WorldCat: Window to the world’s libraries

ที่จริงเรื่องนี้น่าจะเขียนมาตั้งนานแล้ว แต่เพิ่งจะมีโอกาส สืบเนื่องมาจากการที่ได้เป็นวิทยากรฝึกปฏบัติการวิเคราะห์หมวดหมู่ให้กับบรรณารักษ์จำนวน 4 คน (ซึ่งเป็นน้องใหม่ในวงการ Cataloguer ของหอสมุดสนามจันทร์) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ได้เขียน course การฝึกจำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์แรกเป็นการเริ่มต้นด้วยการฟื้นความรู้ และทบทวนเกี่ยวการวิเคราะห์หมวดหมู่เช่น MARC 21 Authority Format สัปดาห์ที่ 2 เรื่อง AACR 2 และการให้หัวเรื่องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ส่วนสัปดาห์ที่ 3 เป็นเรื่องการใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศของต่างประเทศ เพื่อช่วยในวิเคราะห์หมวดหมู่ ส่วนสัปดาห์สุดท้ายเป็นเรื่องของการทำงานใน Cataloguing Moduleสำหรับเรื่องการใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศของต่างประเทศเพื่อช่วยในการวิเคราะห์หมวดหมู่นั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ฐานที่เราใช้กันโดยทั่วไปและเป็นที่นิยมคือ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศหอสมุดรัฐสภาอเมริกั (Library of Congress) และฐาน OHIOLINK ซึ่งถ้าหากจะว่าไป ทั้ง 2 ฐานนี้ก็ครอบคลุมหนังสือภาษาต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษเกือบ 70 เปอร์เซ็น ภาษาฝรั่งเศส และเยอรมัน ประมาณ 30- 40 เปอร์เซ็น ดังนั้นหากสอนไปน้องๆ ก็จะไม่ได้อะไรที่ใหม่ขึ้นจากที่เคยได้รับรู้กันมา และจากการเข้าร่วม IT UDATE ครั้งแรก คุณสมเกียรติ ที่ปรึกษาด้านไอทีของหอสมุดพูดถึง WorldCat ขึ้นมา ช่วงที่เตรียมการสอนจึงได้เข้าไปดูว่า เดี๋ยวนี้ WorldCat เค้าพัฒนาและก้าวหน้าไปถึงไหน ทำให้พบว่า เดี๋ยวนี้ WorldCat เค้าพัฒนาการให้บริการก้าวหน้าไปมาก ทั้งรูปแบบการสืบค้น และการใช้งาน

wc รูปนี้เป็นหน้าจอแรกเมื่อเราเข้าไปที่  www.worldcat.org เริ่มแรกเราต้องสมัครสมาชิก เพื่อเข้าไปใช้งานการสืบค้น โดยเข้าไปที่
create a free account


wc2

เมื่อคลิกเข้าไปจะพบหน้าจอเพื่อทำการสมัคร โดยกรอกรายละเอียดต่างๆ ตามที่เค้ากำหนดให้ พร้อมด้วย Email ของเราหลังจากนั้น ทาง ระบบจะส่งข้อความตอบรับมาทาง Email ที่เราใส่ไว้ เราก็ทำการ Log in เพื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูล ซึ่งจะเห็นว่า มีทางเลือกให้ค้น 5 ช่องทาง คือ Everything, Books, DVDs, CDs, Articles เราประสงค์จะเลือกสืบค้นทรัพยากรสารนิเทศประเภทไหนก็คลิกเลือกตามประเภท หากเลือก Everyhing คือ เลือกทุกประเภท และนอกจากนี้เรายังเลือกเขตหรือพื้นที่ที่ทรัพยากรสารนิเทศนั้นวางให้บริการได้ด้วย โดยระบบจะค้นไปยังพื้นที่นั้นก่อน และถ้าหากไม่มีจะค้นต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

wc3เมื่อระบบค้นหาแล้วเจอหนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศที่เราค้น ก็จะแสดงออกมา ซึ่งรายละเอียดที่แสดงนั้นจะมีมากมายเช่น รายละเอียดของผู้แต่งหนังสือเล่มนั้นๆ ว่าในฐานนั้นมีหนังสือที่เป็นผลงานโดยผู้แต่งคนเดียวกันกี่เล่ม ถ้ามีผู้แปล บรรณาธิการก็เช่นกัน หรือปีที่ตีพิมพหนังสือชื่อนั้น ว่าตีพิมพ์มากีี่ปี ปีละกี่เล่ม หรือเนื้อที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ มีวิทยานิพน์หรือ บทความ หรือนวนิยายที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนั้นๆ กี่ชื่อ และมีภาษาอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละอย่างสามารถคลิกเข้าไปดูได้

wc4เมื่อคลิกเข้าไปที่ชื่อที่เราต้องการจะพบภายในนั้นจะบอกรายการของหนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศ เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพื ปีพิมพ์ และรายละเอียดที่บอกว่า หนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศเล่มนั้นมีให้บริการที่ห้องสมุดใดบ้่าง และนอกจากนี้ยังบอกอีกว่าหนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศนั้นสามมรถหาซื้อได้ที่แหล่ง หรือร้านค้าใดได้บ้าง และมื่อคลิกเลือกห้องสมุดที่เราต้องการ ระบบจะ Link ไปที่หน้าจอ OPAC ของห้องสมุดนั้นๆ เราก็จะได้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศนั้น เป็นการช่วยการวิเคราะห์หมวดหมู่ของเราอีกทางเลือกหนึ่ง สมกับที่เค้าบอกไว้ในหน้าเว็บไซต์ว่า

“WorldCat connects you to the collections and services of more than 10,000 libraries worldwide”

และสุดท้ายอย่าลืมว่า ข้อมูลที่ได้นั้นเราต้องนำตวจสอบก่อนนำไปใช้ ไม่ใช่ Copy ของเค้ามาทั้งหมดนะค่ะ นอกจากนี้ WorldCat ยังมี option ให้ใช้งานอีกมากมายลองเข้าไปศึกษาดูกันได้ค่ะถ้าหากสนใจกัน




8 thoughts on “WorldCat: Window to the world’s libraries

  • อ่านแล้วคะ ขอบคุณนะคะ ที่มีอะไรใหม่ๆ มานำเสนอ ให้ update กันอยู่เป็นประจำ

  • อ้อทำ link ให้ LC กับ ohio ด้วยค่ะ ฝาก cataloguer ด้วยค่ะเมื่อเรามีทั้งสามเว็บไซต์ หากนับ LibX ด้วยก็จะเป็นสี่ และทั้งสี่นี้มีจุดเด่นอย่างไรที่ช่วยเราทำงาน เมื่อใช้แล้วส่งผลเป็นอย่างไร หรือไม่เคยใช้เลยทั้งสี่เว็บที่พูดถึง แล้วใช้อะไรเป็นตัวช่วยในการ cat หนังสือต่างประเทศทั้งที่อยู่ในภาษาที่พอจะอ่านออกหรืออ่านไม่ออก จะได้ใช้ case นี้เป็น best practice ค่ะ

  • ทำ link ให้แล้วค่ะพี่ปอง สองสามวันมานี้ worldcat ใช้ไม่ค่อยได้ค่ะ สัญญาณ busy มากๆ ส่วนการทำงานของอ้อนั้นช่วงนี้รับผิดชอบหนังสือ collection ศ.ดร.เจตนาฯ ใช้ทั้งสี่เว็บไซต์ค่ะ คือ LC, Ohiolink, LibX, Worldcat เพราะหนังสือ collection นี้ ค่อนข้างเก่าและหลากหลาย รวมทั้งมีภาษอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ซึ่งสามารถช่วยได้มากที่เดียว แต่การใช้งานของแต่ละเว็บไซต์ก็แตกต่างกันไป

  • พี่ปอง นอกจากทำ link ไหนๆ ก็ ไหนๆ IT Update คราวต่อไปให้น้องอ้อ เอาทั้งสี่เว็บไซต์มาคุยการใช้งานก็ดีนะ
    ไหนๆ ก็ศึกษามาแล้ว เพราะถ้า link ไว้แล้วให้แต่ละคนเข้าไปศึกษาก็คงต้องใช้เวลาม๊ากกกกกก
    เหมือนที่ตัวเองศึกษา LibXน่ะ มันก็สนุกดี แต่ไม่มีเวลามากพอ
    และที่สำคัญมันต้องอ่านไปแปลไปเพราะเก่งภาษาปะกิตกันซะะะะะะะะะ นี่สิ

  • เรื่องนี้คงไม่ต้องเข้า IT Update หรอกค่ะ เพราะเป็นการสืบค้นข้อมูลธรรมดา แบบการสืบค้น WebOPAC ทั่วๆไป ที่บรรณารักษ์ทุกคนก็ทำได้ ฐาน LC และ Ohiolink หรือ LibX คือการสืบค้น WebOPAC ทั่วไป ส่วน WorldCat ก่อนการสืบค้นต้องสมัครสมาชิกก่อนก็เท่านั้นเอง ตามที่ได้เขียนขั้นตอนไว้

  • case ต่างกันค่ะ ของหนูเล็กเป็นการให้ศึกษา LibX เพื่อให้รู้จักแล้วบอกต่อ ส่วน case นี้น้องๆ ทั้งสามคนมีคนบอกต่อแล้วว่าคืออะไร ใช้งานอย่างไร เป็นคนที่ต้องนำไปใช้งานจริงๆ ซึ่งน่าจะเป็นเจ้่าภาพบอกว่าได้กลับไปใช้งานกันต่อหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด และควรจะใช้ต่อหรือไม่อย่างไร เพราะหากหนูอ้อนำมาพูดอีกแต่ไม่นำไปใช้ผลก็เหมือนเดิม ทำให้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเครืองมือที่พยายามเสาะแสวงหามาให้ แต่ไม่มีคนใช้เป็นเพราะเหตุใด ยังอยากให้ทั้งสามสี่คนเป็นเจ้าภาพงานชิ้นนี้ค่ะ

  • การบ้านรึเปล่าจ๊ะ…สามสี่คน…รับทราบละกัน

  • ที่พี่อ้อแนะนำมา ตอนนี้ก็ยังนำมาใช้ในการทำงานค่ะ ช่วยได้มากทีเดียวค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ LC กับ ohio ค่ะ เพราะลักษระการสืบค้นจะคล้ายกับopac มากที่สุด ส่วนworldcatยังใช้ไม่คล่องน่ะคะ ถ้าคล่องกว่านี้จะกลับมาตอบการบ้านของพี่อ้อนะคะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร