ว่าด้วยอนาคต

เมื่อวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมาดิฉันได้ไปอบรมและประชุม ประชุมวิชาการประจำปี TK Forum 2018 แต่จะขอเล่าเรื่องไปส่วนไปสัมมนาก่อนเพราะกำลังสนุกสนานกับการคิดถึงอนาคต เรื่องที่จะเล่าเป็นการบรรยายของ Steve O’Connor เรื่อง Library Management in Disruptive Times-Skill and Knowledge for an Uncertain Future วิทยากรมาจากมหาวิทยาลัยชาร์ลสจวร์ต ประเทศออสเตรเลีย เป็นบรรณาธิการวารสาร Library Management เป็นผู้เขียนและบรรณาธิการหนังสือเรื่อง “Library Management in Disruptive Times” มีเอกสารให้อ่านได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/short_steve/Steve และมีการสรุปเรื่องราว/จับประเด็นเป็นรูปภาพประกอบ (Visual Story Teller)ด้วยการวาดสดชนิดพูดปั้บ เสร็จปุ๊บให้ได้ถ่ายรูปนำไปใช้กัน ดิฉันเคยพบการทำแบบนี้กับการสัมมนาของต่างชาติ ครั้งนี้เป็นงานของคนไทยจึงรู้สึกดีใจ ลองชมผลงานได้ที่ https://www.picturestalk.net/
 
Steve ตั้งชื่อบทความของเขาเป็นคำถามแบบรำพึงรำพันว่า How many futures do we have in an era of Disruption?
: The future isn’t what it used to be! ในบทนำของเขาได้นำคำพูดของ Marshall McLuhan ที่บอกว่า “Our Age of Anxiety is, in great part, the result of trying to do today’s job with yesterday’s tools and yesterday’s concepts” ตามไปที่ลิงค์บอกว่านำมาจากที่นี่ https://www.brainyquote.com/authors/marshall_mcluhan
 
ก็จริงแฮะเพราะความกลัวเราจึงมักหาเหตุผลให้ตนเองอยู่ตลอดเวลาให้คลายความวิตก อะไรจะดีไปกว่าการพูดปลุกปลอบใจตนเองหรือคนข้างๆให้เห็นคล้อยตามไปกัน และจะยินดียิ่งหากมีหลายๆ คนนั้นมีอาการเหมือนเรา มีเพื่อนจึงไม่เหงา เช่น คนกลัวผี มักอยู่รวมกลุ่ม แต่ร้อยทั้งร้อยที่เราเห็นจากหนังไทยคือยามใดที่ผีมาผู้คนต่างก็แตกกระเจิงเพื่อวิ่งหนีเอาตัวรอด และตัดภาพไปยังพระเอกหรือนางเอกที่ยืนหยัด ยึดมั่นในหลักธรรม ส่งต่อความรับรู้และพร้อมก้าวให้พ้น
 
McLuhan เป็นนักอนาคตศาสตร์ ในหนังสือของเขาเรื่อง Understanding Media : The Extensions of Man (เลขเรียก P90M3) พิมพ์เมื่อปี 1964 ที่ปกหลังบอกว่าหนังสือนี้มีคำถามให้ขบคิดอยู่ 2 ประการคือ what are communication and how do communications affect mankind? วงการสื่อสารมวลชนบอกว่าบทแรกของหนังสือคือ “The Medium is the Message”  หรือ “เพียงแค่ตัวสื่อก็เป็นสารแล้ว” เป็นวรรคทอง ซึ่งมีผู้อธิบายไว้ว่า แม้ในแบบจำลองการสื่อสารพื้นฐานที่คุ้นเคยบอกถึงองค์ประกอบการการสื่อสารว่าต้องมีอย่างน้อย 4 อย่าง คือ ผู้ส่งสาร (Sender) สาร (Massage) สื่อ (Medium) และผู้รับสาร (Reciever) (ดิฉันเคยท่อง) โดยสื่อนั้นจะทำหน้าที่เป็นช่องทางในการส่งและลำเลียงสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร แต่สำหรับ McLuhan สื่อหาได้ทำหน้าที่เป็นเพียงช่องทางไม่ แต่ยังส่งผลถึงตัวเนื้อหาสาร รวมถึงตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารอีกด้วย หากเทคโนโลยีสื่อเปลี่ยนไปแล้ว ลักษณะของการสื่อสารก็จะเปลี่ยนตาม และท้ายที่สุดก็จะส่งให้ในระดับสังคมเปลี่ยนไปด้วย และทิ้งคำถามไว้ท้ายบทความว่า “เราจะรับมือกับความ “สิ่งใหม่ๆ” ที่จะเข้ามาในอนาคตนี้อย่างไร” (https://prachatai.com/journal/2011/03/33331)  ซึ่งเหมือนตัวเราในขณะนี้ ส่วนดิฉันอ่านแค่สารบัญและค่อยๆ เพียรทำความเข้าใจด้วยภาษาไม่ได้แข็งแรงนัก จึงต้องทำงานหนัก
 
media
 
หนังสือของ McLuhan อีกเล่มหนึ่งชื่อว่า The Global Village: transformations in world life and media in the 21st century  เลขเรียก P96.T42 M356 1989 สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ ผู้เขียนเรื่อง ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายสื่อใหม่ โดยบอกว่าในหนังสือมีคำว่า “สังคมข่าวสาร” (Information Society) เป็นครั้งแรก อาจถือเป็นครั้งแรกที่จุดประกายแก่นักวิชาการสื่อสารมวลชนทั่วโลกให้หันมาสนใจทำความเข้าใจกับการสื่อสารไร้พรมแดนนับแต่บัดนั้น จะเห็นได้ว่าอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2512 และประมาณปี พ.ศ.2530 ขณะที่นักวิชาการคนไทยได้เริ่มนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทยนับเป็นเวลาไล่เลี่ยกับการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้  ที่ http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2427:2011-05-18-07-28-47&catid=46:academic  เมื่อตั้งใจมาทำงานในห้องสมุดที่เต็มไปด้วย “สาร” เราต้องหา “สาระ” ให้กับตัวเองเสมอ
 
ย้อนกลับไปที่การสัมมนา Steve  ได้พูดถึงสิ่งที่ห้องสมุดต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง การปรับตัวเพื่อทำความเข้าใจอนาคต ซึ่งเป้าหมายกับพันธกิจที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน ไม่สามารถนำไปปรับใช้กับอนาคตได้อย่างทันท่วงที เพราะเรามักถูกแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา หรือที่วิทยากรเรียกว่า Five Principles of Disruption ได้แก่ 1) Companies depend on customers and investors for resources 2) Small markets do not solve growth needs of large companies 3)  Markets that do not exist cannot be analyzed 4) Organization’s capabilities define its disabilities และ 5) Technology supply may not equal market demand ประการต่อไปคือเรื่องการวางแผนด้วยสถานการณ์จําลอง (scenario planning) เพื่อเป็นเครื่องมือสําหรับจินตนาการแนวทางใหม่ๆ ในการดําเนินงานและกําหนดรูปลักษณ์ห้องสมุด  แล้วเราต้องรู้จักการสร้างสถานการณ์จําลองในเรื่องที่เราคิดว่าเราจะเป็น เช่น เป็น Learning Hub, Meeting Place และประการที่สามคือเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาเชิงวิชาชีพเพื่อตอบรับกับอนาคตซึ่งวิธีการปฏิบัติงานในวันนี้จะมิใช่วิธีการที่เราจะใช้ปฏิบัติงานในภายหน้าได้เสมอไป การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของห้องสมุด คือการก้าวผ่านจากบทบาทผู้รักษาหนังสือและวารสารสู่บทบาทการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งการสร้างเสริมการรู้หนังสือไปสู่ผู้ใช้บริการ ซึ่งคนทำงานต้องมีทักษะ มีการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อทำงาน การบริหารจัดการปัจจุบันและการสร้างหนทางสู่อนาคต อ่านแล้วงงๆ ดูรูปดีกว่าค่า  😛 
 
draw_steve_show (1)
 
หากมองอนาคตแล้วอยากทำอะไรๆ แนะนำให้ไปอ่านบทความของ Steve O’Conner and Lai-chong Au เรื่อง Steering a future through scenarios: into the academics library of the future ใน J. of Academic Librarianship ปี 2009 อ่านแล้วคุยกัน เสนอไอเดียปรับแต่งให้เข้ากับเรา เริ่มตั้งแต่วินาทีนี้เมื่อไรก็สบาย 🙂 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร