บริการเชิงรุก VS ประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันตรวจประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง คณะกรรมการประเมินฯ ได้เชิญหัวหน้าหอสมุดทั้งสามเข้าไปให้ความเห็นเรื่องบริการเชิงรุก ซึ่งกรรมการประสงค์จะทราบว่าเห็นตรงกันหรือไม่ โดยกรรมการให้แจ้งว่าให้ชี้ไปเลยว่าบริการใดใช่ หรือไม่ใช่ เพราะบางเรื่องไม่น่าจะใช่งานบริการเชิงรุก เป็นการประชาสัมพันธ์เสียมากกว่า

ก่อนเข้ากรรมการประกันคุณภาพของสำนักหอสมุด บอกว่าคำถามอยู่ที่หน้า 92 ของรายงานการประเมินคุณภาพภายใน ข้อความเป็นไปตามรูปภาพด้านล่าง
11940227_10205924280124227_1691114131_n
ดิฉันอ่านทบทวนอีกครั้ง แล้วตอบไปว่า…. (ก่อนอ่านบรรทัดต่อไป โปรดอ่านเอกสารแล้วตอบตัวเองก่อน) แตรน แตร่น แตร๊น…
บริการเชิงรุกของเรามีทั้งหมด 3 บริการตามที่เสนอไปคือ 1) Customer delight 2) The Link@SNC และ 3) Literature searching for your research (On tour) โดยมีหลักการคิดคือ

  1. Customer delight เป็นบริการที่คำนึงถึงผู้ใช้ทั่วๆไป แบบ on earth เจ้าภาพหลักที่อยู่ที่บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
  2. The Link@SNC เป็นการคำนึงถึงผู้ใช้ที่อยู่บนโลกของ on line ซึ่งมีกิจกรรมหาข้อมูลจากผู้ใช้มีวิธีการต่างๆ เมื่อรวบรวมแล้วจะนำบริการไว้บนเว็บไซต์ให้มากที่สุด
  3. Literature searching for your research (On tour) เน้นหนักไปที่การรู้สารสนเทศ

ส่วนกิจกรรมต่างๆ นั้นเป็นทั้งเรื่องของบริการเชิงรุก และประชาสัมพันธ์เชิงรุกนั้นจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป
และเรื่องนี้จำเป็นที่จะต้อง “ระดมสมอง” กันต่อไป เพราะอาจมีคำตอบที่ดีกว่านี้ กว้างไกลกว่า หรือชัดเจนกว่า
เขียนแล้วนึกถึง EdPEx ที่ได้เขียนไว้ที่นี่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=33753
เลยย้อนกลับไปอ่าน (ร่างฉบับที่ 2) เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดาเนินการที่เป็นเลิศ 2556-2557  จัดทำโดย สานักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในหมวดของการมุ่งเน้นลูกค้า อธิบายไว้ว่า “เป็นหมวดที่ถามถึงวิธีการที่สถาบันสร้างความผูกพันกับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น เพื่อความสาเร็จด้านตลาดในระยะยาว รวมทั้งวิธีการที่สถาบันรับฟังเสียงของลูกค้าสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และใช้สารสนเทศดังกล่าวเพื่อปรับปรุงและค้นหาโอกาสในการสร้างนวัตกรรม”  โปรดอ่านฉบับเต็มได้ที่ http://www.regweb.registrar.ku.ac.th/uploads/qa_ind1.pdf
 
ในการสร้างนวัตกรรมในที่นี้ดิฉันแปลความหมายว่าหมายถึง นวัตกรรมบริการ ที่ควรเป็นบริการเชิงรุกที่ตรงกับภารกิจหลักของห้องสมุด
ในมาตรฐานการปฏิบัติงานกระบวนการหลักห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ของข่ายงานมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค หรือที่พวกเราเรียกสั้นๆว่า SIPOC เป็นการบอกกระบวนการทำงานที่อยู่ในลักษณะของงานประจำ ที่บอกว่าแนวทางที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
ในองค์ประกอบที่ 6 ภารกิจสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงาน เป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนภารกิจหลักของห้องสมุด ซึ่งคณะกรรมการนำมาจากเกณฑ์การประกันคุณภาพของ PULINET จำนวน 2 ตัวบ่งชี้คือ จำนวนบริการเชิงรุก และ จำนวนบริการอิเล็กทรอนิกส์
จำนวนเป็นสิ่งที่นับ 1 2 3 4 และ 5
แต่กว่าจะนับได้แบบนั้น เราคงต้องไปทบทวนสิ่งที่มีอยู่เดิมว่าครบตามวงจรของ PDCA หรือไม่ รวมทั้งคิดสิ่งใหม่ที่เป็นสิ่งที่ “รุก”
เขียนก็ “งง” อ่านก็คง “งง” แต่เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในโลกของการแข่งขัน ในโลกที่ระดับของคุณภาพวัดกันที่ตัวเลขที่เกิดจากหลักฐาน  ในโลกที่ล้วนเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ที่เราพึงต้องทำตาม
การทำใจให้ยอมรับ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองยังคงเป็นสิ่งที่คลาสสิคและสร้างพื้นที่ให้กับทุกคนยืนได้อย่างเข้มแข็ง
แต่ไม่ใช้แข็งทื่อเพราะอาจโค่นหรือหักไปง่ายๆ ก็เป็นไปได้  😛
เบื้องต้นอยากให้พวกเราอ่านฉบันนี้ก่อนค่ะ http://www.qa.su.ac.th/DATA/qa/qa2555/EdPEx.pdf

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร