ฟาย เอ๋ย Firefox

ช่วงนี้เป็นวิทยากรอบรมหลักสูตรภายใน 3-4 หลักสูตร และก็ได้คิดและพยามยามออกแบบเนื้อหาในหลักสูตรให้มีเรื่องที่ต่อเนื่องและน่าจะเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับเนื้อหาหลักสูตรอื่นๆ หลักสูตรที่สอนก็คือ Ubuntu , Firefox , การค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และ บริการบน Google เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการประสานเนื้อหาได้ในระดับหนึ่งก็คือเจ้า ฟายฟอกซ์ – Firefox (เว็บบราาวเซอร์จากค่าย Mozilla) เพราะไม่ว่า Ubuntu, Firefox และ Google ต่างมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบแนบแน่น โดยจะเห็นว่าถ้าใช้ Firefox บน Window หน้าแรกที่ปรากฎโฉมก็จะมีสัญลักษณ์ Google และช่องค้นหาข้อมูล หรือถ้าเป็น Web Browser บน Ubuntu หน้าแรกก็จะเป็น สัญลักษณ์ Ubuntu เหนือช่อง Google และยังมีเทคโนโลยที่เกี่ยวข้องเบื้องหลังอีกหลายอย่างที่ทั้ง Ubuntu, Firefox และ Google ได้พัฒนาร่วมกัน โดย Firefox ก็จะเป็นผุ้อยุ่ตรงกลางในการเชื่อมการท่องค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวกับ Google และ Ubuntuและพัฒนาโปรแกรมส่วนเสริมหรือ add-ons ต่างๆ
ส่วนหนึ่งที่ได้สอนในเนื้อหาในการอบรม คือ การค้นหา add-ons หรือโปรแกรมส่วนเสริมที่เกี่ยวข้องกับบริการของ Google ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมส่วนเสริมในการช่วยการสืบค้นข้อมูล ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Wikipedia โดยใช้ add-on หรือโปรแกรมเสริมที่ชื่อ GooglePedia,  การค้นหาและเล่นคลิปวีดีโอบนหน้าผลการค้นหาจาก Google โดย GoogleTube และการจัดการ download VDO จาก YouTube หรือไฟล์มัลติมีเดียอื่นๆด้วย Video Search and Downloader และการค้นหาจากเว็บที่ให้บริการ Search Engine หลายเจ้าพร้อมกัน เช่น

Google@Omgili – Subjective & Objective Search Combined, Umibozu search, Xoost เป็นต้น

เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลที่จากการค้นหาโดยที่แทบจะไม่ต้องพึ่งหรือหาโปรแกรมมาติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เลย แม้กระทั่งการบันทึกการทำงานบนหน้าจอ Desktop หรือ ในพื้นที่ของเว็บบราวเซอร์ไฟร์ฟอกซ์โดยสามารถบันทึกทุกการเคลื่อนไหวและใส่เสียงบรรยายการทำงานไปได้ด้วก็โดยใช้ โปรแกรมเสริมหรือ add-ons ที่ชื่อ Capture Fox ซึ่งสามารถบันทึกออกมาเป็นไฟล์นามสกุล .avi ที่สามารถใช้ Window Media Play เปิดดูได้เลย

ยังมีการเทคโนโลยีของ Firefox ที่เกี่ยวข้องการใช้งานด้านอื่นๆอีกมาก ซึ่งก็ได้ลองคุยกับคุณเอกอนงค์เพื่อให้ทดลองเล่น add-ons แต่ละกลุ่มและแต่ละตัวของ Firefox เพื่อจะได้เห็นภาพของผู้ใช้กับโปรแกรมส่วนเสริมที่จะนำมาใช้ในการทำงานด้านต่างๆ และในขั้นตอนต่างๆของการทำงาน ทำให้สามารถประหยัดและอาจจะเรียบเรียงหรือลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งทำให้การพัฒนาระบบงานต่อไปสามารถเห็นภาพรวมไปในทางเดียวกันโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Open จาก Firefox เป็นตุ๊กตานำทางของทั้งผู้ใชั ผู้ออกแบบและผู้พัฒนา
ในการอบรมอาจจะมีผู้ซักทำว่าทำไม ไม่ใช้เว็บบราวเซอร์ตัวนั้นที่เล่นๆหรือใช้กันอยู่ ก็อยากจะบอกว่าผมขอโอกาสให้ Firefox หน่อยเถอะครับหรือเวลาใช้มันคิดเสียว่าในโลกนี้ไม่มีเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นๆชั่วขณะ หรือทดลองใช้งานใดที่ตัวอื่นทำไม่ได้ ผมคงจะได้เริ่มเขียนถึง tips ของการใช้ Firefox และ add-ons ตัวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป และก็ใครที่ต้องการโปรแกรมเสริมในการจัดการข้อมูล เนื้อหา เกี่ยวกับเรื่องใดก็ลองบอกมา จะได้นำมาค้นหาและทดลองแล้วก็ประยุกต์ใช้ อาจจะเป็นโปรแกรมอื่นๆก็ได้ ในโลก Open Source คงหาได้บ้างไม่มากก็น้อย โปรแกรมบางตัวอาจจะมีขั้นตอนและกระบวนการไม่เหมือนกับที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่เสียค่าใช้จ่ายหรือ freeware อื่นๆ และผลก็อาจจะไม่ใกล้เคียงเท่า แต่โปรแกรม Open Source บางตัว หรือโปรแกรมเสริมใน Firefox ก็ทำอะไรได้เหลือเชื่อในระดับหนึ่ง วงการ Open Source ต้องการอย่างน้อยก็คนช่วยเล่นครับ ไม่เสียตังค์แล้วก็ควรจะช่วยกันเล่นคนทำเค้าจะได้มีกำลังใจที่จะพัฒนาหรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆออกมา โปรแกรมบางตัวมีคนช่วยเล่นจนพัฒนาเป็นเรื่องเป็นราวและใช้กันเป็นที่น่าเชื่อถือและใช้กันในเบื้องหลังการพัฒนาโปรแกรมระบบเว็บระดับโลกจนแม้กระทั่งยักษ์ใหญ่ในวงการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ยังต้องกลัวแล้วก็รีบซื้อไป เช่น MySql ที่ถูกซื้อด้วย Oracle เป็นต้น ที่เล่ามาเพราะอยากจะบอกให้เสียงดังขึ้นมาหน่อยว่าช่วยมาเพิ่มการเล่นโปแกรมแบบ Open Source เช่น Firefox เป็นต้นเพื่อเราจะได้มีโปรแกรมดีๆ เก่งๆใช้ไม่แพ้ โปรแกรมเสียตังค์อื่นๆ
TaKiatShi ไปล่ะ แล้วเจอกัน

One thought on “ฟาย เอ๋ย Firefox

  • ต้องถามสามสาวทรามเชยที่ไปอบรมกับ TakiatShi ว่าเป็นไง รู้แต่ว่ามีคนแชร์การบ้านมาให้เราดูด้วยแหละ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร