เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เชิญท่านอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ มาบรรยายเรื่องการปรับโครงสร้างส่วนงานภายหลังการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ชื่องานออกจะยาวๆสักหน่อย แต่พวกเราจะพูดกันแบบสั้นๆว่า “ปรับโครงสร้าง” จุดมุ่งหมายคือให้ทุกคนได้เข้าใจไปในทิศทางเดียว เพราะถึงเวลาแล้วที่จะต้องเกิดขึ้นจริง
เพราะก่อนหน้านี้คงได้ฟังจากหลายๆฝ่ายมากหน้าหลายตา บางครั้งอาจเก็บความในส่วนที่ตนเองพึงใจ ซึ่งแล้วแต่ว่ามักชอบแบบไหน ดีกรีของการตื่นตัวจึงแตกต่างกัน ครั้งนี้จึงเป็นการปรับให้อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะมีตัวอย่างที่ใกล้ตัวและเป็นจริง
ดิฉันติดใจกับสไลด์ของท่านอธิการอยู่สองเรื่องคือ McKensey Global Institute ในเรื่อง Twelve Potential Economiccally Disruptive Technologies ที่ให้ความหมายในภาษาไทยว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก และดิฉันลองคิดเล่นๆ เพราะวัยขนาดนี้ที่บอกว่าไม่จริง ก็ยังเป็นจริง เป็นไปไม่ได้หรอก ก็เป็นไปแล้ว ฯลฯ เราอาจพูดให้สวยให้หล่อฟังแบบเพลินๆ ประโลมจิตใจชั่วครั้งชั่วคราวได้ แต่ไม่ใช่เชื่ออย่างจริงจังและเลือกฟังในสิ่งที่คิดว่าเราอยู่แบบปรกติสุขแบบปัจจุบัน
มาดูกันว่าเจ้า 12 นี้ เป็นอย่างไร หลายเรื่องในบางที่ บางแห่งในโลกนี้เกิดขึ้นแล้ว หลายเรื่องยังอยู่ในห้องทดลอง
1. Mobile internet เรามี “แอพ” อะไรหรือยัง
2. Automation of knowledge work งานของเราเทคโนโลยีมาทำแทนได้ไหม ดิฉันนึกถึงคำว่า Deep reference librarian และคำว่า reference librarian ไม่ใช่หมายถึงคือคนที่ทำหน้าที่นี้ในปัจจุบัน
3. Internet of Things (IOT) เมื่อทุกสิ่งในห้องสมุดมี IP address หรือมีเซ็นเซอร์ และให้คำตอบกับเรา เก้าอี้ตัวนี้มีคนนั่งกี่คน หรือถังขยะเต็มแล้ว ที่ห้องสมุด มข.ก็ทำแล้ว หรือต้นไม่นี้ควรใส่ปุ๋ยอะไรบ้าง ความจริงเรื่องนี้ใกล้ตัวมากเราอาจลืม เช่น ไฟรอบอาคารก็เปิดเองได้ๆ
4. Advanced robotics หุ่นยนต์อาจทำงานหลายอย่างแทนเราได้
5. Cloud technology เรื่องนี้มีมานานหลายปีและเราก็ใช้อยู่อยู่
6. Autonomous vehicles เมื่อ RFID มา การจัดชั้นหนังสือหรือการเดินหาหนังสืออาจใช้เครื่องยนต์กลไกเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน ลองอ่าน
http://iwing.cpe.ku.ac.th/?page_id=1058
7. Next-generation genomics เทคโนโลยีพันธุกรรม ไม่แน่นะอาจมีการเก็บยีนส์หรือตรวจสอบยีนส์ เพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่องค์กรคาดหวัง
8. Next-generation storage อนาคตเราอาจต้องมีสถานีโซลาเซลสำหรับเครื่องยนต์กลไกที่จะมีมากขึ้นๆ
9. 3D printing ในอนาคตเมื่อต้องใช้เครื่องยนต์กลไกมาก การพิมพ์ระบบ 3 มิติอาจผลิตขึ้นใช้เอง
10. Advanced materials การผลิตวัสดุใหม่ๆ เช่น กระจก หรือผ้าม่านอาจจะทำความสะอาดตัวเองได้
11. Advanced oil and gas exploration and recovery เรื่องนี้คิดไม่ออกว่าเราจะเกี่ยวไหม
12. Renewable electricity เรื่องนี้คงรอใช้
เราไม่รู้ว่าเรื่องราวของความเป็น “คน” อนาคตมองกันลึกซึ้งแบบไหน อาจารย์ท่านหนึ่งสะพรึงกับอนาคต ที่หลักสูตรเปลี่ยนไป เด็กแสวงหาความรู้หรือเรียนจากที่ต่างๆ โดยไม่เข้ามหาวิทยาลัยได้ ฯลฯ ถามดิฉันว่าเมื่อถึงตอนนั้นมหาวิทยาลัยจะสอนอะไร? ดิฉันบอกว่าเมื่อสุดโต่งกันขนาดนั้นมหาวิทยาลัยคงต้องเรียนวิชา “ปรัชญา” เพราะรักที่เพลโตบอกว่า…. (รูปภาพจาก
https://www.brainyquote.com/authors/plato

ขอย้อนกลับไปที่บริษัท McKensey เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ส่วน McKensey Global Institute รับผิดชอบงานด้านการวิจัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และภูมิศาสตร์การเมือง ในประเทศไทย แมคคินซีย์มีบทบาทอย่างสูงในช่วงหลังวิกฤติการณ์ปี 2540 ในการให้คำปรึกษาในการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย ที่ต้องการปรับตัวเองเข้ามาตรฐานโลกและแสวงหาเงินทุนจากตลาดโลก (
http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=614) นอกจากนี้แล้ว McKensey ยังมีโมเดลในการบริหารที่เรียกว่า 7s McKinsey ซึ่งมักเห็นจากวิทยานิพนธ์ทางด้านการบริหารซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าแนวคิดนี้น่าจะทำให้เราได้ตามรอยความเป็นไปของมหาวิทยาลัยได้ ลองอ่านดูเป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ
1. Strategy คงต้องมีคำถามย้อนกลับไปว่ารู้ไหมว่ายุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมีอะไรบ้าง หน่วยงานของเราสนับสนุนส่วนใด ฝ่ายของเราต้องทำตรงไหน บทบาทของตัวเราที่เป็นผู้ลงมือทำ ทุกคนต้องทำให้มากกว่าที่คาดหวังเพราะหากเราอยู่กับที่แต่คู่แข่งของเราก้าว สุดท้ายคือเราล้าหลัง เราจะรับมืออย่างไรกับลูกค้าของเรา และเรารู้จักพวกเขามากน้อยแค่ไหน?
2. Structure โครงสร้างองค์กร สิ่งที่มักพูดถึงในเรื่องนี้คือขนาดการควบคุม ลำดับชั้น กิจกรรมของงานที่ซ้ำ/ส่งต่อ เส้นทางการสื่อสาร เป็นสิ่งที่ต้องนำไปพิจารณาไปสู่การรวมหรือและการกระจาย ซึ่งผลสุดท้ายอาจถูกใจและไม่ถูกใจ
3. Style รูปแบบการบริหารจัดการ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง ที่เป็นผู้นำในการพาทีมออกไปแข่งขันกับโลก ส่วนตัวมีความเห้นว่าผู้บริหารทุกคนต้องทำงานหนัก มีความเข้มขึ้นมากขึ้นๆตามปีที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบและตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง 4. System เป็นการวิเคราะห์ถึงระบบงานคนทำงาน/องค์กรที่ต้องทำให้สำเร็จในทุกๆเรื่อง เช่น ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร ระบบการประเมิน ระบบการทำงานในส่วนที่เป็นวิชาชีพ ฯลฯ
5. Staff หมายถึง คนทำงานตั้งแต่รับเข้าจนถึงวันที่จากไป การวางแผนด้านกำลังคน การพัฒนาบุคลากร รวมถึงการวิเคราะห์อัตรากำลังในอนาคต ฯลฯ ท่านอธิการบดีมีการกล่าวถึง ระบบ E-HR ที่จะมีการใช้ในเร็วๆนี้
6. Skill ทักษะหรือความเชี่ยวชาญขององค์กร เราสามารถนำภารกิจหลักออกไปบริการผู้ใช้ได้มากมายขนาดไหน และเราอยู่อย่างไรกับภารกิจที่ทับซ้อนในมหาวิทยาลัย เรามีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านใดที่หุ่นยนต์หรือคนอื่นๆ ทำไม่ได้ เรามีความเร็วต่อการรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงขนาดไหน รวมทั้งความสามารถในการทำงานแบบหลายๆ อย่างและเห็นในเชิงประจักษ์ว่าทำได้จริง ปัจจุบันมีการตีความว่าบรรณารักษ์ต้องทำได้ให้งานในฟากบริการและฝั่งวิเคราะห์ โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าเป็นการตีความที่จำกัดไปปัจจุบันอาจใช้ได้ แต่ในอนาคตการตีความต้องกว้างกว่านี้เพราะทุกคนเรียนมาในหลักสูตร/ตำราที่ไม่ต่างกัน สิ่งที่จะต่างกันคือความสามารถในการนำศาสตร์อื่นๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในศาสตร์ที่เราได้ศึกษา ซึ่งสำนักหอสมุดกลางมีแผนพัฒนารายบุคคลรองรับเพื่อพัฒนาความสามารถให้บุคลากรมีความเป็น multi
7. Shared Value ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราจะเลือกใช้ชีวิตให้มีความสมดุลย์อย่างไรที่ไม่ให้ความเปลี่ยนแปลงมาทำร้ายพวกเรา เป็นเรืองที่ต้องช่วยกันเลือกระหว่าง 1) รวมกันอยู่ หรือ 2) รวมกันตายหมู่
ก่อนที่จะถึงวันที่ 28 ไม่นานมานี้ ดิฉันไปฟังการสัมมนาของ TK Forum เรื่อง Library Management in Disruptive Times-Skill and Knowledge for an Uncertain Future โดย Steve O’Connor พอพบว่าคำว่า Disrupt จึงทำให้สะพรึง 😛