การอ้างอิงแบบซ้ำๆๆๆๆๆๆ
เป็นคำถามของหนูใหญ่ ที่อดีตเป็นคนตัวเล็กถามว่า ผู้แต่งคนเดียวกัน พิมพ์หนังสือปีเดียวกัน แต่คนละชื่อเรื่องเวลาเขียนอ้างอิงจะรู้อย่างไรว่า เป็นของเล่มไหน
ข้าพเจ้าตอบไปว่า ให้ใส่อักษร “ก” หลัง พ.ศ. แต่มีคนทำหน้าเป็นแบบนี้ ??????? จึงไล่ให้หนูใหญ่ไปหาคำตอบด้วยตนเองในคู่มือ
หายไปสักพักจึงหยิบคัมภีร์เล่มใหม่ที่หยิบได้เร็วไม่ใช่อะไร คุณเธอเป็นศิษยืปัจจุบันที่ขระนี้กำลังร่ายเวทย์วิทยานิพนธ์อยู่ ทั้งนี้อุตส่าห์ลงทุนไป print จากแผ่นซีดีรอมที่บัณฑิตฯ แจก …
กว่าจะเป็น “ธงมหิดล”
ธงทรงสามเหลี่ยม ตรงกลางประดับพระฉายาลักษณ์พระราชานุสาวรีย์ “สมเด็จพระราชบิดา” ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ “วันมหิดล”…ในขณะที่คนทั่วไปเห็นธงผืนนี้ ในฐานะของสัญลักษณ์แห่งกุศล เพื่อเชิญชวนให้ร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ป่วย แต่เส้นทางของธงผืนนี้ ที่กว่าจะมาวางเด่นเป็นสง่าในวันที่ 24 กันยายน เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย และจะมีใครรู้บ้างว่าธงที่นำมาแจกให้กับผู้บริจาคนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ.2503 ศ.นพ.กษาณ จาติกวนิช ผอ.ร.พ.ศิริราช ได้เสนอให้ศิริราชมีการจำหน่ายธง “วันมหิดล” …
วันมหิดล (24 ก.ย.)
พอถึงวันนี้ในบางครั้งบางปีเราจะเห็นนักศึกษาของม. มหิดล มาจำหน่ายธงเป็นที่รู้กันว่าเป็นวันมหิดล พวกเราใจบุญศุนทานกันก็ไม่ขัด นอกจากนี้จะมีรายการต่างๆที่เกี่ยวกับวันนี้ทางโทรทัศน์ด้วยและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและมีความสำคัญต่อนักเรียนแพทย์ของ ม.มหิดล วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ สมพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้ขนานนามวันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า “วันมหิดล” เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน …
เปิดสมอง เปิดหู กับJournal Workshops in Thailand 2009
เมื่อวันที่ 18 กันยายน ได้มีโอกาสได้ไปเข้าฝึกอบรม ที่สถาบันวิทยาบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “Journal Workshop in Thailand” งานนี้หอสมุดส่งเข้าร่วม 2 คน คือตัวผู้เขียน และพี่พัชรี (บรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ) เท่าที่สอบถามกับเจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยาบริการทราบมาว่า บุ๊ค โปรโมชั่น …
อ่านอะไร เป็นอะไร
เมื่อวันที่23 กันยายนนี้ ตรวจข่าวพบ “คอลัมภ์โลกสองวัย” ที่เขียนโดย บางกอกเกี้ยน ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552 ชื่อเรื่อง “อ่านอะไร เป็นอะไร” เห็นว่าน่าสนใจดีและมีข้อความบางตอนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดเลยนำมาลง blog ให้เพื่อเราๆ ท่านๆ ได้คิดต่อกัน ผู้เขียนคอลัมภ์ …
Location ล่าสุด…. Central Library
หลังจากที่ได้เล่าแจ้งแถลงการณ์การประชุมหัวหน้างานไว้แล้วที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7823 ซึ่งมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนคือการนำหนังสือบางส่วนของหอสมุดสาขาวังท่าพระ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องพื่นที่ให้บริการ โดยนำหนังสือบางส่วนมาไว้ที่สำนักงานเลขานุการ ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งมีคุณเพลินตา เป็นผู้ประสานงาน บัดนี้เริ่มมีนักศึกษาเข้ามาสอบถามแล้วว่าหนังสืออยู่แห่งหนไหน บางคนเง็งๆๆ นั่นแสดงว่าตกข่าวอย่างแร็งนิ
หน้าตาของ WebOPAC จะเป็นดังนี้คือ
หน้าที่ของเราก็คือจะต้องรู้และตอบได้ว่าเป็นหนังสืออะไร ติดต่อที่ไหน…
แก่งกระจานกับความหวังการเป็นมรดกโลก
“กลุ่มป่าแก่งกระจาน” เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ ฝั่งตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรี ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 1.82 ล้านไร่ โดยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีความโดดเด่น เป็นจุดศูนย์รวมสภาพผืนป่าหลายแบบในบริเวณเดียวกัน คือ ผืนป่าภาคเหนือ ผืนป่าภาคตะวันออก และผืนป่า ภาคใต้ …