Grey literature
วันนี้จะพามารู้จักทรัพยากรสารสนเทศประเภท Grey literature คือ เอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัด หรือ เอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ จัดได้ว่าเป็นเอกสารที่ค่อนข้างหาได้ยาก ตัวอย่างของ Grey literature เช่น รายงานการศึกษา การสำรวจ วิจัย วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ บทความจากวารสารและหนังสือพิมพ์ จุลสาร ปาฐกถา แผนพัฒนา และข้อมูลสถิติต่าง ๆ รายงานการประชุมและสัมมนา หรือ รวมถึงสิทธิบัตร รายงานทางเทคนิคจากหน่วยงานภาครัฐ หรือกลุ่มวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นสารสนเทศข้อมูลที่จัดทำโดยหน่วยงานภาครัฐหรือกลุ่มวิจัยทางวิทยา ศาสตร์ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะติดตามผ่านช่องทางปกติ เพราะยังไม่ได้มีเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์หรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป (สรุปความจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Grey_literature )
ในการจัดหาเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ สร้างความยากลำบากให้แก่บรรณารักษ์เพราะโดยทั่วไปเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่นี้ มักจะไม่มีการควบคุมทางบรรณานุกรม จำนวนพิมพ์ที่มี จำนวนจำกัดของเอกสาร
แต่ปัจจุบัน ปัญหาการเข้าถึงเอกสารเหล่านี้เริ่มลดลง เนื่องจากเริ่มมีหน่วยงานที่จัดเก็บและค้นข้อมูลเอกสารประเภทนี้ เช่น
GreyNet (Grey Literature Network Service) http://www.greynet.org/ ที่เปิดให้เข้าถึงและการศึกษาวรรณกรรมประเภท grey Literature
The Grey Literature Network Service ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เป้าหมายของ GreyNet คือการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัยและการสื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กรในด้าน Grey Literature โดย GreyNet พยายามที่จะผู้ใช้สืบค้นและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ Grey Literature กิจกรรมหลัก ได้แก่ Conference Series on Grey Literature
และ OPEN Grey เป็น ระบบสารสนเทศสำหรับ Grey Literature ในยุโรปที่สามารถ เข้าถึง Grey Literatureได้ถึง 700.000 เรื่อง ที่ผลิตในยุโรปและอนุญาตให้บันทึกและค้นหาเอกสารได้
ตัวอย่าง ของ Grey Literature ในฐานนี้ อาทิเช่น รายงานทางวิชาการ หรือ งานวิจัยปริญญาเอก เอกสารการประชุม สิ่งพิมพ์รัฐบาลรและ Grey Literature ประเภทอื่น ๆ OpenGrey ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ชีวการแพทย์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และรวมถึงร่างบทความจากการประชุม GreyNet International แบบฉบับเต็ม http://www.opengrey.eu
หรือของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 สำนักงานวิทยทรัพยากรฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.car.chula.ac.th/aboutus/9/ ที่เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศทางด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เกี่ยวกับประเทศไทย รวมทั้งประเทศในเอเชียอาคเนย์และประเทศอื่น ๆ ที่มีสถานการณ์และปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการพัฒนาที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่จะเก็บรวบรวมเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัด หรือไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ หรือ Grey Literature ของประเทศไทย
//
2 thoughts on “Grey literature”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
บรรณารักษ์ทุกคนต้อง ต้อง ต้องรู้ ขอให้ไปศึกษาค้นคว้าด้วย อย่างน้อยก็ของไทย
เห็นชอบ LIKE
แนะนำให้อ่านหนังสือเรื่องนี้เพิ่มค่ะ Grey Literature in Library and Information Studies มี case study เป็นงานทางฝั่งยุโรปพี่ว่าน่าสนใจดี