เขียนอย่างไร?

เมื่อวานมีผู้สอบถามว่าจะเขียนอย่างไรให้ดูว่าไม่ “ละเมอ” และช่วย “อ่าน” ให้หน่อย เพราะอยากจะปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่เนื่องจากพักนี้ดิฉันต้องอ่านเอกสารจำนวนมาก รวมทั้งมีโทรศัพท์จากเสียงที่ไม่คุ้นเคย จึงอยากรักษาใจให้นิ่งๆ แล้วจะค่อยๆ ตามย้อนอ่าน  🙁  จึงไม่สามารถตอบได้ทันที
 
แต่เมื่อขอมาก็กลับไปอ่าน เพราะช่วงนี้บล๊อกเปลี่ยนหน้าใหม่ เพราะ (อีกครั้ง) ให้เข้ากับ device ต่างๆ ทำให้อ่านง่ายจากมือถือ ส่วนหน้าจอในคอมพิวเตอร์ยังเพี้ยนๆอยู่ น่าจะมี bug อยู่บ้าง อาจจะต้องเขียน code คำเหล่านี้เป็นบทสนทนาระหว่างดิฉันกับผู้รับผิดชอบงานนั้นและต้องการพัฒนางาน
 
ย้อนกลับมาตอบคำถามว่า เขียนอย่างไร?
 
จากการค้นคว้าพบว่าในการตรวจสอบการคัดลอกโดยใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์  จำนวนที่ยินยอมให้ผ่านของแต่ละสถาบันมีการกำหนดเกณฑ์ที่ยอมรับได้ที่แตกต่างกัน อยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์
 
ดิฉันคิดว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ จึงแจ้งกลับไปว่าแบบง่ายๆ คือให้ยึดหลักการ 70:30 เช่น

  • สมมุติว่างานเขียนในชื่อของเรามีทั้งหมด 10 บรรทัด ให้ดูว่าข้อความที่เราลอกเค้ามามีอยู่กี่บรรทัด แล้วที่มีอยู่เกิน 7 มั้ย หากเกิน ก็ไม่ใช่ของเราเป็นของคนที่เราอ้างมา
  • สมมุติว่างานเขียนในชื่อของเรามีทั้งหมด 10 คำ ให้ดูว่าข้อความใดที่เราลอกเค้ามามีอยู่กี่คำ แล้วที่มีอยู่เกิน 7 มั้ย หากเกิน ก็ไม่ใช่ของเราเป็นของคนที่เราอ้างมา

 
ต่อคำถามที่บอกว่าก็ใส่แหล่งอ้างอิงแล้วนี่? ให้กับไปตรวจสอบก่อนว่าสิ่งที่เราเขียนเป็นของเรา แล้วหรือยัง 😛

  • สมุมติว่าเป็นแล้ว เราก็ไปบอกว่าส่วนที่เป็น 3 บรรทัด หรือ 3 คำนั้น เราคัดลอกมาจากใคร  หากเป็นงานเขียนเชิงวิชาการมักอยู่ในเครื่องหมายหมาย “……………” บอกแหล่งอ้างอิง แล้วมีบรรณานุกรม เช่น งานเขียนของคุณเอกอนงค์ (http://202.28.73.5/snclibblog/?p=57513)

 

 

  • ส่วนการเขียนบล็อกที่เห็นบ่อยๆ คือใช้ url กำกับข้อความนั้นๆ เป็นหารเขียนในเชิงเล่าสู่กันฟังว่าอ่านมาจากไหน เช่น งานเขียนของคุณบรรจง (http://202.28.73.5/snclibblog/?p=56092 )


 

  • บางคนที่เขียนบล็อกในเชิงวิชาการหนักๆ สิ่งที่เขียนอยู่ในลักษณะของการเรียบเรียงเรื่องราว มักไม่ใส่การอ้างอิง แต่จะลงรายการบรรณานุกรมไว้ให้ทราบ  เช่น งานเขียนของคุณสุกัญญา (http://202.28.73.5/snclibblog/?p=57126)


 

  • การเรียบเรียงแบบ Paraphrasing ตามประสบการณ์คือจะอ่านเอกสารในเรื่องเดียวกันเยอะๆ แล้วหาเอกสารที่คิดว่าดีที่สุดมา 3 เรื่อง แล้วอ่านจริงๆ จังๆ ทำความเข้าใจกับเรื่องราว ทดลอง แล้วนั่งเขียนเป็นภาษาของตนเอง แนะนำให้อ่านงานเขียนของคุณพัชรี ที่เขียนอธิบายเรื่องนี้  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=45609 และดิฉันเข้าไปแสดงความคิดเห็นไว้


 

  • สมมุติว่ายังไม่เป็นของเรา ดูแล้วพบว่า 7 บรรทัด หรือ 7 คำนั้นเป็นของคนอื่น การ “ดู” ยังไม่พอ ต้องใช้ปากการขีดเส้นใต้ หรือป้ายๆ สิ่งเราไปลอกเค้ามา จากนั้นทบทวนว่าอันตัวเราอ่านเอกสารเรื่องราวนั้นๆไปกี่ชิ้น ถ้าน้อยกว่า 3 ต้องไปหาอ่านเพิ่มเติมให้เยอะๆ แล้วใช้วิธีเรียบเรียงแบบ Paraphrasing เขียนอีกครั้งแล้วตรวจสอบแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเป็นสำนวนของเรา สิ่งที่เคยแนะนำคือเขียนไม่ได้ให้บันทึกเป็นเสียง แล้วค่อยมาถอดความ 

 

  • สมมุติว่ายังไม่เป็นของเรา ให้เขียนอ้างอิง 7 บรรทัด หรือ 7 คำนั้น แล้วใช้วิธีเพิ่มปริมาณของข้อความด้วยการยกตัวอย่าง หรือเล่าเรื่อง เช่น เจ้าของเดิมบอกว่าสิ่งนี้ “ดี”  เราต้องยกตัวอย่างที่เราพบ หรือจากคนรอบๆตัว หรือจากประสบการณ์ ถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือว่า “ดี” นั้น “ดี” อย่างไร ส่วนนี้ใช้หลักการของใคร อะไร ที่ไหนและอย่างไร 

 

  • สมมุติว่ายังไม่เป็นของเรา ดูแล้วพบว่า 7 บรรทัด หรือ 7 คำนั้นเป็นของคนอื่น  ให้พิจารณาว่า เรื่องที่เขียนนั้นไกลจากตัวเราหรือไม่เช่น ไม่เคยไป ไม่เคยเห็น ไม่เคยสัมผัส ไม่เคยทำ ไม่เคยทดลอง ไม่เคยอ่าน แต่สิ่งที่ไม่เหล่านี้ก็สามารถเขียนได้  หากผ่านกระบวนการค้นคว้า  หากยังทำไม่ได้ก็ควรหันกลับมาเขียนสิ่งที่ใกล้ตัว

 

  • สมมุติว่ายังไม่เป็นของเรา ให้”ฟัง” เสียงคนรอบๆตัว เช่น บอกว่า เขียนแบบนี้ก็ได้หรือ ง่ายไปมั๊ย ต้องรู้สึกชาไม่ใช่ฮา แล้วกลับมาอ่านงานของตนเองแล้วปรับใหม่ หาที่ปรึกษาที่ช่วยยกระดับชีวิตให้ได้

 

  • สมมุติว่ายังไม่เป็น รีดเดอร์จะช่วยเราได้ ดิฉันชอบรีดเดอร์ที่แก้งานเยอะๆ เพราะทำให้เราได้ประสบการณ์ทั้งเรื่องการเขียนและความคิด หากท่านใดสนใจที่จะให้มีรีดเดอร์ที่เป็นนักวิชาการในวิชาชีพมาช่วยดูงานสามารถมาแจ้งได้ค่ะ หากยังไม่คิดว่าถึงตรงนั้นเพราะงานเขียนที่เขียนอยู่เป็นการฝึกฝน ยังเป็นงานเล็กๆ ให้เลือกเพื่อนมาช่วยอ่านสักสองสามคน หากเพื่อนตรวจได้เฉพาะคำถูกคำผิด เว้นวรรคตอน เพื่อนคนนั้นก็เหมาะกับการตรวจบรู๊ฟ หากมีเพื่อนบอกว่าน่าจะเพิ่มตรงนั้น นี้ โน้น ยกตัวอย่างที่เราคิดไม่ถึงหรือลืมไปแล้ว แนะนำให้เราไปอ่านหนังสือเรื่องนั้นนั้นเพิ่ม คนนี้เหมาะให้เราพึ่งพิงด้านการเขียนต่อไป ขณะเดียวกันเราควรฝึกฝนเรียนรู้ทั้งการเป็นผู้ให้และผู้รับ

 
ส่วนตัวอย่างสุดท้ายได้มาจากคู่มือการใช้งานระบบอักขราวิสุทธิ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร  http://www.graduate.su.ac.th/images/pdf/step_plagCU_2.pdf ขวามือคือต้นฉบับ ซ้ายมือที่คัดลอกไป

ทั้งหมดเป็นคำตอบของคนถามที่สั้นกว่านี้ แต่เมื่อเขียนแล้วจึงพยายามขยายความเพิ่ม และคิดว่าน่าจะเล่าให้ผู้อ่านที่ต้องเขียนอะไรๆ เพราะโลกของการทำงานก็ไม่พ้นต้องขีดต้องเขียน
ลองดูกันนะคะว่าตัวเราเผลอไปหรือไม่ ส่วนดิฉันนั้นมีโครงการให้กับตัวเองคือต้องกลับไปตรวจสอบว่าเผลอไปหรือไม่เช่นกัน 😯

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร