นิยายมีน้อย ?

ก่อนที่จะกลับเมืองไทยดิฉันได้รับการบอกกล่าวจากแบบสอบถามเรื่องความพึงพอใจครั้งล่าสุด มีผู้แสดงความเห็นว่า “นิยาย”  มีน้อย เล่นเอาต้องโหลดเรื่อง service design มาอ่านจนมึนหัว
พอกลับมาเห็นเรื่องที่คุณใหญ่แจ้งว่างานธุรการได้ดำเนินการให้อย่างไร หลังจากที่ได้ทราบเรื่องราวจากแบบสอบถามและงานธุรการมีส่วนเกี่ยวข้อง ยังบอกว่าแหม่เร็วจัง แก้ปัญหาไปแล้ว 😛
ส่วนดิฉันยังงงๆ กับเนื้อหาว่าไหงมาตกอยู่ที่งานจัดหาฯ บวกกับอ่านเรื่อง service design มากไป  บวกกับเรื่องรอบๆตัวที่ไม่คุ้นชิน สมองจึงๆวนๆ เวียนๆ ดิฉันจึงวางเรื่องราวที่เป็นเอกสารเอาไว้ก่อน เพราะภารกิจบุ๊คแฟร์ ส่วนความคิดนั้นจับวางให้นิ่งๆ ไม่ได้ จึงคิดโน่นนี่ไปเรื่อย
วันก่อนมีตั้งวงคุยกัน ดิฉันได้พูดเรื่องการรู้จักงานของตัวเองให้ทะลุทะลวง และตั้งคำถามว่า  ทำไมเราไม่มามองในมุมกลับว่า ทำไมเราไม่มาแนะนำนวนิยายที่มีอยู่ในห้องสมุด ที่มีอยู่หลากหลายประเภท ทั้งคอลเลคชัน “นวนิยาย” หรือ นวนิยายแปลที่ก็เป็นนวนิยายอีกประเภทหนึ่ง ที่แยกอยู่ตามหมวดหมู่ PL PQ PR PS PT PZ เพื่อผู้ที่สนใจอ่านจะได้รู้จัก “นวนิยาย”  ในหลากหลายมุมมอง หลากหลายประเภท (http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=48181)
ขอบคุณน้องอ้อที่เก็บความอย่างดีงามให้นะคะ
เรื่องนิยายจึงไปจบที่ “แฮชแทก” และทำงานตามอารมณ์ไม่ต่างกับการขึ้นสเตตัสในเฟสส่วนตัว  โดยมีพี่สุนีย์และน้องๆ เป็นผู้ช่วยหา “พรอพ” ในการนำเสนอผลงาน ด้วยการมองๆ หาแถวๆ โต๊ะรอบๆตัวในฝ่าย
เนื่องจาก “แฮชแทก” เป็นเรื่องของไอที ที่ทำได้คือเฟสบุ๊คส์ เพราะทวิตเตอร์เลิกลากันไปแล้ว อินสตราแกรมไม่มี  Pinterest รอก่อนเดี๋ยวจะแวะไปหา และเป็นการทำงานที่ง่ายและใช้เวลาน้อยที่สุด เท่าๆกับไปเร็วที่สุด
พอขึ้นสเตตัสแล้ว ดิฉันก็จะนั่งรอชมผลงานและเสียงตอบรับจากท่านผู้อ่าน  ใครจะนับจากอะไรไม่ทราบ แต่ดิฉันนับจากจำนวน like 😛
บางสเตตัสมีผู้อ่านเข้ามาเขียนคอมเมนต์ อ่านแล้วทำให้เราทราบและรู้ว่าเราควรต้องพัฒนางานและความคิดของเราอย่างไร หรือบางรูปอาจมีการแชร์อกไป ก็ตามไปอ่านเช่นเดียวกัน  เพื่อเก็บความเห็น อารมณ์ ความรู้สึก และเทรนด์การใช้ภาษาหรือการสื่อสารของผู้อ่าน
หน้าตาของโพสต์ที่ขึ้นในเฟสบุ๊คเป็นแบบนี้ค่ะ
“สาวน้อยหนีรัก” หนังสือเก่ามาก ดูจากรูปลักษณ์ของตัวเล่มแล้วเนื้อหาอาจไม่ถูกยุค จึงแนะนำไปที่นักเขียนคือ “วลัย นะวาระ” เพราะอยากให้คนในรุ่นปัจจุบันได้เรียนรู้ถึงภาษา เนื้อหา วิธีการเขียนของคนในรุ่นเก่า เพื่อให้พวกเขาได้รู้จักและหยิบเปดอ่าน เป็นคลังสติปัญญาต่อไป
Capture4
“เรือนไม้สีเบจ” เรื่องน่ารักๆ หวานๆ เย็นๆ ของน้องมุกกับพี่อาร์ม ดิฉันใช้โทนสีชมพู
Capture3
เรื่องต่อไปคือ “บุรำปรัมปรา” มีกล่าวถึงสุดสาคร จึงหาพรอพที่เป็นเด็กหัวจุกเพราะน่าจะเข้ากัน
Capture2
ส่วนเรื่องล่าสุดที่โพสต์ขึ้นไปคือเรื่อง “ฤดูร้อน…มีดอกไม้” เนื่่องจากช่วงเช้าได้เดินไปรอบๆห้องสมุดฯ เพื่อดูต้นไม่เตรียมสำหรับงานค่ายฯ และเห็นพี่สุนีย์จัดแจกันสวยและสีเข้ากั้นเข้ากันกับปกหนังสือ สิ่งที่บังเอิญคือนิยายเล่มนี้เป็นหนังสือที่เด็กอักษรฯ จะต้องอ่าน จึงมีศิษย์เก่าหลายคนพูดคุยถึงเนื้อหา ตามไปอ่านแล้วต้อง “อมยิ้ม ”
และดิฉันจึงยิ้มกว้างๆ กับสิ่งที่ทำ 😛
Capture1
ส่วนที่ยิ้มแล้วมีเสียงหัวเราะประกอบคือ เมื่อวันนี้ 19 มีนาคม 2558 ได้อ่านรายงานผลฉบับจริงพบว่าความคิดเห็นคือ หนังสือจำพวกนิยายไม่ค่อยอัพเดทเท่าไร …
น้อย กับ อัพเดท เกี่ยวกันตรงไหน แบบนี้เค้าเรียกว่าการสื่อสารมี error เล็กน้อย ขรรม 😆
ดั่งนั้นจึงต้องคิดเพิ่มอีกนิดค่ะเพื่อให้เกี่ยวข้องกัน
สนุกดี
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร