ประชุมวิชาการของ ศวท.

ศทว. เป็นชื่อย่อของศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หรือชื่อย่อเดิมๆ ที่คุ้นเคยคือ TIAC หากจำไม่ผิดจะมีการจัดประชุมแบบนี้ทุกปี โดยแต่ละปีก็จะมีธีมต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ตอนนี้เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า STKS
“เครือข่ายความร่วมมือบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ด้วยไอซีที” เป็นหัวเรื่องของปีนี้ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2552 ณ โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว กรุงเทพฯ หรือห้างฟอร์จูนที่บางคนอาจคุ้นหู
เนื่องจากเดินทางไปโดยรถของภาคบรรณารักษ์ฯ คณะอักษรศาสตร์ จึงเดินทางแบบม้วนเดียวจบ แต่หากเดินทางด้วยเองคิดว่าไม่ยากเพราะมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (พระรามเก้า) โผล่อยุ่ข้างหน้าพอดี แถวๆ นี้ยังมีร้านหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ใหม่ล่าสุดและราคาไม่แพงอยู่ด้วย เรื่องนี้แนะนำโดยคุณสมเกียรติ แต่ทั้งสองวันไม่มีโอกาสได้ไปเดินที่ไหน นอกจากอยู่ในห้องประชุม
การประชุมครั้งนี้ไม่มีการแจกเอกสาร เพราะทุกอย่างเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจไปดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=2538&Itemid=1
แต่อยากให้สังเกตคือสไลด์ที่มานำเสนอครั้งนี้จะเก็บไว้ที่ slideshare ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมไสลด์ในลักษณะที่เป็น Social networking ที่มีการพูดไว้แล้วใน IT Update ก็อยากให้ลองเข้าไปดู ลองค้นหาเรื่องที่น่าสนใจ และลองสมัครเป็นสมาชิก ฯลฯ ด้วยตนเอง
งานครั้งนี้จะพูดถึงความเป็นเครือข่ายก็คงไม่พ้นเรื่องของ web 2.0 ที่ทั้งบุคลากรและและห้องสมุดจะต้องเปิดใจเพื่อปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีการคิดและวิธีการทำงานร่วมกับคนอื่นๆในสังคมทั้งที่เราเห็นหน้าและไม่เห็นหน้ามากกกกกๆๆๆๆๆๆขึ้น
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้และการแบ่งปัน เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักและลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเองน่าจะดีกว่าถูกบีบบังคับว่าต้องให้ต้องแบ่งปัน
มีการพูดถึงหลักสูตรการเรียนการสอนที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน เรื่องนี้ขอพักไว้ก่อน แต่สงสัยเพียงว่าเวลาเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแต่ละแห่งทำกันอย่างไร ได้มีการสอบถามผู้จ้างานมากน้อยแค่ไหน
ตามด้วยเรื่องของ Open Sources ที่สามารถนำมาใช้งานแทนสิ่งที่เรา อันหมายถึงมหาวิทยาลัยหรือประเทศไทย ที่ต้องเสียเงินซื้อซอฟแวร์เข้ามาใช้ในจำนวนงบประมาณมหาศาล
ในโลกของ Open Sources มีซอฟแวร์มากมายที่ผู้พัฒนาที่มาจากทั่วโลกได้ผ่านกระบวนการของของแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้และแบ่งปันให้เราใช้ ซึ่งมีหลายเรื่องที่หอสมุดฯ ก็พยายามนำมาแนะนำให้ใช้ให้รู้จัก กระแสนี้คาดว่าจะมาแรงในไม่ช้านี้ในมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็น่าจะเริ่มปรับตัวและเรียนรู้กับสิ่งใหม่ ยิ่งเริ่มเร็วเมื่อใดก็ยิ่งดีต่อตัวเองมากเท่านั้น
มีหลายหน่วยงานชั้นนำของประเทศเช่น ตปท. ซึ่งมีทรัพย์มหาศาลกว่าเรา มาเล่าถึงกรณีศึกษาเรื่องการนำ Open sources เข้าไปใช้ในหน่วยงาน และอีกหลายหน่วยงานที่กำลังใช้
อย่าง GIMP ที่ใช้แทน Photoshop เราก็อบรมกันไปแล้ว  Zotoro ที่ใช้แทน Endnote ก็พอจะมีคนรู้อยู่บ้าง ส่วน Openoffice ที่ใช้แทน MS, Excel, Photoshop ก็ว่าจะเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนโดยน้องเอ๋บอกว่าคงต้องเริ่มที่สองสามคนไปก่อน แล้วขยายไปเรื่อยๆ ในปีงบ 53 ก็คงจะพอดีกับที่ศูนย์คอมพิวเตอร์มีนโยบายออกมาเรื่องให้มี Opensources จำนวน 20 เปอร์เซ็น ในหน่วยงาน
ตามด้วย Opensources ที่เกี่ยวกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มีมากมายจริงๆ ในการสัมมนามีการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ป.โท จาก มช. คือคุณประสิทธิชัย (น้องเอก) เลิศรัตเคหกาล ที่ใช้ Scriblio มาครอบระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ให้ออกมาในหน้าตาที่ถูกใจเรา เรื่องนี้สนใจมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เห็นครั้งแรกตอนเข้าไปศึกษาเรื่อง Tag  ว่าจะทำอย่างไรให้มีขึ้นเพราะระบบที่เราใช้ทำไม่ได้ เลยไปพบว่ามีการใช้ Scriblio ที่ The Hong Kong University of Science and technology Library ก็เลยตามไปอ่านไปแกะๆ แคะๆ สักประมาณเดือนกรกฎาคม ได้ และกะว่าจะลองทำเป็น project เพราะคาดว่าจะไปดูงานกับกลุ่มบริการและไอทีของ PULINET  พอไม่ได้ไปก็เลยหยุดเอาไว้ก่อน…. เล่นเรื่องอื่นที่เฉพาะหน้าต่อไป
แต่เนื่องจากไม่ได้มีความชำนาญกับเรื่องพวกนี้ เพียงแต่คิดว่าเรื่องพวกนี้สามารถนำมาพัฒนางานเราได้ก็เท่านั้น แต่เพียงแต่คิดไม่พอ ต้องอ่านพร้อมทั้งศึกษา ต้องถามให้เยอะๆ จะได้รู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร จะไ้ด้ช่วยกันคนละไม้คนละมือ แลกเปลี่ยนกันได้ ซึ่งต้องทั้งเปิดใจและรับได้ในคราวเดียวกัน
เนื่องจากมีหลายเรื่้องที่มอบหมายให้น้องเอ๋ไปทำทั้ง SOPAC JORO ฯลฯ เรื่องนี้ก็เลยลืมๆ ได้แต่มองๆ บนเศษกระดาษที่แปะๆ ไว้ ตรงหน้า พอน้องเอก เขามาเสนองานจึงเข้าใจมากขึ้น หลังจากช่วงเบรคจึงเข้าไปคุยหาความรู้เพิ่มเติมตามด้วยอีเมลและโทรศัพท์ ซึ่งน้องก็ยินดี แต่โลกกลมเพราะน้องเป็นเพื่อนกับน้องวีที่ทำงานที่ห้องสมุด ม.ราชภัฎเพชรบุรี ก็เลยมีน้องเพิ่มมาอีกหนึ่งกลับมาน้องเอ๋ลองมาทดสอบให้เราวิจารณ์หน้าตา ตอนหลังมาพบกันอีกงานก็เลยให้คุยกับน้องเอ๋ ตอนนี้ประดิษฐกรรมกำลังจะคลอดในไม่ช้านี้
ส่วนตัวแล้วชอบใช้ชีวิตแบบคิดต่อ ลงมือปฏิบัติจริงๆ ช่วยกันแก้ปัญหามากกว่า แต่ก็ไม่รู้ว่าวิธีนี้จะดีหรือไม่หรืออย่างไร เพราะคำตอบที่ได้คือคนเราไม่เหมือนกัน
ตามด้วยแนะนำโครงการห้องสมุดดิจิตอลแห่งชาิติ นำเสนอโดยคุณไกลก้อง จากแผนงานสุขภาวะไอซีที โครงการนี้แนะนำไว้แล้วตอนไป Libcamp#2 ซึ่งบอกว่าจะทำในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งมีการทำงานกับหลายแห่ง http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7049 ตอนนี้ก็มีข้อมูลของบุคคลสำคัญของประเทศหลายท่าน แนะนำให้ลองเข้าไปดูที่ http://www.openbase.in.th/
คุณชิตพงษ์ กิตตินราดล จะมาพูดถึงโครงการ Creative Commons ประเทศไทย ซึ่งพี่พัชรีได้เขียนแนะนำไว้แล้วที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=818 ซึ่งนั่งฟังแล้วขำๆ เพราะหัวข้อต่อมาคือเรื่องลิขสิทธิ์เพียวๆ อันนี้ต้องไปดูเว็บของกรมทรัพย์ทางปัญญาได้เลยค่ะ เพราะในเว็บบอร์ดมีกรณีศึกษามากมายที่เกี่ยวกับห้องสมุด
2D Barcode เรื่องแนวๆ ที่คาดว่าจะมีการนำไปใช้ในสื่อต่างๆ ซึ่งยังคงต้องหาความรู้อีกมากเพื่อนำมาปรับใช้กับห้องสมุด ทั้งตัวของซอฟแวรืและอุกรณ์ที่นำมาใช้ร่วมกัน
ประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดคือเรื่องบทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาผลงานวิจัยขององค์กร ฌเยคุณรุจเรขา จากห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ซึ่งได้สร้างผลงานมากมายที่ทุกคนในคณะวิทยาศาสตร์ ต้องมาที่นี่ห้องสมุดเท่านั้นถึงจะได้ข้อมูลที่สมบุณณ์และถูกต้อง เรื่องนี้ได้นำมาปรับกับโครงการฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการของบุคลากรมหาหวิทยาลัยศิลปากรในระดับนานาชาติ แต่ศิลปากรไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย จึงทำให้เกิดอาการอารมณ์เสียไม่อยากจะทำต่อ
สุดท้ายคือเปิดตัว STKS Flash e-book หนูเล็กคงสนใจก็ให้ลองเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาลองใช้ดูก่อน http://www.stks.or.th/wiki/doku.php?id=e-book:start
รายละเอียดที่ครบถ้วนให้ตามไปดูสไลด์อย่างที่เล่าไว้ในตอนแรก  ส่วนเรื่องอื่นๆ ประเด็นอื่นๆ จะมาขยามความคิดต่อภายหลัง หลังจากที่ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมาให้อ่านกัน เขียนไปเขียนมาสิ่งที่ช่วยๆ กันเขียนคนละเล็กคนละน้อยมันก็จนเวียนอยู่ใน blog ของเรานี่แหละ
หลายคนพูดถึงประโยชน์ของการเขียน Blog มีการรณรงค์ให้เขียนเยอะๆ ตัวเองได้แต่ฟังแล้วได้แต่หัวเราะหึๆ … แล้วเก็บของใส่กระเป๋าเพราะปิดการสัมมนาพอดี

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร