มุมมองของคณะวิชาและหน่วยงานสนับสนุนต่องานบริการห้องสมุด ตอนที่ 2 (จบ)

ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงมุมมองต่องานบริการห้องสมุด ของคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ แล้ว ดังนั้นตอนนี้จึงเริ่มต่อท่านที่ 2 ซึ่งเป็นมุมมองของ
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ กล่าวว่าให้ดูความแตกต่างของสายวิชา ธรรมชาติของคณะวิชาที่มีถึง 14 สาขาวิชา จึงมีความต้องการที่หลากหลาย ได้แก่ 1) ความต้องการบริการจากหอสมุดฯ ของคณาจารย์นั้นเวลาต้องการอะไรต้องการเดี่๋ยวนั้น จึงขอให้หอสมุดฯ ส่งคนไปพูดคุยและดูแลคณะวิชานั้น ๆ ซึ่งคน ๆ นี้ต้องอดทน 2) ต้องการยืมหนังสือเยอะ ๆ เพราะบางท่านสอนถึง 8 วิชา ให้เทอมละ 50 เล่มจึงไม่พอ 3) บัตรห้องสมุด ขอเป็นบัตรเดียวที่ใช้ร่วมกันทั้งหมดได้ไหม (Smart card) 4) การประชาสัมพันธ์ คนนอกไม่รู้ว่าหอสมุดฯ มีบริการอะไรบ้าง ฐานข้อมูลที่มีให้บริการ เว็บไซต์ให้ผู้ใช้ได้รู้อะไรบ้าง ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตกมีคนรู้จักไหม จึงควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการรู้ทั่วกันเหมือนงานบุ๊คแฟร์ 5) ศิษย์เก่า ขอให้ยืมหนังสือได้ 6) ขอให้ฟื้นห้องสมุดเสียงขึ้นมาใหม่ หากมีแรงกำลังจริง ๆ 7) ขอให้เป็นที่พึ่งทางวิชาการของนักศึกษา หาจุดเด่นของเราให้เจอ 8) ควรพัฒนาตนเองเพื่อตนเองและเพื่องาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
และมีคำที่พูดถึงหอสมุดฯ คือ “ชมน้อย บ่นดัง”
คณะวิทยาศาสตร์ โดยรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่ารูปแบบการสืบค้นหนังสือเปลี่ยนไป ประทับใจกับ One search และได้เสนอมุมมองต่องานบริการห้องสมุดดังนี้ 1) เมื่อเข้ามาหอสมุดฯ ได้กลิ่นกาแฟ ซึ่งควรอยู่ในส่วนที่ไม่รบกวนผู้ใช้ 2) เครื่องยืม-คืนด้วยตนเองมีเพียง 1 เครื่องควรมีมากกว่านี้และเพิ่มแต่ละชั้นด้วย 3) นักศึกษา ป.โท หรือผู้ทำวิจัยให้ยืมหนังสือได้เพิ่มจำนวนและเพิ่มวันมากกว่าเดิม 4) ให้มี E-Book มากขึ้น ตัวเล่มน้อยลง จัดพื้นที่นั่งอ่านมากขึ้น จัดห้องเอ่านฉพาะให้ 5) รูปแบบการเขียนอ้างอิง (Reference) ควรไว้หน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้บริการมาเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์กล่าวว่าเมื่อเรียนจบกลับมาแล้วโดยส่วนตัวประทับใจต่อหอสมุดฯ มากที่มีรูปแบบการเขียนอ้างอิงให้ (1 แผ่น) และอาจารย์สามารถเขียนอ้างอิงได้ 6) ขอให้หอสมุดฯ เป็นที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ แทนการเป็นแหล่งเก็บ และใช้งานได้ง่าย 7) ขอให้หอสมุดฯ ทำชีทการเขียน Proposal แจกนักศึกษา ป.โท 8) เชิญผู้รู้มาแนะนำขั้นตอนการเขียนวิจัย 9) บริการ Interlibrary loan ขอให้วางระบบใช้บริการได้จากคณะวิชาโดยไม่ต้องมาหอสมุดฯ 10) ทำให้ทราบว่าข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการอยู่ที่ใดรวมของคณะวิชาที่มีห้องสมุดของตนเองด้วย โดยมีหอสมุดฯ เป็นแหล่งตัวกลางข้อมูล
ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ และในฐานะอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ เริ่มด้วยการกล่าวชมหอสมุดฯ ว่าท่านมาใช้บริการหอสมุดฯ อย่างสม่ำเสมอ พอใจกับบริการที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย การไปรับบริการรับคืนที่คณะวิชานั้น Happy มาก มี Service mind การปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้วยการมองผู้ใช้บริการเป็นหลักนั้นถือว่าคุ้มค่าและศูนย์คอมพิวเตอร์จะทำ Service area ให้ผู้ใช้บ้าง และกล่าวถึงหอสมุดแบบดาวกระจายที่มีอยู่แต่ละคณะวิชา เห็นว่าสำนักหอสมุดกลางดูแลหนังสือที่ต้องใช้เฉพาะทางคงหนักเกินไป คณะเภสัชศาสตร์มีห้องสมุดของตนเองและบริการนอกเวลาด้วย มุมมองต่อบริการห้องสมุดต้องการให้ 1) ฐานข้อมูล One search ควรครอบคลุมทรัพยากรสารสนเทศทุกคณะวิชาด้วย รวมถึง Journal ที่มีบริการ
ส่วนที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สามารถให้ความร่วมมือกับห้องสมุดได้คือการดูแลฮาร์ดแวร์ให้ ส่วนการ management หอสมุดฯ ต้องดำเนินการเอง ส่วน Public area เช่น ห้องสมุดในสวนจะขอให้เอกชนเข้ามาช่วยเรื่อง Wi-Fi, การใช้บริการที่ต้องผ่าน VPN จะทำให้ง่ายขึ้น, การประชาสัมพันธ์มีการกระจายไม่รวมศูนย์ แต่ละที่ประชาสัมพันธ์กันเอง ดังนั้นศูนย์คอมพิวเตอร์จะรวมให้เป็น web portal ศูนย์รวมบริการข่าวสารของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง กล่าวเรื่องจากยุทธศาสตร์ไปสู่การ Benchmark อยู่ในยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุดกลางอยู่แล้ว การให้บริการต่อหน่วยงานมุ่งสู่สากล การศึกษาดูงาน ดูความแตกต่างเชิงกายภาพ รูปแบบการบริการ บริการมีอะไร จะพัฒนาอย่างไร สิ่งที่พบเห็นมีมุมมองอะไรที่ควรนำมาพัฒนา การ Benchmark ศึกษาห้องสมุดที่ทำหน้าที่คล้ายเราว่ามีอะไรเป็นตัวแบบให้ศึกษา ซึ่งห้องสมุดที่น่าสนใจไปศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยขอนแก่น และกำหนดหัวข้อไว้ประชุมในการสัมมนาใหญ่
ภาคบ่ายเป็นการบรรยายเรื่อง ความก้าวกน้าในสายงานของบุคลากรในหอสมุดฯ โดยหัวหน้าหอสมุดฯ แนะนำการเขียนผลงานวิชาการ การศึกษาค่างานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง แบบประเมินค่างาน ให้ไปดูงานของตนเองว่าได้ตามค่างานไหม ระดับขั้นเงินเดือนที่สามารถทำผลงานวิชาการได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์เชี่ยวชาญในสำนักหอสมุดกลางมี 2 กรอบ คืองาน IT และงานฝ่ายวิเคราะห์ฯ และเมื่อหัวหน้าหอสมุดฯ เกษียณแล้วจะมีกรอบบริหารอีก 1 กรอบ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พิจารณาจาก 1. ค่างาน 2. ผลสัมฤทธิ์ของงาน 3. ความรู้ความสามารถ 4. ผลงานทางวิชาการ งานวิเคราะห์สังเคราะห์ / งานวิจัย 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ (ไม่ได้ไปลอกใครมา) และสุดท้ายรีดเดอร์ที่อ่านให้ อย่างไรถือว่าผ่านและได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
ต่อท้ายด้วยการเสวนากลุ่มย่อย ตามลักษณะงานและแบ่งตามกลุ่มอายุด้วย นำผลสรุปจากการเสวนาส่งโดยตรงที่ฝ่ายวิชาการ
จะเห็นได้ว่าการสัมมนาครั้งนี้นอกจากได้การบ้านแล้ว เรายังได้พันธมิตรที่จะร่วมมือก้าวไปด้วยกันเพื่อความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยศิลปากรของเราด้วยนะ

One thought on “มุมมองของคณะวิชาและหน่วยงานสนับสนุนต่องานบริการห้องสมุด ตอนที่ 2 (จบ)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร