Technology skill of people in library with ASEAN

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2555 ข้าพเจ้าได้รับโอกาสจากห้องสมุด ไปฟังบรรยาย เรื่อง “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประตูอาเซียน” ซึ่ง คณะวิทยาการ การจัดการ เป็นผู้จัด เนื้อหาการบรรยายเป็นลักษณะการให้ความรู้ บอกถึง ผลกระทบด้านต่าง ๆ และ การเตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัว
จากองค์ความรู้ที่ได้จาการฟังบรรยาย ทำให้ข้าพเจ้าคิดต่อไปว่า ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นบุคลากรคนหนึ่งที่ปฏิบัติงานในสำนักหอสมุด จากผลกระทบด้านต่าง ๆ และ Gap ที่เป็นปัญหาและอุปสรรค ด้านบุคลากรของห้องสมุด ที่ควรให้ความสำคัญและได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ การพัฒนาทักษะด้านภาษา และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้เกิดศักยภาพในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร ซึ่งการพัฒนาทักษะด้านภาษา ข้าพเจ้าได้เคยเขียนลง blog ไปแล้ว ครั้งนี้จะเน้น เรื่อง “การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
กล่าวได้ว่าปัจจุบันนี้ เป็นยุคของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งห้องสมุดมีบทบาทและภารกิจหลักสำคัญ คือ การให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย ซึ่งเป็นงานด้านการบริการ ที่เน้น กลยุทธ์การสร้างความประทับใจ หรือ ความพึงพอใจผู้ใช้บริการ ดังนั้น บุคลากรต้องมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย (Multi Knowledge) มีทักษะ (Multi Skill) ทั้งด้านภาษา และ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทัศนคติ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรควรได้รับการพัฒนา และปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของการสู่ความเป็นประขาคมอาเซียน ASEAN Economic Community (AEC)
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการของห้องสมุดที่ต้องมีกระบวนการทำงานที่ทันสมัย เพื่อให้มีวงจรการปฏิบัติงานที่สั้นลง ลดต้นทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุด มีการสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและสนองนโยบายของรัฐ โดยมีกรอบดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ระบุว่า “พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” หรือ ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 66 “ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”
ห้องสมุดเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถเรียนรู้ได้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งทำให้ห้องสมุดต้องรับผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน สังคมบนฐานแห่งความรู้ (Knowledge-base Society) และ กระแสธรรมมาภิบาล (Governance) ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับตัวให้ก้าวทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ห้องสมุดต้องพัฒนาบุคลากร ให้มีสมรรถนะพื้นฐานสำคัญ ทั้งเรื่องของภาษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การดำรงชีวิตประจำวันในทุกเรื่อง อีกทั้งยังสนับสนุนการเรียนรู้ของบุคลากรและผู้ใช้บริการที่สำคัญ คือ อินเตอร์เน็ต หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นสื่อกลางของเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเว็บไซต์ ซึ่งเป็นบริการสำคัญบนอินเตอร์เน็ต การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในห้องสมุดให้เกิดประสิทธิผล
จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรห้องสมุดต้องมี ความรู้ ความเข้าใจ และให้ความสำคัญถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อ การบริหารจัดห้องสมุดทั้งด้าน การบริหารจัดการกระบวนการทำงาน และการพัฒนาบุคลากรให้เกิดทักษะด้านต่าง ๆ (Multi Skill) ได้แก่ ทักษะการค้นคืนสารสนเทศ การค้นหาสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงสารสนเทศมัลติมิเดีย ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารเทศเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการบูรณาการ ทักษะด้านเทคโนโลยีการสื่อ อันเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสะท้อนความคิด การแสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันความรู้ และการจัดการความรู้ในห้องสมุด ได้แก่ e-mail กระดานข่าว ( Webbord) กระดานอภิปราย (Forum) บันทึกเล่าเรื่อง (weblog ) เป็นต้น
ซึ่ง เป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาห้องสมุดให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนสังคมฐานการเรียนรู้ คือ
1. ต้องพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมสารสนเทศ การใช้ทรัพยากรจากมัลติมิเดีย ใช้เว็บคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่ความรู้ เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้
2. การพัฒนาทักษะความสามารถในด้านสนเทศ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน โดยการผสมผสานการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีด้วยการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาโดยใช้มัลติมีเดีย
3. การพัฒนาทักษะด้านการคิดนอกกรอบ กล้าคิดต่าง เพื่อเปิดโลกทัศน์สู่มุมมองใหม่ ๆ ด้วยการสื่อสารสร้างความเข้าใจ ในการกระตุ้นให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้บริหารองค์กรควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาห้องสมุด เพื่อให้องค์กรและบุคลากรสามารถบูรณาการความคิดและเครื่องมือในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงในการเตรียมความพร้อมบุคลากรห้องสมุดให้มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยี คือ
1.การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาอุปกรณ์ทาง อิเล็กทรอนิค ที่สามารถนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามความประสงค์ในการบริหารจัดการในห้องสมุดตามความประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ ด้วยการลงทุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และการซ่อมบำรุงเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและให้บริการผู้ใช้บริการ
2.การพัฒนาเทคโนโลยีฐานข้อมูล ที่สามารถจัดเก็บ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ด้วยการติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอยู่เสมอ
3.การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับระบบคอมพิวเตอร์
การปรับเปลี่ยนองค์กรห้องสมุด ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กร พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ให้กับบุคลากรห้องสมุดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ด้วยการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะใน การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดฝึกอบรม ส่งเสริมการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ ตลอดจนการจัดการความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และ สามารพัฒนาตนเอง ผลการปฏิบัติงาน องค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กรอย่างยั่งยืน

One thought on “Technology skill of people in library with ASEAN

  • งานนี้มีคนไปฟังกันหลายคน น้องรสตั้งตั้นแล้ว อยากได้มุมของแต่ละคน และความเห็นที่นำทักษะดังกล่าว หากเมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงว่า เป็นไปได้ไหม แค่ไหน อย่างไร อะไรคือปัญหา หรืออุปสรรค วิธีการตั้งต้น ฯลฯ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร