การบริหารจัดการ “การรอ” ในงานบริการ
เมื่อเราเข้าไปรับบริการในสถานบริการต่าง ๆ เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล ด่านเก็บเงินทางด่วน การเข้าเช็คอินในสนามบิน การเติมน้ำมันรถยนต์ในปั๊มน้ำมัน การชำระเงินค่าซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือการเข้ารับบริการในสถานที่ราชการต่าง ๆ จะพบว่า บางครั้งเรายังไม่ได้รับบริการในทันที ทำให้เราต้องใช้เวลาในการ “รอ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีผู้รอรับบริการพร้อมกันหลายคนในเวลาเดียวกัน (Peak time) คุณเคยสังเกตไหมว่า ผู้ให้บริการเหล่านั้นได้จัดลำดับในการให้คุณเข้ารับบริการอย่างไร…
ฟังก์ชั่น Verify
การตรวจสอบคุณภาพข้อมูลโดยใช้ฟังก์ชั่นในโปรแกรม Sierra นั่นคือ ฟังก์ชั่น Verify
การ Verify คือ การปรับปรุง / ตรวจสอบข้อมูลหัวเรื่อง/รายการหลัก/ชื่อเรื่อง/เลขหมู่/ชื่อชุด/ISBN
สําหรับระเบียนบรรณานุกรมที่สร้างขึ้น บรรณารักษ์สามารถตรวจสอลข้อมูลการลงรายการที่ถูกต้องได้ด้วยฟังก์ชั่น Verify
วิธีการตรวจสอบข้อมูล
- เรียกระเบียนที่ต้องการตรวจสอบขึ้นมา
- เลือกเขตข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ โดยการวางเคอร์เซอร์ ไว้ที่
เยี่ยมชมหอสมุดรัฐสภาญี่ปุ่น (National Diet Library)
การศึกษาดูงานห้องสมุด National Diet Library
ห้องสมุด NDL หรือ ห้องสมุดรัฐสภาแห่งชาติ ถือเป็นหอสมุดแห่งชาติและหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติของญี่ปุ่นด้วย มีสองสาขาคือที่ โตเกียว และ คันไซ ซึ่งที่โตเกียวจะเก็บหนังสือที่ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงหนังสือการ์ตูน ภาพถ่าย หนังสือภาพ ส่วนที่วิทยาเขตคันไซจะเก็บหนังสือเอกสารวิชาการมากกว่า และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เช่น …
รูปแบบห้องสมุดยุคใหม่ 2015
จากการประชุมวิชาการเรื่อง Online Information & Education Conference 2015 จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถานที่ ณ ห้องประชุมรักตะกนิษฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วันที 7 -8 เดือน พฤษภาคม …
เลขหมู่วิทยานิพนธ์
ช่วงนี้เพื่อนๆ ชาวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์บางคน อาจสังเกตเห็นเลขหมู่หนังสือของคอลเลคชั่นวิทยานิพนธ์ที่เปลี่ยนไป จากที่เคยให้เลขหมู่ในระบบ LC แบบปกติ แต่วิทยานิพนธ์ที่มีบริการใหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป สิ่งที่เพิ่มเติมมาคือ จะปรากฎปีที่อยู่ใต้เลขหมู่
เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการพูดคุยระหว่างบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ (Cataloger) กับบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ (คุณพัชรี) ที่เคยขึ้นมาฝึกงานกับฝ่ายวิเคราะห์ฯ อยู่ช่วงหนึ่งเมื่อเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ปี 2557 ที่ผ่านมา …
มุมของความสุข
คุณใหญ่ fw เรื่องกฎของศูนย์ มาให้อ่าน มีทั้งหมด 30 ข้อ สงสัยตัวเราจะชอบรับทาน “ไข่” เพราะมีแต่ 0 … คิดว่าหลายคนคงได้อ่านผ่านตามาบ้างแล้วว่ามีเรื่องอะไรบ้าง หากไม่ผ่านตาโปรดอาศัยกูเกิ้ลเป็นสรณะ
ช่วงนี้หนังสือเข้ามาในฝ่ายฯ เยอะมากทั้งบริจาค และซื้อ ขณะที่พวกเรากำลังเมามันกับการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานทุก เวลาผ่านไปเท่าไรก็พบว่ากองหนังสือจะสูงขึ้นเท่านั้น
เนื่องจากดิฉันเว้นว่างจากการงานมานาน …
ว่าด้วยเรื่อง "นวนิยาย"
จากการสำรวจความพึงพอใจครั้งล่าสุดที่ผ่านมา หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์มีข้อคอมเม้นท์จากผู้ใช้บริการหลายข้อพอสมควร บรรดาท่านหัวหน้าฝ่ายต่างก็ต้องไปหาทางแก้ไขในข้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฝ่ายตนเอง มีข้อคอมเม้นท์หนึ่งที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้รับคือ นวนิยายมีน้อย
😮 หากมองในมุมของเรื่อง จำนวน ก็ต้องเกี่ยวข้องกับฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ซึ่งหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรเข้ามาบริการในห้องสมุด ซึ่งในกระบวนการทำงานนี้ ต้องบอกว่าหอสมุดฯ ได้มีการจัดหาหรือจัดซื้อหนังสือประเภทนวนิยายเข้ามาบริการในห้องสมุดทุกครั้งที่มีการจัดซื้อด้วยงบประมาณในส่วนของหอสมุดฯ ที่ได้การจัดสรรเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นในแต่ละปี มากบ้างน้อยบ้าง แต่ทุกครั้งที่มีการจัดซื้อจะมีหนังสือนวนิยายรวมอยู่ด้วยเสมอ
💡 แต่หลังจากที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ได้มาพูดคุยกันก็ได้มุมมองอีกมุมมองหนึ่งจากหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ฯ (พี่สมปอง) …