได้กระจายไปสู่ผู้อ่าน ได้กุศลจ๊ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร