รุกสยาม กับ Timeline

รุกสยาม มีต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลจากหนังสือเรื่อง Pour la plus grande gloire de Dieu โดย Morgan Sportes โดย ดร.กรรณิการ์ จรรย์แสง จากภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร ชื่อหนังสือเต็มๆ ว่า รุกสยามในพระนามของพระเจ้า เล่มหนาตั้งเจ็ดร้อยกว่าหน้า อุตส่าห์จองอ่านตั้งแต่ออกมาใหม่ๆ ยืมต่อติดกันจนหมดสิทธิ แต่ก็ยังอ่านไม่จบจวบจนปัจจุบัน
เดือนเมษายนที่ผ่านมาอาจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ จากภาคภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุณาส่งวารสารอักษรศาสตร์ เล่มใหม่ล่าสุดมาให้อ่าน เนื่องจากมีบทความเรื่องวรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันตก อันเป็นประโยชน์ต่องานศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก ซึ่งได้เคยคุยกับอาจารย์ถึงเรื่องราวและงานที่เรากำลังวางแผนอยู่ พร้อมทั้งนำงานนี้ไปคิดวางแผนทำงานต่อโดยปรึกษากับอีกท่านหนึ่งและอีกหลายๆ ท่าน ส่วนบทความอื่นๆ ยังไม่ได้อ่าน แล้วก็หอบตัวเล่มไปบ้าน พอหลายวันก็จะมีหนังสือเล่มอื่นวางทับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
วันก่อนอาจารย์แวะมาที่ห้องสมุด (แต่ไม่ใช้สองท่านที่เขียนเม้นท์ในข้อต่อแบบอ่อนของพี่พัช) เล่าให้ฟังว่าขณะนี้ท่านรองวิทยาเขตฯ กำลังฟื้นฟูศูนย์วัฒนธรรมภาคตะวันตก ขึ้นมาใหม่ ดีใจจังเพราะไปทีไรเห็นอาคารที่เงียนเหงาๆ แล้วอดใจหายไม่ได้ ปีก่อนเคยทำโครงการเสนอรักษาการท่านรองฯ (ผอ.นรงค์) ว่าจะไปขอใช้สถานที่เพื่อสร้างให้เป็นทั้งศูนย์ข้อมูลและศูนย์วัฒนธรรมฯ แต่ได้แค่เสนอ พอถึงตอนนี้ทุกภาคส่วนเข้ามาเริ่มงานกันใหม่ก็นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี และอาจารย์ก็นึกถึงห้องสมุดเลยมาเล่าให้ฟังแล้วบอกว่าวันนี้ (26 พฤษภาคม) จะไปเก็บข้อมูลที่คูบัว ราชบุรี   งานเลยเข้าน้องอ้อ…ต้องไปอีกวัน หลังจากที่เพิ่งไปสุพรรณบุรี (25 พฤษภาคม) ซึ่งพวกเราคงได้อ่านแล้วจากเที่ยวเมืองขุนแผน อันนี้ขอบอกว่าเธอไม่ได้ไปเที่ยวเธอไปทำงาน เรื่องนี้ต้องขอบคุณพี่แมวอีกเช่นกัน ที่ยิงยาวว่าไหนๆ พี่หน่อยและคณะไปประชุม – ขอรถ -รถว่างทั้งที่นั่งและเวลาทีรอ จึงส่งเรื่องมาให้พิจารณาต่อว่าจะทำอย่างไรให้ได้้ประโยชน์สูงสุด และครั้งนี้ก็เช่นกันที่น้องอ้อจึงได้ไปเก็บข้อมูลภาคสนาม นับว่าเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ที่ต่างทำงานในมุมของแต่ละองค์กร และสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยของเราต่อไป ส่วนน้องอ้อกลับมาอย่างเบิกบานนัยว่าข้อมูลเพียบคาดว่าจะปล่อย “ของ” ได้อีกหลาย blog นี่กะว่าหากสร้างพื้นที่แบบนี้ให้ ศต. เรียบร้อยแล้วน้องอ้อคงจะสำราญใจในข้อมูลของตัวเองไม่น้อย อย่าลืมบิิวท์ของษรบ้างเน้อ…
เย็นวันนั้นพอกลับบ้านเลยต้องหยิบวารสารอักษรศาสตร์ มาพลิกอ่านอีกครั้ง เพราะหนึ่งในนั้นมีบทความเรื่อง รุกสยาม แบบย่อ ทำใจว่าไหนๆ ไม่ได้อ่านฉบับเต็มแล้ว ก็ขออ่านแบบนี้แบบรวดเดียวจบ แถมยังอ่านซ้ำอีกหนึ่งครั้ง
รุกสยาม เป็นนิยายประวัติศาสตร์ ไทย ในมุมมองของนักเขียนชาวฝรั่งเศส แต่ประเด็นที่ตนเองสนใจมีหลายเรื่องตั้งแต่ ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังอยากรู้เห็นกับเอกสารที่ผู้เขียนใช้อ้างอิง และการนำเสนอเรื่องเนื้อหาเป็นแบบช่วงเวลา มีใครไม่รู้เล่าให้ฟังว่าชาวฝรั่งเศสเป็นชาติที่ช่างจดช่างจำ ดังนั้นเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับประเทศไทยจึงมีมากและยังหลงเหลือให้อ้างอิงได้จนถึงปัจจุบัน นี่ได้แต่ฝากน้องเบญของเราให้ไปสืบเสาะแถวเนเธอแลนด์บ้างว่าพอจะมีอะไรหลงเหลือเกี่ยวกับบ้านเราบ้าง
ห้องสมุดเราก็ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาฯ ในการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลไทย-ฝรั่งเศสศึกษา ซึ่งก็มีเอกสารหายากมากมายแม้จะไม่ใช่ต้นฉบับก็เถอะ เสียดายที่เรียนฝรั่งเศสมาน้อยนิด จึงได้แต่จดจ้องๆ แค่หน้าปก อาศัยหาความสำราญจากการอ่านฉบับแปลหรือเอกสารโบราณ สมัยมาทำงานใหม่ๆ เคยได้สนทนากับอาจารย์ที มอ.ปัตตานี ว่าอยากไปฝรั่งเศส (เพราะมีเอกสารโบราณเยอะ) กับคอร์แนล (เพราะมีหนังสือภาษาไทยเยอะ แต่เราไม่มี …เรื่องนี้ไม่ฮา) เพื่อเก็บข้อมูลภาคตะวันตก สมัยนั้น มอ.ปัตตานี เคยส่งคนไปเก็บข้อมูลแบบนี้เหมือนกัน แต่จำไม่ได้ว่ามหาวิทยาลัยอะไร รู้ว่าครั้งนั้นได้ข้อมูลกลับมามากมาย แต่ฝันไปก่อนเต๊อะไปแบบออนไลน์ก่อนแล้วกัน…นะ
เนื่องจากรุกสยาม เกี่ยวข้องกับเวลา  จึงตีโจทย์ว่าหากนำข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์แล้วเครื่องมืออย่าง google timeline หรือ ยี่ห้ออื่นๆ มาช่วยนำเสนอ  แล้วเชื่อมไปยังเนื้อหาของหนังสือของห้องสมุด หรือจะให้พี่ติ๋วไปใช้เวลาอธิบายเรื่องยุคสมัยในซีรี่ย์เกาหลี ที่กำลังปั้นอยู่ เพราะเคยถามพี่เขาไปว่าระหว่างจูมง กับจังกึม ใครเกิดก่อน โอ้..แค่คิดก็สนุกแล้ว
ส่วนตัวเราท่าจะคิดมากไป เขียนดร๊าฟไว้นานจนเกือบลืม… จนมีคนแซวว่าเมื่อไรจะได้ขึ้นสักที โบ (ราณ) แล้ว

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร