ว่าด้วยเรื่องบัตร

อันว่าบุคลิกประจำตัวผู้เขียน คือ อิฉันนั้น
มีประการอันโดดเด่นสำคัญ เป็นอันหนึ่ง คือ “ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน”

เอิ่มมมมมมมมมมมมม เอ่อออออออออออออออออ
อิฉัน (พยายาม) ยุ่งทางดีน่ะ อิอิอิ ^^

วันนี้(…เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว…ก็อิฉันเป็นลูกอีช่างดอง อิอิ) หลังจากกลับจากพักกลางวัน
อิฉันก็ไปยุ่งๆ นุงๆ นัง อยู่กับเอกสารบนโต๊ะพี่เก

ด้วยเหตุว่าก่อนที่พี่ท่านจะละไปทำธุระ ณ ม่องอื่น
พี่ท่านได้ตรวจเช็คแผ่น CD-Rom ซึ่งพี่ท่านได้รับให้นำมาให้บริการที่ ศต. กับหน้าจอ OPAC
เรื่อง “โครงการวางและจัดทำผังอนุภาค กลุ่มจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครปฐม”
ซึ่งได้รับการจัดหมวดหมู่แล้ว คือ “ศต HT 169 ท9ก633”

เข้าใจว่าพี่ท่าน คงรับมาอย่าง งง งง  ด้วยเห็นว่า ในศต. ไม่มีบริการวัสดุโสตฯ ชนิดนี้??
เมื่อพี่ท่านมาเอิ้นถาม จึงต้องเริ่มระลึกชาติถึงแนวทางที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม
คลับคล้ายคลับคลาอันตัวอิฉันจะไม่มี memory เรื่อง CD-Rom ศต.
ที่มีก็เป็นCD-Rom ประกอบหนังสือประเภทอื่นๆ ที่เคยตกลงกันในฝ่ายวิเคราะห์ฯ กับโสตฯ และบริการ
ตกลงว่าอย่างไร ขออนุญาตไม่กล่าวถึง ณ ตรงนี้
เนื่องจากมี เวทคัมภีร์ ที่ร่ายไว้แล้วก่อนที่อิฉันจะละมาจากฝ่ายวิเคราะห์ฯ
เดี๋ยวจะผิดฝาผิดตัว มั่วซั่ว สับสน กันไปเปล่าเปลืองเวลาอ่านเอาเรื่องของทั่นๆ ^____^

กลับมาที่ประเด็นความยุ่งนุงนัง กับเอกสารบนโต๊ะพี่เก ของอิฉันดีกว่า
ก็ไม่มีอะไร ปะเอินว่าอิฉันเหลือบไปเห็นหนังสือเล่มหนึ่ง
ปกมีสีสันคล้ายคลึงกับเจ้า CD-Rom ศต. ที่อิฉันกำลังทรรศนา ตรงหน้า
แล้วมันจะรอดเร๊อะ…คงยาก!!

อิฉันนำกายสังขาร ไปยังวัตถุที่หมายตาและหยิบมา
หะแรก เมื่อเห็นว่าเป็นหนังสือที่จัดทำโดยบุคลากรหอสมุดฯ
จึงมิพักชักช้าที่จะสอดและส่อง อยากรู้อยากดู ว่าอะไร อย่างไร ทำไม

เข้าใจว่าหนังสือเล่มนี้เป็นผลงานส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ
ด้วยความเข้าใจเล็กๆ ของอิฉัน อิฉันก็รู้สึกว่าเป็นงานวิจัยสถาบันเล็กๆ ฉบับหนึ่ง
เนื้อหาของหนังสือ ก็ “ว่าด้วยเรื่องบัตร” อย่างที่อิฉันจั่วหัว

ไม่ต้องเดาจ้ะ…เฉลยให้
หนังสือเล่มนี้ชื่อ “การศึกษาการใช้บัตรอนุญาตเข้าใช้หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
แทนบัตรสมาชิกหอสมุดฯ แสดงตนก่อนการเข้าใช้หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ปีพุทธศักราช 2554”
ผู้ศึกษาวิเคราะห์กรณีข้างต้น คือ คุณพี่ติ๋ว หรือ พี่นัยนา สุคนธมณี
อดีตข้าราชการดีเด่นของพวกเราชาวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
ที่ต้องกล่าวว่าอดีต เพราะรู้สึกจะคลับคล้ายคลับคลาว่าพี่ท่านได้ตำแหน่งนี้เมื่อหลายปีก่อน

เมื่ออิฉันทั้งสอด & ส่อง ประมาณ สแกน
ตั้งกะส่วนสรุปผล ที่อยากรู้เร็วๆ ว่าผลเป็นอย่างไรก็ต้องใจร้อนอ่านตอนจบก่อน อิอิ ^^
แล้วก็ค่อยกลับมาส่องไล่เรียงใหม่ตั้งกะบทนำ

ส่วนของวัตถุประสงค์ รวมทั้งผลการวิเคราะห์ในภาพรวมอิฉันก็เห็นคล้อยตามมิแตกต่าง
แหม๋นะ ก็ข้อมูลมันชี้ชัดอยู่จากสิ่งที่เกิดจากการปฏิบัติงานจริง จะเห็นเป็นอื่นก็แปลกล่ะ !!

อ้าวววววววววววววว ก็แล้วอะไรล่ะ
ก็…อาจคิดได้นะว่า ที่มานั่งพร่ำเพ้ออยู่นี้ จะเพ้อเอาโล่ หรือ แสวงหาพระแสงด้ามสั้นยาว
ปล่าววววววววว คร้า แค่เพียงแต่อยากคิดเห็นดังๆ บางประการในเรื่องตามเรื่องนี้

เอาตั้งกะจั่วเรื่องนะเจ้าคะ
1. การใช้บัตรอนุญาตเข้าใช้หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ แทนบัตรสมาชิกหอสมุดฯ
ซึ่งอิฉันเองอยู่ในยุคสมัยที่ทันทราบที่มา ที่ไป ของการเกิดการใช้ “แทนกัน”

ก็ได้แต่แอบนึกถามเอาเองในใจตอนนั้นว่า
หากไม่ปฏิบัติดั่งนั้น สมาชิกหอสมุดฯ จะมีวินัย เคารพในกฎ กติกา มารยาท เพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ไหม??

แต่ก็นั่นล่ะหนา ด้วยหัวจิตหัวใจ ที่อยากให้บริการลูกค้า
ชนิดที่ต้องท่องจำกันจนขึ้นใจว่า

บริการทุกระดับ ประทับใจ + The customer is the King do nothing is no wrong
ชาวหอสมุดสนามจันทร์ของอิฉันจึงมุ่งมั่น ในบริการ
ประมาณว่า … ผู้ใช้ทุกคนต้องได้เข้าใช้ห้องสมุด
แม้ชาวเราจะต้องพยายามคิดค้นกลวิธีอย่างไรก็ตาม
ให้ผู้ใช้ได้เข้าใช้ แม้มิต้องตามระเบียบที่วางไว้
สิ่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของที่มาของงาน

2. ไหนๆ ก็ไหนๆ บริการด้วย Service mind ชนิดจัดไป 100 ไลค์ก็จัดไปแล้ว
ผู้ใช้ที่ไม่มีบัตรก็แฮปปี้ได้เข้าใช้ห้องสมุดสมใจนึกบางลำพูไปแระ
พระแสงที่มาถามหา คือ อะไร

ก็ไม่มีอะไรแค่เพียงสงสัยว่า
ก็แล้วทำไมเราไม่ลงทุนกันอีกสักนิดเพื่อสร้างวินัยให้แก่พลเมืองสมาชิกหอสมุด อาทิ

3. การรูดบัตรกันตั้งแต่ประตูทางเข้า เช่นเดียวกับบุคลากรหอสมุดยามเช้า
ซึ่งจะเป็นปฏิกิริยาแบบอัตโนมัติ ว่าไม่มีบัตร ไม่มีสิทธิ์
หรือจะอาศัยสิทธิผู้อื่น ก็ต้องอดทนรอสักนิดจนกว่าจะมีผู้เข้าใช้ท่านอื่นจึงขออาศัยสิทธิ

หรือ อย่างทางท่าพระก็ คือ มีเครื่องจิ้มตัวเลข
แต่เปลี่ยนจุดจากในประตู เป็นหน้าประตู
ทุกคนต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเอง จำไม่ได้แม้รหัสก็ต้องร้องเพลงรออีกเหมียนเดิม
ส่วนผู้ใช้ภายนอก อาจต้องมีระบบค่าบริการรหัสรายวัน รายเดือน ฯลฯ อะไรทำนองนั้น

สองวิธีนี้ดูจะโหดร้ายใจอีกาไปหน่อย แต่เราว่าสักระยะโรคขี้ลืมจะหาย
แถมยังช่วยลดช่องว่าง ป้องกันปัญหาด้านอื่นๆ ลงได้อีก

เพราะแม้ผู้ใช้ จะเข้าใช้ห้องสมุดได้ แต่ก็ยืมวัสดุการศึกษาไม่ได้
และการเข้าใช้ได้ ก็ผ่านด่านอรหันต์ กรองผู้ใช้ได้ระดับหนึ่ง
ก็…ระดับมีความพยายามในการเข้าใช้
ซึ่งหลายๆ ท่านก็อาจไม่สน เพราะแค่มานั่งกินนม ชมแอร์

อ้าวววววว จริงน๊าาา เพราะเราเห็นบางท่านก็ชอบเข้าหอหมุดเพื่อมาดื่มกาแพ เคล้าแอร์เย็นเย๊นนน เจ๋ยๆ ง่ะ
4. วิธีสุดท้ายที่เพิ่งเก็จไอเดียจากพี่ๆ น้องๆ ที่พากันไปดูงานเหนือบ้างอีสานบ้าง เราว่าเข้าท่านะ
(แหม๋ๆๆๆ การหมักดองครั้งนี้ ทำให้ได้เปิดอีก 1 โลกทรรศน์ มากกว่ากะลาใบเดิม หุหุหุ)

ก็ไอเดีย พวงกุญแจ RFID ของ ม.มหาสารคาม ทั้งเข้าใช้ ทั้งยืมหนังสือ ทั้งเป็นพวงกุญแจ
พวง…ที่คาดว่าทุกคนต้องมีติดตัว แม้จะเป็นสุภาพสตรี หรือ สตรี(ค่อนข้าง) ไม่สุภาพก็ตาม

เอ………….หรือ อย่ากระนั้นเลย ถ้าจะเป็นพวง RFID
สำนักฯ คงต้องลงทุนอีกบานตะเกียง แต่ก็น่าลงทุนนะเราว่า

เอาเป็นว่า มาออกแบบบัตรนักศึกษาที่ใช้เป็นบัตรหอสมุด
หรือ อันนั้นจะยากไป เพราะต้องไปเกี่ยวดองหนองยุ่งกะหน่วยงานอื่น
เอาแค่…ออกแบบเฉพาะบัตรหอสมุดให้เป็นพวงกุญแจ…พกได้ พาได้ รูดได้
รูดปรื๊ดดดดดดดดดดดดดดดด รูดปรื้ดดดดดดดด กันตั้งกะประตูทางเข้า
ให้ลุงๆ ป้าๆ ได้ละจากการเฝ้าน้องๆ หนูๆ ตรงตรวจทางเข้า
ให้ลุงๆ ป้าๆ ได้ละจากการต้องทำงานซ้อนงาน โดยไม่คุ้มค่า
เอาลุงๆ ป้าๆ เอาบุคลากรที่เหลืออยู่จำกัดในปีการศึกษาหน้า
ไปจัดหนังสือให้หนังสือที่ไม่พบแบบน๊านนนนนน นาน ให้ได้เจอกันซะที
หรือ ไปทำกิจกรรมอื่นๆ อันเป็นประโยชน์ ต่อการเตรียม Go to ASEAN ดีมั้ยอ่ะ

คนตัวเล็ก(…กว่าโอ่งมังกร) เสียงก็ไม่ดัง(…ซะเมื่อไหร่) อย่างเรา ก็ได้แค่คิด ดังๆ
ด้วยปรารถนาดีต่อหน่วยงานเท่านี้ ล่ะจร้าาาา
ส่วนการจะไปปฏิบัติได้จริง หรือ ไม่ อย่างไร

เราว่าลองถามผู้ใช้ดูสักที ก็ดีน๊าาาา
ก็แหมนะ จำนวนผู้ใช้ที่ใช้บริการบัตรแทนบัตร 10 เดือน ปาเข้าไป 26,279 ราย
เฉลี่ยก็ไม่มากไม่มาย เดือนละ 2,627.9 ราย
หารยาวๆ แบบง่ายๆ ก็วันละ ร่วมๆ 30 คน ที่เป็นเพศหญิงส่วนใหญ่

กับเวลาที่ถ้าป้าติ๋วนับสถิติรายงานทุกวันก็ดูจิ๊บๆ
ถ้านับรายสัปดาห์ ก็เริ่มไม่จิ๊บ นับทีละเดือน อุแม่เจ้า!! ถึงกะเมื่อยยยยย เชียนะนั่น
แต่ป้าติ๋วก็ทำได้ และก็คาดว่ายังจะต้องทำกันต่อไป
จนกว่าจะมีนโยบายเปลี่ยนแปลง…

เป็นว่าข้าพุดเจ้าจบข่าวแต่เพียงเท่านี้ดีกว่า
เกรงว่าผู้นับรายต่อไปจะเกิดการเวียนทำ…ฮาาาาาาาาาาาาาาาา (ไม่กล้าขำ..)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร