มุมของความสุข

คุณใหญ่ fw เรื่องกฎของศูนย์ มาให้อ่าน มีทั้งหมด 30 ข้อ สงสัยตัวเราจะชอบรับทาน “ไข่” เพราะมีแต่ 0 … คิดว่าหลายคนคงได้อ่านผ่านตามาบ้างแล้วว่ามีเรื่องอะไรบ้าง หากไม่ผ่านตาโปรดอาศัยกูเกิ้ลเป็นสรณะ
ช่วงนี้หนังสือเข้ามาในฝ่ายฯ เยอะมากทั้งบริจาค และซื้อ ขณะที่พวกเรากำลังเมามันกับการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานทุก เวลาผ่านไปเท่าไรก็พบว่ากองหนังสือจะสูงขึ้นเท่านั้น
เนื่องจากดิฉันเว้นว่างจากการงานมานาน จึงต้องเจียมเนื้อเจียมตัวขยันหมั่นเพียรเรียนรู้ใหม่ โดยเฉพาะกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ sierra เริ่มด้วยการประกาศตัว แล้วบัดดลก้อมีสียงตอบรับสำทับว่าด้วยเสียงต่ำๆ บวกรอยยิ้มแบบเซ็งแช่ว่า ดีมากกกก 
ดิฉันชอบบรรยากาศการทำงานแบบนี้เพราะสนุกดี และมีความสุข
น้องอ้อมาช่วยสอนให้ ดิฉันชอบน้องอ้อเวลาสอนหนังสือ ยังเคยบอกว่าน่าจะไปเป็นครู เพราะพูดอะไรได้เป็นขั้นตอนและมองอะไรทะลุเห็นความเชื่อมโยงจากสิ่งหนึ่งไปหลายๆสิ่ง
ส่วนดิฉันจะเป็นคนกลับด้านกับน้องอ้อ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยหากต้องอธิบายอะไรๆ ที่เป็นลำดับ มักใช้การอธิบายแล้วปล่อยให้ไปฝึกฝนเอง แล้วให้คนเรียนรู้ไปจัดลำดับของตัวเอง
และพยายามซึมซาบวิธีการสอนจากการฟังน้องบ่อยๆ เมื่อมีคนใหม่ๆ หรือกับการฝึกงานให้กับนักศึกษา รวมทั้งในระหว่างการปฏิบัติงานที่พวกเรามักจะสลับบทบาทในการเป็น coaching , OJT, Mentoring เสริมด้วย self learning และ project assignment  รวมทั้ง ฯลฯ ตามทฤษฎีของการพัฒนาบุคลากร
หลายปีก่อนโน้นดิฉันเคยทำหลักสูตร refresh ให้กับบุคลากรที่ทำงานกับฝ่ายวิเคราะห์ฯ พี่ณิชมน เคยออกปากกล่าวชมว่าน้องอ้อเป็นคนที่สอนหนังสือดี  เสียดายดิฉันทำไฟล์หลักสูตรนั้นหายไป แต่ไม่เป็นไรทำใหม่ได้
ดิฉันนึกถึงเรื่องราวนี้ระหว่างการ key new หนังสือใหม่ที่ว่าด้วยองค์กรแห่งความสุข ที่ยกตัวอย่างบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็น Happy workplace โดยส่วนตัวแล้วสนใจที่กระบวนการที่ทำให้เกิดขึ้นและเป็นไป มากกว่ากิจกรรมที่กระทำให้เห็นด้วยตา เพราะจากการได้สนทนาพบว่าคนจะสนใจไปที่กิจกรรมว่าองค์กรนั้นๆ ทำโน่นหรือทำนี่ อะไรบ้าง เช่น กีฬา วันเกิด แรลลี่ ทำบุญ ฯลฯ
ลองพลิกๆ ไปอ่านพบว่ากว่าจะสร้างระบบได้นั้น เริ่มจาก 1) ประกาศนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร 2) แต่งตั้งคณะทำงาน 3) แถลงนโยบาย 4) จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง Happy workplace  5) ประชาสัมพันธ์ 6) จัดทำแผนงาน 7) ดำเนินงานตามแผนงาน 8) กำหนดตัวชี้วัด 9) ประเมินผล และ 10) ทบทวนระบบ
สรุปสั้นๆ ก็คือขนาดเราจะทำเรื่อง Happy เรายังไม่สามารถหนี “ระบบ” และเรื่องของ “เอกสาร” ออกจากชีวิตไปได้ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่กลับมีอิทธิพลต่อตัวเรา หนทางเดียวคือเราคงต้องเปิดใจ ให้ใจเปิด
การ key new ทำให้เรารู้จักกับหนังสือใหม่ๆ รู้เรื่องราวของหนังสือก่อนใครในห้องสมุด
งานอีกอย่างที่สนุกคือการเช็คซ้ำ ช่วงนี้พวกเราได้รายชื่อหนังสือจากคณะมาแทบทุกวันและเป็นจำนวนมาก เราสองคนคือดิฉันและน้องกาญน์จะฮือฮากับรายการที่ได้รับ และยิ่งฮือฮาหนักเมื่อพบว่าหนังสือที่คณะสั่งซื้อมีผู้ใช้ยืมเป็นจำนวนมาก และรู้สึกแป่วววว… หากพบว่าหนังสือนั้นไม่มีในห้องสมุด ประโยคที่ชอบพูดคือ หลงไปได้ไง? ดีเนอะที่อาจารย์มาช่วยเลือก งบคณะหมดยัง หนังสือภาษาไทยใช้งบเราคงพอจะได้  งบใช้ไปเท่าไรแล้ว … ดิฉันจะใช้วิธีเรียก กาญจน์ๆ ตรงนี้ทำยังไง ส่วนน้องกาญน์จะใช้วิธีการเลือนเก้าอี้มาสนทนากัน
หาก key new เป็นการให้เรารู้จักโลกยุคใหม่ เช็คซ้ำ จึงเป็นการให้เรากลับไปยังโลกยุคเก่าเพื่อทบทวนและก้าวไปข้างหน้าเคียงคู่ไปด้วยกัน
นึกถึงสมัยเป็นละอ่อนน้อย ได้รับมอบหมายให้ cat. หนังสือ pop. ซึ่งเป็น pocket book ที่ใช้วิธีจัดหมู่แบบหนังสือเยาวชนของเราในปัจจุบัน เนื้อหาหนังสือในยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นพวกบทกวี สังคม และการเมืองยุค 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ในความรู้สึกของพี่ๆ ดิฉันตีความว่าเป็นหนังสือที่ไม่น่าจะหยิบมาทำสักเท่าใด
แต่ประสบการณ์ในครั้งนั้น ดิฉันได้นำกลับมาใช้ในคราวที่ต้องไปอยู่เกียวโต ใครจะรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
แม้ชีวิตจะติด “ศูนย์” ไปบ้าง แต่มุมของความสุขก็ยังมี….
 

One thought on “มุมของความสุข

  • เห็นคุณสมฯ ขึ้นTime machine ย้อนเวลาหาอดีต
    เลยทำให้นึกเรื่องราวคราวร่วมสมัยเดียวกันได้เป็นต่อนๆ เกี่ยวกับงาน cat.
    ที่ไม่ใช่งานแมวๆ หากแต่เป็นงานมะ-หา-โหด โค-ตะ-ระ หิน สำหรับบรรณารักษ์น้องใหม่
    ซึ่งเข้าใจว่าแม้น้องๆ บรรณารักษ์ รุ่นใหม่ๆ ในยุคสะดวก search อย่างบัดnow ก็ยังคงมีความรู้สึกที่ไม่ต่าง
    คุณสมฯ มีประสบการณ์ตรงกับหนังสือpop.
    ขณะที่อิฉันเข้าทำงานไล่หลังมาเกือบๆ จะรดต้นคอ
    เข้าใจว่าเพลานั้นคอลเลคชั่นดั่งว่าของคุณสมฯ คงถูกสลายหายไปในหลืบหมวดวรรณกรรมสิ้นแล้ว
    จึงมิได้สัมผัสหนังสือกลุ่มนี้เป็นชิ้นอันจะมีผลัดหลงเหลืออยู่บ้างก็นับชิ้นได้
    แต่อีกคอลเลคชั่นที่ยังคงอยู่ให้ต้องตามปรับแก้กันชนิด…หน้ามืด ตาลาย คล้ายจะเป็นลม
    คือหนังสือทั่วไปทุกหมวดหมู่ที่ต้องปรับเปลี่ยนจากระบบ DC เป็น LC
    ซึ่งพี่ๆ ท่านนำร่องทำกันมา เข้าใจว่าน่าจะเป็นแรมปีแล้ว แต่ยังคงไม่แล้วเสร็จเมื่ออิฉันเริ่มเข้าทำงานในปี 30
    ว่ากันว่างานนี้เป็นนิยายไตรภาค มหากาพย์ ประหนึ่ง the lord of the ring
    หรือ มหาภารตะ นั่นเลยทีเดียว เพราะเป็นการรื้อปรับระบบของเก่าทั้งหมดที่เดิมเมื่อแรกตั้งห้องสมุด
    อาจด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัวในความเป็นห้องสมุดขนาดไม่ใหญ่โต และคิดว่าระบบ DC นั้นเหมาะสมแล้ว
    จึงใช้กันเรื่อยมานับแต่ตั้งห้องสมุดขึ้นที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นี้ ซึ่งก็ไม่นานนมอะไรนัก
    แค่ตั้งแต่ราวๆ เมื่อแรกตั้งวิทยาเขตเมื่อปี 2511 ก็เกือบๆ 20 ปี เอง อิอิ ^^
    เหม่…อันที่จริงอยากจะเล่า เกี่ยวกับประสบการณ์ cat.ในยุคทำมือ สมัยno tech.
    แต่เวิ่นเว้อเพ้อเจ้อมาเสียยืดยาว ยังออกอ่าวทะเลอยู่เลย
    เป็นว่าอิฉันไปเหลา เอ้ยยยย เล่าต่ออีก blog ดีก่านิ คริคริ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร