100 Excellent Open Access Journals for Educators

เมื่อเดือนก่อน ที่จำไม่ได้ว่าเดือนไหน อ่านรายงานการประชุมของคณะทำงานวารสารเรื่องการรวมรวมรายชื่อวารสารออนไลน์
วันดีคืนดีก็มีคนเขียน blog เรื่องวารสารแบบฟรีๆ พอดิบพอดี จึงตามไปดูแหมช่าง excellent จริงๆ
ลองไปดูที่นี่ http://www.onlinecollege.org/2009/11/11/100-excellent-open-access-journals-for-educators/
ทั้งหมดได้จากการนำความรู้จากกิจกรรม IT Update มาใช้งานจริงเพื่อติดตามข่าวสารในแวดวงที่เราต้องรู้
เว็บไซต์นี้พอไปใส่ที่ facebook ของห้องสมุด มีคนตอบรับมาทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ว่าขอบคุณ ก็รู้สึกดีที่เวลาทำอะไรไปคนบอกว่ามีประโยชน์ ตามประสาคนที่ยังมีกิเลสอยู่
Facebook  ของหอสมุดฯ เราชื่อ suslibrary น้องยาหยีเคยแนะนำให้กับหลายๆ คนตอนอบรมเรื่องการสื่อสารด้วย ocial networking ในช่วงปิดภาคที่ผ่านมา  รวมถึง twitter และ hi5 แถมด้วย msn
หัวหน้าหอสมุดบอกว่าให้พิมพ์ออกมาแปะๆ ติดๆ บ้างคนอื่นจะได้รู้ เรื่องนี้คงต้องปฏิเสธ เพราะลำพังคิดว่าจะหา “เรื่อง” อะไรใส่เข้าไปไม่ให้นิ่ง ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรทั้งการเก็บรูป เนื้อหาและความคิด รวมทั้งเครือข่ายพวกนี้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา
มีเพื่อนบรรณารักษ์จากที่อื่นเข้ามาบ้าง มีหลายแห่งไปสร้างของตัวเอง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แปลกอะไร ใครๆ ก็ทำกัน
น้องอ้อทวิตต์ข่าวมาว่ารัฐบาลสั่งให้หน่วยงานของรัฐมี facebook  และ Twitter หากเราโดนสั่งบ้าง ก็คงตอบว่า อ๋อ… ทำแล้วค่ะ …  เช่นเคย
ตัวเองไม่ได้ตามผู้ที่น้องอ้อตาม  แต่ไปตามน้องอ้อแทน ดังนั้นจึงมีข่าวที่แลกเปลี่ยนกันบ่อยๆ รวมถึงการได้สื่อสารกับเพื่อนร่วมวิชาีชีพอื่นๆ ดังนั้นจึงมีข่าวมาจากทุกทิศทาง ไม่ว่าหน่วยงานั้นกำลังทำอะไรอยู่ แค่เช้าๆ เย็นๆ มาไล่ตามข่าวที่ feed ขึ้นมา
สัปดาห์นี้เห็นทีจะต้องไปลงข่าวมหาวิทยาลัยศิลปากรเสียที หลังจากที่ไปทดลองตลาดแล้วสักระยะหนึ่ง
เมื่อวันศุกร์ประชุมคณะทำงานฝ่ายบริการ ของ PULINET คุณพี่อบ รวีวรรณ ขำพล แจ้งเพื่อทราบในรายงานการประชุมว่าที่หอสมุดจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ มอ. ปัตตานี แจ้งว่าได้เปิดบริการฐานข้อมูลรายชื่อวารสารอิเล็กทรอนิกส์ภาษาต่างประเทศ หรือ Directory of E-journals ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นบทความจาก e-journals ต่างๆ จาก 19 ฐานที่หอสมุดมีให้บริการ ลองเข้าไปดูที่ http://doej.oas.psu.ac.th ลองเข้าไปดูแล้วรู้สึกกิ๊บเก่ยูเรก้าทีเดียว ต้องขอบคุณกับความช่างคิดของบรรณารักษ์กับงานไอทีที่นั่น
ส่วนตัวเราเห็นแล้วประการแรกคือคงต้องเข้าไปทำ link ต่อจากนั้นคงต้องขอเข้าไปเรียนรู้กับน้องๆ ที่นั่นบ้าง เพราะดูเอาจริงเอาจังกัน มีผลผลิตมาให้ใช้ตลอดเวลา
และไหนๆ เราทำงานกันเป็นเครือข่ายแล้วโปรแกรมที่ว่าน่าจะไปขอรับทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการฯ เพื่อให้ทุกแห่งได้ใช้ จึงเสนอท่านพี่ไป  อาทิตย์ก่อนมีประชุมคณะกรรมฝ่ายวารสาร ไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไร แต่ในฐานะงานบริการแล้วคิดว่าน่าจะมีคุณประโยชน์มากๆๆ
พอเห็นรายชื่อวารสารทั้งหนึ่งร้อย ก็เลยมาคิดต่อว่าไอ้ที่ขะมักเขม้นทำกันอยู่ รวมทั้งที่กำลังจะรวบรวม หากเอามารวมๆ ไว้ด้วยกันแล้วสร้างให้เป็น A-Z หรือ ก-ฮ ท่าทางจะไม่เลว เพราะจะได้รู้แจ้งเห็นจริงไปเลยว่าสารพัด e-journals อยู่ที่ไหน มีชื่อใดบ้าง ดีกว่าไปงกๆ เิงิ่นๆ ตอบกันไม่ถูก หากันไม่เจอ….
ระหว่างที่ไม่มีคำตอบจึงขอให้น้องเอ๋ทำ  link ส่วนพวกเราน่าจะเข้าไปทดลองใช้
หากยังไม่มีคำตอบจากใครๆ แล้ว งานก็คงเข้าใครล่ะทีนี้… อิอิ…คำตอบครือใครคิดคนนั้นก็ทำกันปายยยยยย… จริงหรือป่าวหว่า

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร