โจทย์

เวลาทำงานดิฉันมัก “เล่น” สนุกกับตัวเองด้วยการตั้ง “โจทย์” เพื่อหาคำตอบอย่างสม่ำเสมอด้วยการ “อ่าน” ก่อนที่จะให้โจทย์กับคนที่อยู่แวดล้อม เพราะตามประสบการณ์คือคนที่ได้โจทย์มักมีคำถามกลับเสมอๆ การโต้ตอบระหว่างกัน จะทำให้เราตื่นตัวและมีอรรถรสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ถามว่า “โจทย์” นี้ได้มาจากไหน คำตอบคือได้จากประสบการณ์ในการทำงาน การสังเกต เรียกแบบอินเตอร์ก็น่าจะเทียบเคียงกับ “case study”
ช่วงนี้มีนักศึกษาเข้ามาฝึกงานกับเราพร้อมกันถึง 6 คน ดิฉันจึงให้เด็กคิดโครงการ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เสนอว่า “โจทย์” มากมาย มีอยู่ข้อหนึ่งที่คิดว่าน่าจะมีคุณูปการต่อห้องสมุดของเราในระดับต้นๆ คือ “จะทำอย่างไรกับหนังสือที่ซื้อเข้ามาแล้ว แต่ไม่มีการยืม” และเด็กในเสนอโครงการแบบนี้มาด้วย โจทย์นี้ได้หลังจากที่มาอยู่ฝ่ายวิเคราะห์ฯ เพราะต้องไปซื้อหนังสือทุกเดือนๆ มองเห็นตัวเลขกับความเชื่อมโยงมากมายในจินตนาการเมือคิดถึงเรื่องแบบนี้ ขณะที่เมื่อครั้งไปอยู่ฝ่ายบริการ “โจทย์” คือทำอย่างไรจึงจะมีคนยืมหนังสือมากขึ้นและเห็นหนังสือมากขึ้น จึงเกิดเป็นกิจกรรมและงาน ที่สมัยก่อนถือว่าเป็นกิจกรรมเก๋ๆ แต่กลายเป็นเรื่องธรรมดาในปัจจุบัน
คำว่่าธรรมดาหมายถึง ใครๆเค้าก็ทำกัน เราจะเอาอดีตเมือครั้งรุ่งเรื่องมาเป็นสรณะไม่ได้ เพราะยุคสมัย บริบทรวมทั้งคนรับผิดชอบก็ต่างกัน… โลกของการทำงานไปเร็ว ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เชื่อมโยงในแตละฟากฝั่งจำเป็นต้องมี เกณฑ์ในการพัฒนางานกับการสร้างสวัตกรรมหรือองค์ความรู้ เขียนขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์แบบนี้
เด็กๆ ทั้ง 6 คน ดิฉันให้สมญาว่า “กลุ่มเด็กสร้าง” มองเด็กด้วยความเอ็นดูเพราะถือเป็นเด็กที่ใกล้ชิดกับเราในฐานะที่อยู่ร่วมสถาบันเดียวกัน รับประทานอาหารโรงอาหาร (หม้อ) เดียวกัน จึงพยายามฝึกงานแบบของจริง ไม่ใช่เพียงการเข้ามาทำ “แบบฝึกหัด”
เด็กๆ เมื่อได้โจทย์ไป จึงสร้างมาเป็นโครงการ ซึ่งขณะนี้ยังไม่เห็นโครงการฉบับเต็ม แต่เท่าที่คุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่าจะทำอย่างไร เด็กๆบอกและดิฉันเข้าใจว่า จะนำไปผสมผสานระหว่างหนังสือที่ไม่มีคนยืม กับไปค้นข้อมูลว่านักศึกษาสอบตกวิชาอะไร ไปดู course syllabus ว่าอาจารย์ผู้สอนมีหนังสือนแบมาหรือไม่แล้วไปดูหนังสือที่เกี่ยวข้องแล้วนำมานำเสนอ จะนำหนังสือที่ไม่มีคนยืมลงไปจัดแสดงในห้อง
การโต้ตอบจากดิฉันคือ ใช้เวลาช่วงไหน จะใช้วิชาอะไร ของคณะไหน ใช้พื้นที่ตรงไหน ใครในห้องสมุดเกี่ยวข้องบ้าง สื่อสารกับผู้ใช้บริการอย่างไร ช่วงเวลาที่จะทำจริง และอะไรคือแผนสำรอง
เด็กๆ ช่วยกันนำเสนอความคิดเห็น ข้อจำกัดคือยังติดที่นำเสนอไปในทางวิชาการ บอกเด็กว่า ตอบแบบนั้นในห้องสอบได้คะแนน แต่ในการทำงานมันไม่ใช่ ต้องนำทั้งในฟากของวิชาการมาสนับสนุนฟากของการทำงาน … ปฏิบัติกิริยาที่เห็นคือเด็กๆ จะเรียบรู้ตอบกันเองว่า “ฮึ่ยยยไม่ใช่ต้องเอาแบบทำจริงได้ด้วย” พยายามคิดและพยายามฟังมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับการที่ได้มีโอกาสดูแลพวกเขาในระยะสั้นๆ
บอกกับเด็กๆว่าลักษณะงานของห้องสมุดต้องมีลักษณะของคำว่า “เยอะ” หมายถึงคิดอยู่ตลอดเวลา หากเพียงชั่วขณะจิตที่”แว๊บ” เข้ามาให้เรารู้สึกว่า “อีกแล้ว” “เดิม” “น่าเบื่อ” ฯลฯ นั่นแสดงว่าถึงจัดอิ่มตัวควรต้องทบทวน แต่หากแม้เพียงสัก “แว๊บ” เดียวยังไม่มา สิ่งที่ดีที่สุดคือการ “ฟัง” จากคนรอบข้างแบบไม่เลือกข้าง พยายามหารสชาดของ “อูมามิ” จากสรรพเสียงต่างๆ ออกมาให้ได้
สะสมไปเรื่อยทุกอย่างจะเป็น “คลัง” ข้อมูล ที่พร้อมดึงออกมาใช้
“โจทย์” แบบนี้ไม่มี “จำเลย” แต่มีคนบอกว่าขืนให้ “โจทย์” เยอะ ก็อาจมี “โจทย์” เยอะเป็นเงาตามตัว…. เอวังค่ะ

2 thoughts on “โจทย์

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร