รูปแบบห้องสมุดยุคใหม่ 2015

จากการประชุมวิชาการเรื่อง Online Information & Education Conference 2015    จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   สถานที่  ณ ห้องประชุมรักตะกนิษฐ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วันที 7 -8 เดือน  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558  เวลา 9.00 -16.30 น.
วิทยากร รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ กล่าวถึง ทัศนะของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ “ห้องสมุดยุคใหม่ 2015 ”ว่า เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น รูปแบบห้องสมุดแบบเดิมๆ จึงเปลี่ยนแปลงไป แนวโน้มของห้อสมุดในอนาคต หรือที่เรียกว่า “ห้องสมุดดิจิทัล ” ที่สามารถจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล จึงมีความสำคัญในการดำเนินงานของห้องสมุดยุคใหม่ ที่เป็นศูนย์รวมของสารสนเทศในทุกรูปแบบ ที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ สำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ รวมทั้งประชาชน จำนวน 522 คน  (ระหว่างวันที่ 26  เมษายน -4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) โดยมีประเด็นเรื่อง ห้องสมุดยุคใหม่ (ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นไป) ที่อยากได้ ควรมีลักษณะอย่างไร รูปแบบห้องสมุดยุคใหม่ที่ บรรณารักษ์/ผู้บริหาร ผู้ใช้บริการนักเรียน/นักศึกษา และประชาชนทั่วไป อยากได้มากที่สุด 7  อันดับ ดังนี้
1. เป็นสังคมออนไลน์ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบ KM เพิ่มมากขึ้น ภาพรวม 76.57%
2.เป็นห้องเรียนอัจฉริยะ หรือห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ภาพรวม 67.18 %
3.เป็นระบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ เช่น เป็นหลักสูตรการเรียนแบบออนไลน์ สามารถรองรับผู้เรียนได้จำนวนมาก  ภาพรวม 60.21 %
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหามีขนาดเล็กลง เช่นสมาร์ทโฟน หรือแท็บแล็ต ภาพรวม 53.52 %
5. มีบริการสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดียในรูปแบบใหม่ ภาพรวม 50.62 %
6. มีเทคโนโลยีให้บริการที่หลากหลาย เช่น หนังสือเสมือนจริง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลออนไลน์ ภาพรวม 43.93 %
7. สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นต้องเข้ามาใช้บริการที่ห้องสมุด ภาพรวม 43.81 %
อื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่ห้องสมุด/บรรณารักษ์ต้องทันสมัย มีความคล่องแคล่วว่องไว มีใจบริการ และมีข้อมูลต่างๆ ที่สืบค้นมีความหลากหลาย สามารถเปิดอ่านข้อมูลได้พร้อมๆ กัน มีการป้องกัน กรณีอินเตอร์เน็ตมีปัญหา บรรยากาศการจัดตกแต่งห้องสมุดให้น่าสนใจ มีรูปแบบที่ทันสมัยน่านั่ง มีมุมกิจกรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ อาจารย์ ดร. สุขุม ยังได้ยกตัวอย่างแนวทางการบริหารห้องสมุดแห่งชาติสิงค์โปร์ ให้ประสบความสำเร็จ
5 แนวทาง ดังนี้

  1. การแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการ (Segmention) เพื่อสนองความพึงพอใจที่แตกต่างกัน ได้แก่

–  กลุ่มเด็กเล็ก เน้นการสร้างบรรยากาศในห้องสมุด เพื่อทำให้รู้สึกว่าหนังสือเป็นเรื่องสนุกไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ
–  กลุ่มวัยทำงาน เน้นให้อ่านหนังสือแบบเจาะลึก เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
–  กลุ่มผู้สูงวัย  เน้นสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น หนังสือเสียง สำหรับผู้สูงอายุ หรือบุคคลที่มีปัญหาทางสายตา เป็นต้น

  1. การมีส่วนร่วม (Engage) คือการสร้างความมีส่วนร่วมให้แก่คนในสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การมีอาสาสมัคร

การปลุกจิตสำนึกในการใช้ห้องสมุดที่ถูกต้อง 
       3. การมีส่วนร่วมออกแบบพัฒนา (Co-creation) คือการทำให้ห้องสมุดทันสมัย ตรงใจผู้ใช้บริการตลอดเวลา โดยการให้เข้าร่วมออกแบบห้องสมุด หรือประเภทของหนังสือที่สนใจ
        4. ชื่นชมผู้ใช้บริการ (Appreciation) คือ การให้รางวัล เพื่อชื่นชมผู้ใช้บริการ เช่นการให้รางวัลผู้ที่ยืมหนังสือมากที่สุด โดยอาจแบ่งตามช่วงอายุ หรือให้ประกาศนียบัตรผู้ที่เป็นอาสาสมัคร
         5. การบริหารผู้ใช้บริการ (Customer Management) คือ การให้ความสนใจกับการับฟังความคิดเห็น ความต้องการของผู้รับบริการโดยการให้มีช่องทางที่หลากหลาย เช่น e-Mail, social media
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร