ว่าด้วยเรื่อง "นวนิยาย"

:mrgreen: จากการสำรวจความพึงพอใจครั้งล่าสุดที่ผ่านมา หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์มีข้อคอมเม้นท์จากผู้ใช้บริการหลายข้อพอสมควร บรรดาท่านหัวหน้าฝ่ายต่างก็ต้องไปหาทางแก้ไขในข้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฝ่ายตนเอง มีข้อคอมเม้นท์หนึ่งที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้รับคือ นวนิยายมีน้อย 
😮 หากมองในมุมของเรื่อง จำนวน ก็ต้องเกี่ยวข้องกับฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ซึ่งหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรเข้ามาบริการในห้องสมุด ซึ่งในกระบวนการทำงานนี้ ต้องบอกว่าหอสมุดฯ ได้มีการจัดหาหรือจัดซื้อหนังสือประเภทนวนิยายเข้ามาบริการในห้องสมุดทุกครั้งที่มีการจัดซื้อด้วยงบประมาณในส่วนของหอสมุดฯ ที่ได้การจัดสรรเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นในแต่ละปี มากบ้างน้อยบ้าง แต่ทุกครั้งที่มีการจัดซื้อจะมีหนังสือนวนิยายรวมอยู่ด้วยเสมอ
💡 แต่หลังจากที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ได้มาพูดคุยกันก็ได้มุมมองอีกมุมมองหนึ่งจากหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ฯ (พี่สมปอง) ทำไมเราไม่มามองในมุมกลับว่า ทำไมเราไม่มาแนะนำนวนิยายที่มีอยู่ในห้องสมุด ที่มีอยู่หลากหลายประเภท ทั้งคอลเลคชัน “นวนิยาย” หรือ นวนิยายแปลที่ก็เป็นนวนิยายอีกประเภทหนึ่ง ที่แยกอยู่ตามหมวดหมู่ PL PQ PR PS PT PZ เพื่อผู้ที่สนใจอ่านจะได้รู้จัก “นวนิยาย”  ในหลากหลายมุมมอง หลากหลายประเภท
😯 และฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด (โดยพี่สมปองเป็นผู้ริเริ่ม)ได้ทำแฮชแท็ก #ทีมนิยาย ใน Facebook ของหอสมุดพระาชวังสนามจันทร์๋
😉 และส่วนตัวผู้เขียนในฐานะ Cataloger ผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายวิเคราะห์ฯ ก็เลยจะนำความรู้เรื่อง “นวนิยาย” มาเล่าสู่กันฟัง
ดังนั้นวันนี้เรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับ  “นวนิยาย” กันดีกว่า
คำว่า “นวนิยาย” เป็นศัพท์ที่ไทยคิดขึ้นมาเองเพื่อใช้เรียกวรรณกรรม ประเภทเรื่องสมมุติที่แต่งเป็นร้อยแก้วขนาดยาวตามแบบตะวันตก ซึ่งแต่เดิมคนไทยเรียกว่า เรื่องอ่านเล่น หรือเรื่องประโลมโลก  ตรงกับคำว่า Novel ในภาษาอังกฤษ หรือ Novella ในภาษาอิตาเลียน มีรากศัพท์ มาจากภาษาลาตินว่า Novellus
สำหรับเมืองไทยนั้นคำว่านวนิยายนั้นเริ่มขึ้นในสมัย ร.5 ตอนปลาย หลังการปรากฏตัวของเรื่องสั้นเล็กน้อย ในสมัยนั้นนวนิยายออกมาในลักษณะเรื่องแปลพิมพ์เป็นเล่มเรื่องแรก คือ ความพยาบาท ซึ่งแปลโดย แม่วัน (พระยาสุรินทราชา)  พอเรื่องพยาบาทแพร่หลาย คนไทยหันมานิยมอ่านเรื่องแปลมากขึ้นจึงเกิดนักแปลขึ้นมาอีก เช่นเรื่อง  “ขุมทรัพย์” และ”เรื่องสาวสองพันปี” แปลโดย นกโนรี หรือ หลวงวิลาสปริวัตร  เป็นต้น ซึ่งนวนิยายต่างๆเหล่านี้ถือเป็นนวนิยายยุคแรกในไทยและไทยก็นำมาจากตะวันตกทั้งสิ้น
นวนิยายเรื่องแรกในไทยนั้นยังเกิดการถกเถียงกันว่า เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ของรัชกาลที่ 6 หรือเรื่อง ความไม่พยาบาท ของนกโนรี  และด้วยกระแสนิยมงานแปล สมัยเริ่มแรกจึงมีการแต่งนิยายที่อ้างชื่อตัวละครเป็นชื่อชาวต่างชาติเพื่อหลอกคนอ่านให้เชื่อว่าเป็นนิยายแปล
ปัจจุบันนวนิยายไทยนั้น มีทั้งเป็นนวนิยายแปล และนวนิยายที่คนไทยเราแต่งขึ้นมาเอง นอกจากการแต่งนวนิยายไว้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว นวนิยายยังถูกนำไปสร้างเป็น ภาพยนต์ บทละคร และละครโทรทัศน์ อีกด้วย ทำให้นวนิยายแพร่หลายออกไปอีกมาก และเพราะเกิดความหลากหลายทางวรรณกรรมนั่นเองทำให้วรรณกรรมแนวนวนิยายนั้นมีรูปแบบที่หลากหลายตามไปด้วย ขนาดที่ความเจริญก้าวหน้าของวรรณกรรมยุคปัจจุบันดำเนินไป นวนิยายในยุคเก่าก็ยังถูกสนใจและถูกศึกษาอยู่ตลอด กลายเป็นประวัติศาสตร์ ทางวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า
สิ่งสำคัญของนวนิยายที่จะต้องมี 6 ประการ ดังนี้ คือ
1) โครงเรื่อง (Plot) คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเหตุผลต่อกัน โดยมีความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าสนใจและติดตาม โครงเรื่องของนวนิยายมี 2 ชนิด คือ โครงเรื่องใหญ่ (main plot) คือ แนวที่ผู้ประพันธ์ ต้องการให้เรื่องดำเนินไป ต้องมีการผูกปมเรื่องให้ซับซ้อนและคลี่คลายเงื่อนปมเหล่านี้ในตอนจบ และโครงเรื่องย่อย (sub plot) คือ เรื่องที่แทรกอยู่ในโครงเรื่องใหญ่มีความสำคัญน้อยกว่า แต่เป็นส่วนที่เพิ่มความสนุกสนานแก่เนื้อเรื่อง ฉะนั้นในนวนิยายเรื่องหนึ่งอาจมีโครงเรื่องย่อยได้หลายโครงเรื่อง
2) ตัวละคร (Character) คือผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้แสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง ตัวละครนี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของนวนิยาย เพราะถ้าไม่มีตัวละครแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ในนวนิยายก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ตัวละครของนวนิยาย มี 2 ประเภท คือ ตัวละครเอก (the major character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องโดยตลอด หรือ เป็นศูนย์กลางของเรื่อง และ ตัวละครประกอบหรือตัวละครย่อย (the minor character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาทในฐานะเป็นส่วนประกอบของการดำเนินเรื่องเท่านั้น แต่ก็ต้องมีส่วนช่วยเสริมเนื้อเรื่องและตัวละครสำคัญให้เด่นขึ้นด้วย
3) บทสนทนา (Dialogue) คือ การสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละครในนวนิยาย เป็นส่วนที่ทำให้นวนิยายมีลักษณะคล้ายความจริงมากที่สุด บทสนทนาที่ดีต้องเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร ต้องสอดคล้องกับบรรยากาศในเรื่องและที่สำคัญต้องมีลักษณะสมจริง คือ มีคำพูดที่เหมือนกับบุคคลในชีวิตจริงใช้พูดจากัน
4) ฉาก (Setting) คือ เวลาและสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ช่วยบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใดที่ไหน ที่นั้นมีลักษณะอย่างไร นวนิยายโดยทั่วไปจะสร้างฉากให้เป็นส่วนประกอบของเรื่อง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และเวลาที่ทำหนดไว้ในเนื้อเรื่อง หรือช่วยกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละคร ช่วยสื่อความคิดของผู้แต่ง หรือช่วยให้เรื่องดำเนินไป
5) ความคิดเห็นของผู้แต่ง (Point of View) คือ ความคิดเห็น ทัศนะ หรือปรัชญา ของผู้เขียน ซึ่งสอดแทรกอยู่ในพฤติกรรมของตัวละคร หรือ คำพูดของตัวละคร ในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวคิดนี้ ผู้แต่งจะไม่เสนอออกมาโดยตรง มักจะสอดแทรกซ่อนเร้นอยู่ในพฤติกรรมของตัวละคร
6) ทำนองแต่ง (Style) คือแบบแผนและลักษณะท่วงทำนองในการแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้ประพันธ์ เช่น การเลือกใช้คำ ท่วงทำนองโวหาร และน้ำเสียงของผู้แต่ง (แต่งแบบแสดงอารมณ์ขัน อ่อนโยน ล้อเลียน ) เป็นต้น
😛 อ้างอิงจาก :
https://sites.google.com/site/reportofstudysubjects/bth-thi-5-nwniyay-naew-karmeuxng-khxng-wi-nthr-leiyw-w/-khwam-pen-ma-khxng-nwniyay
https://www.l3nr.org/posts/413777
พิมาน แจ่มจรัส. เขียน. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2550
😉 ปล. มีตอนต่อไปแบบคนละเรื่องเดียวกัน  ➡  😯

3 thoughts on “ว่าด้วยเรื่อง "นวนิยาย"

  • เวลามีข้อคิดเห็นของใคร หรือเรื่องอะไรก้อตาม พี่จะสนุกในการคิดและชอบนำความคิดของเรา ส่งต่อเป็นโจทย์ให้พี้ๆน้องๆมาช่วยกันหาคำตอบ ขยายความคิดให้แตกแขนง และถือว่าเรื่อวพวกนี้เป็นของส่วนกลาง ที่หากทำต่ออาจมีคนอื่นๆมารับผิดชอบต่อ หรือจัดสรรกันอย่างไร
    เวลารายงานเรื่องพวกนี้มาพี่จะโปรดปรานในการอ่านความคิดเห็น เผลอๆ ความสนใจอาจมากกว่าตัวเลขที่ได้รับ มีบางครั้งที่ไม่มีความคิดเห็นมีแต่ตัวเลขพี่ก็จะตีความไปอีกแบบ สนุกดีค่ะ

  • คิดต่อจากคุณสมฯ หน่อยนะ
    เพื่อให้ตัวเลขมัความหมายในตัว
    เสนอให้@มิน หาap เสริม เอาแบบปามาน
    thump up & down อ่ะ ดีป๊ะ จะได้ชัดๆ ไป
    ระหว่างตัวเลขยอดเยี่ยมกะยอดแย่ คริคริ

  • อารายหวา? อิฉันอ่านมาสามครั้งแล้วยังบ่เข้าหัว
    งงขนาดตีความว่า@มิน หมายถึงน้องมีน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร