How to be a Global Library Participant:Practical Approaches

30 November 2010
Posted by patcharee

วันนี้ได้ไปร่วมสัมมนาในหัวข้อตามที่เป็นชื่อเรื่องที่ หอสมุดป๋วย ที่มธ.ศูนย์รังสิต กับน้องกาญจน์ มีคนไปร่วมงานค่อนข้างเยอะ เราสองคนยังคุยกันว่าจะฟังเขารู้เรื่องมั๊ยนะ เพราะยังไม่รู้เลยว่า เขาจะพูดเรื่องอะไร ด้วยความคิดที่ว่า คิดว่า OCLC ก็น่าจะต้องเกี่ยวข้องกับงาน Catalog มากกว่า ยิ่งตัวเองแล้ว รู้ตัวว่าไม่เข้าหัวเลยกับเรื่อง cataloging
เริ่มงาน..ค่อยยังชั่วหน่อยว่า ตัวแทน OCLC ประเทศไทยเป็นคนบรรยาย  จึงขอสรุปเท่าที่ทำได้นะคะ น้องกาญจน์เข้ามาเพิ่มด้วย เพราะกาญจน์ตื่นตลอด ส่วนพี่ลืมตาได้ไม่ตลอด
วิทยากรกล่าวแนะนำ OCLC ก่อนว่า เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร และมีวิสัยทัศน์ว่า The World’s Libraries Connected  มีบริการหลัก ๆ ส่วนหนึ่งคือ
Resources  : เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
WorldCat Collection Analysis: งานวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุด
ContentDM : การทำ Digitization
WorldCat Local: OPAC ยุคใหมุ่
โดยมีนโยบายในการให้หัองสมุดขึ้นเป็นห้องสมุดในประชาคมโลก ซึ่งมีคุณสมบัติคือ
1. Resources Sharing
2. สร้างการยอมรับ และเป็นที่รู้จัก
3. มุ่งสู่หัองสมุดเพื่อการวิจัย
4. สร้างความเป็นผู้นำ มุ่งสู่สากล
Library Resources Comparison with Library worldwide เป็นการบรรยายถึงการนำเอาทรัพยากรของห้องสมุดที่เข้าเป็นสมาชิกของ OCLC ไปเปรียบเทียบกับห้องสมุดอื่นๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ทรัพยากร และใช้เป็นการ benchmark กับห้องสมุดอื่นในประชาคมโลก ว่าของเราได้มาตรฐานแค่ไหน  เทียบกับห้องสมุดอื่นแล้วเป็นอย่างไร
ในประเด็นนี้..ผู้บรรยายได้ลองทำการเปรียบเทียบ collection ทางด้านวิศวกรรมของ มธ. กับห้องสมุดอื่นทางด้านวิศวกรรมเหมือนกันใน OCLC (จำไม่ได้แล้วว่า university อะไร)…แต่ตัวเองมานึกๆ ว่า มันก็เสี่ยงเหมือนกันว่า จะทำให้เราเห็นตัวเองชัดเจนขึ้นว่า เราไม่มีเท่า  แล้วถึงแม้ว่าเราคิดว่า เราต้องการทำให้ได้เหมือนคนอื่นในสากลโลก เราจะทำได้หรือ บริบทตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับมหาวิทยาลัยของเขากับของเราคงต่างกันมาก …การ benchmark แบบนี้คงเหมือนมวยคนละรุ่น
Increase student use of Library materials : WorldCat Local (จากการหลับๆ ตื่นๆ) สรุปได้ว่า ..การนำเอาทรัพยากรของห้องสมุดเข้าสู่ OCLC จะเป็นการเพิ่มการใช้ทรัพยากร และการ share ทรัพยากร ขึ้นมาก โดยเมื่อผู้ใช้ ใช้ searchbox ของ WorldCat Local แล้ว พบว่ามีอยู่ที่ห้องสมุดใดในสมาชิกของ OCLC ก็สามารถใช้บริการ ILL ได้ เหมือนกับที่ประเทศจีนมีการขอยืมข้ามประเทศเพิ่มขึ้น
ในประเ็ด็นนี้..งาน ILL ในประเทศไทยที่เป็นหนึ่งใน JD  ของตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นการถ่ายเอกสารและขอไฟล์จากฐานข้อมูลออนไลน์ระหว่างห้องสมุุุด  ส่วนการตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดต่างๆ นอกจากจะใช้ UC แล้ว คณะทำงานบริการยังมี listserv และ web ที่ใช้เเป็นที่ติดต่อสอบถามหาข้อมูลที่ต้องการ    สอบถามขอยืมตัวเล่มจริง หรือขอถ่ายเอกสารแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ทุกห้องสมุดต่าง share ทรัพยากรที่ตนมี และช่วยกันด้วยจิตบริการอย่างเต็มที่ แต่ในขณะที่การให้บริการกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดห้องสมุดใด ขอสำเนาเอกสารมา โดยแจ้งว่าอยู่ไกลมาเองไม่ได้ เราทำให้ด้วยจิดบริการ บางครั้ง ยังไม่ได้รับเงินค่าสำเนา ค่าส่ง .. แล้วถ้าเป็นต่างประเทศเราจะกล้าหรือเปล่า..หรือ ถ้าเป็นสมาชิก OCLC สามารถทำได้ืก็ไม่รู้
CONTENTdm เป็น software ในการทำ digitize เอกสารลงใน web  ซึ่งสามารถ search หาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการ key ข้อมูล และการ scan หนังสือแบบ OCR
กาญจน์..ช่วยเพิ่มเติมทีนะ..

5 thoughts on “How to be a Global Library Participant:Practical Approaches

  • หนูมาก่อนนะพี่
    อดกลับไปอ่านของเก่าที่มีึคนเขียน WorldCat ไว้ไม่ได้ .. พี่หน่อยเขียนไว้ที่นี่ http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=3585 ส่วนอันนี้เป็นของน้องอ้อ http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=2127 และอ้อยังเขียนเปรียบเทียบระหว่าง WorldCat กับ LibX แบบเอามาใช้งานที่ไม่เสียสตางค์
    เคยมีโอกาสคุยกับบริษัทฯ ที่เป็นตัวแทน เค้าก็เล่าเรื่องข้อดีทีมีการนำมาเปรียบเทียบ collection หากเราจะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัย หรือตั้งเป้าไปที่ระดับ Worldclass ในเมืองนอกดูเหมือนเรื่องพวกนี้จะง่าย …แค่รู้สึกนะคะ เพราะไม่ทราบบริบทแบบจริงๆ ของเค้า เพราะข่าวสารที่เรารับรู้มักมุ่งไปที่มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ส่วนเราตัวเล็กไม่ต้องใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวก็ประมาณตัวได้ ชอบคำนี้จังพี่ มวยคนละชั้น
    แต่น่าจะเป็นคนละชั้นเรื่อง collection นะคะ เพราะเชื่อว่าทุกสถาบันต่างมีเอกลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของตัวเอง
    สำหรับเรื่องนี้ขอใช้ประโยชน์จากเค้าในบางมุม ที่สามารถคิดและทำได้แบบ creative library แล้วกัน … ขอจบลงเสียง หึหึ แบบไม่มีนัยยะ

  • ไม่ทราบว่าการ scan หนังสือแบบ OCR ของภาษาไทยสามารถทำได้ถึง 100% หรือยังครับ
    และเมื่อสแกนเสร็จแล้วระบบสามารถจัดทำ index ได้โดยอัตโนมัติหรือไม่ หรือบรรณารักษ์ต้องเป็นผู้จัดทำ index เพิ่มเติมภายหลังครับ

  • วิทยากรบอกว่า การScan แบบOCR ของหนังสือภาษาไทย ยังไม่สามารถทำได้ 100%เพราะโปรแกรมไม่สามารถรู้จักฟอนต์ของภาษาไทยไ้ด้ทั้งหมด และไม่สามารถแปลงให้ถูกต้องได้ ส่วนการทำ index พี่ไม่ค่อยแน่ใจ จำไม่ได้แล้ว..ว่าทำให้เลยหรือเปล่า กาญจน์ช่วยหน่อยซี..

  • การ Scan แบบOCR ของหนังสือภาษาไทย ในส่วนของการทำ index ที่ฟังวิทยากรบรรยาย ทำได้โดยอัตโนมัติค่ะ แต่ไม่ 100% เพราะขณะนี้สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลัง load ข้อมูลเข้า (นำข้อมูลภาษาไทยเข้า World Cat) แต่ยังไปสืบค้นยังไม่ได้ ต้องรอสักระยะหนึ่ง ค่ะ วันนั้น วิทยากรได้สาธิตการนำข้อมูลเข้า ทีละ Step ค่ะ เครื่องทำได้ นับว่า สำนักหอสมุดมหาิวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่แรกที่จะมีหนังสือภาษาไทย ไป Show ในฐานของ World Cat ก็หมายความว่า OPAC ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จะไปปรากฏอยู่ใน world cat ด้วย รอติดตามกันต่อไป ตอนนี้ ก็มีหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสมาชิกค่ะ เท่าที่ฟังวิทยากรบรรยายวันนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ทุกอย่าง ยังหาข้อเสียไม่พบ เหมือนกับที่พี่ปองว่า “Share” ห้องสมุดทุกแห่งทั่วโลกมา Share กัน (วิทยากรเขาบรรยายว่าอย่างนั้นดีทุกอย่าง มีถึง 470 ภาษาทั่วโลก มีองค์กรอิสระที่มีคุณธรรมไว้คอยตรวจสอบ) แต่หอสมุดฯ ของเรา ก็ support ผู้ใช้ และมุ่งสู่ สากลเหมือนกันนะถึงแม้ไมได้ใช้ world cat SUS library ก็เป็น member ของ OCLC เหมือนกัน ปัจจุบันนี้มีข่าวแจ้ง NetLibrart eBook บริษัท EBSCO รับไปดำเนินต่อ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร