ตุง และตาข่ายดักฝัน

เมื่อวานน้องอ้อมาเล่าเรื่องการเตรียมงานองค์พระฯ ให้ฟัง โดยบอกว่าจะทำนิทรรศการเล็กๆเรือ่ง “ตุง” รวมถึงการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวโยง และเล่าว่าหลังจากไปค้นคว้าแล้วพบว่า “พวงมโหตร” ทางเหนือเรียกว่า “ตุงไส้หมู”
กำลังจะเล่่าพอดีว่าเมื่อวันหยุดที่ผ่านมาน้องสาวแต่งงานและมีการฟ้อน “ตุง” ให้แขกชม ซึ่งช่างฟ้อนถือพวงมโหตรออกไป แต่มีผู้อธิบายว่าทางเหนือหรือไทยวนเรียกว่า “ตุง” ส่วนภาคกลางเรียกว่า “พวงมโหตร” จึงได้รูปประกอบนิทรรศการพอดิบพอดี
เมื่อปีที่แล้วหลานชายที่กระุทุ่มแบนบวช ที่งานมีการตกแต่งด้้วย “พวงมโหตร” แบบมโหฬารจึงถ่ายรูปเก็บไว้
“พวงมโหตร” มาฮิตในหมู่พวกเรา เนื่องจากซ้อดวงกับน้องชัยเกิดอาการมันมือลองๆ รำลึกอดีตจึงตัดๆ เอีะ! ได้ผลแฮะเพราะในเมืองไม่คอ่ยจะได้เห็น ต้องไปตามต่างจังหวัด เด็กจึงชอบ พอเด็กชอบพวกเราก็เลยชอบ เพราะงานแบบนี้นอกจากอนุรักษ์มรดกไทยแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิที่ดีด้วย
รูปต่างๆ ที่สะสมไว้จึงมีแบบหลากหลาย เป็นคลังให้เพื่อนฝูงไปใช้งานกัน ว่าจะปล้ำกับเรื่องคลังภาพยังไม่รู้เลยว่าจะสำเร็จเมื่อไร แต่ตอนนี้หากใครอยากรู้ว่ามีอะไรบ้างก็มาดูได้ แม้จะไม่สวยก็ไปแต่งภาพเอาเองแล้วกัน เพราะมีเครื่องมือทั้ง photoshop Gimp หรือ PhoScape
แล้วน้องอ้อก็เล่าต่อมา Mr.V แนะนำเรื่องตัวดักฝัน ที่เป็นความเชื่อของอินเดียแดง ว่าน่าจะเข้าข่ายประเภทเครื่องแขวน …. บอกไปว่าที่บ้านก็มีสิ่งนี้ด้วย
ตาข่ายดักฝัน หรือ Dreamcatcher นี้ได้ความรู้ครั้งแรกจากคุณผู้ชายที่บ้านที่ไป ตปท. แล้วมีคนฝากให้ซื้อ โดยไม่รู้ว่าคืออะไร แต่พอหอบกลับมาเล่าให้ฟังว่าฝรั่งที่บริษัทตื่นเต้นกันใหญ่ จึงรู้เรื่องว่าคืออะไร มีไว้ทำไม ในที่สุดเหลือกลับบ้านสองอัน แต่ปัจจุบันเหลืออยู่หนึ่ง อีกหนึ่งไม่ทราบว่าไปทิ้งไว้ที่ไหน ตอนหลังตัวเองมีโอกาสไปสนามบินจึงเห็นวางขายเป็นของที่ระลึกอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ซื้อเพราะมีแล้ว
ตาข่ายดักฝันเป็นเครื่องรางมักแขวนไว้ที่ห้องนอน เป็นความเชื่อของอินเดียแดง หากสังเกตดูในหนังฝรั่งจะมีให้เห็นบ้างเหมือนกัน ประกอบไปด้วยสามสิ่งคือ ใยแมงมุม ขนนก และลูกปัด เมื่อเราแขวนไว้เวลากลางคืนเจ้าตัวตาข่ายที่ทำเป็นใยแมงมุมจะดักฝัน โดยที่ฝันร้ายจะถูกลูกปัดดักกันไว้ไม่ให้ผ่านเข้าไป และขนนกทำหน้าที่ส่งความฝันดีๆ ไปยังห้องนอน
ทั้งหมดเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่มีอยู่ในทุกชนชาติ ซึ่งรู้ไว้ใช่ว่า และไม่เชื่ออย่าลบหลู่
วันนี้จึงนำมาเป็นตัวอย่างให้ผู้มีฝีมือทั้งหลายไปลองทำดู และสัมผัสของจริงว่าหน้าตาเป็นเช่นไร ถึงในเว็บจะมีสอนแต่หากได้ของจริงมาเป็นต้นแบบก็จะเสริมความเข้าใจยิ่งขึ้น

การทำงานที่เริ่มต้นเพื่อระดมความคิดเห็น ช่วยเสริม เพิ่ม เติมเนิ้อหา เป็นสิ่งที่งดงามที่เป็นพลังให้พวกเราทำงานกันอย่างมีความสุข
การคิดและสร้างเนื้อหาให้ห้องสมุดสมกับเป็นแหล่งอ้างอิง เป็น reference library จริงๆ พวกเราทุกคนสมารถทำได้ อย่างเรื่องนี้อาจทำต่อยอดถึง “ธง” ที่ใช้กันในหลายๆ เรื่องๆ เช่น การชิงธงของการแข่งเรื่อง การแห่ธงของคนไทยเชื้อสายจีน  หรือเรื่อง “ธง” คนไทยเชื้อสายมอญ ตุงของไทยยวน ฯลฯ รวมถึงความเชื่อของตาข่ายดักฝัน ที่อาจนำไปเชื่อมโยงกับ “เฉลว” หรือ “ตะเหลว” ที่รูปร่างและการนำไปใช้คล้ายคลึงกัน
การสร้างงานและการคิดต่อที่ไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้ได้คำตอบ ทำให้เราอ่านมากขึ้น ค้นมากขึ้น และเขียนมากขึ้น ….สนุกดีค่ะ

5 thoughts on “ตุง และตาข่ายดักฝัน

  • บ้านของฉันก็เรียกว่า ตุง ฉันเคยตัดเป็นตอนเรียนมัธยม ครูที่โรงเรียนสอนเป็นงานศิลปะ จำไม่ได้ต้องฟ้นๆๆๆเท่านั้น จะใช้ในวันปีใหม่ไทย สงกรานต์ ปักที่เจดีย์ทรายที่วัด นำไปวัดตอนเช้า ก่อนเข้าโบสถ์ก็ปักตุงนี้ไว้ ปักรวมกับตุงปีเกิดของตนเองด้วยล่ะ ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ ขอบคุณนะที่นำมาเขียนให้อ่านกัน

  • ในกิจกรรมโลกของหนูก็ได้นำเสนออีกรูปแบบหนึ่ง เด็กๆให้ความสนใจมาก แต่ไร้ผู้ใหญ่ที่สนใจอยากจะทำ

  • ก็เป็น “โลกของหนู” ไงคะ ครั้งต่อไปคงต้องบอกว่า “โลกของหนู โลกของใครๆในโลกนี้” เราส่งเสริมเด็กซึ่งต่อไปเขาก็เป็นผู้ใหญ่ และสิ่งพวกนี้ก็จะติดตัวเขาไป เป็นงานสืบสานมิให้สูญหายค่ะ

  • พวกเราชาวหอสมุดใครอยากตัดตุงเป็นขอเชิญทีบูธหอสมุดได้เลย พบกันวันที่ 4 พ.ย.(หรือวันอื่นที่ดวงอยู่บูธ) สองเท้าสองมือย่างก้าวเข้าบูธเราเลย รับรองตัดเป็นแน่มีอุปกรณ์ให้พร้อม เพราะซ้อดวงเองก็เรียนมาจาก อ.วิชัย(ร.ร.สาธิต)เมื่อปีที่แล้วนี่เอง ผลพลอยได้ตอนงานบวชลูกชายเลยตกแต่งด้วยตุงด้วยฝีมือของแม่นาคเอง(ไม่ใช่แม่นาคพระขโนงนะ๊จะ๊)

  • ตุง กระทงและขนมเทียนของซ้อดวงจะมาแนวเดียวกันคือเรียวยาวสวย โดยเฉพาะกระทง ส่วนของข้าพเจ้าทำทีไรจะออกไปทางสั้นเตี้ยและกว้าง ไม่รู้ว่ารูปร่างมีอิทธิพลหรือปล่าว ทำทีไรพี่ดวงจะบอกว่า ของเธอเป็นอะไรไปน่ะทำไมมันเตี้ยๆ ป้อมๆ งั้นฮึ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร