มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์

อาทิตย์นี้หลายคนคงได้เห็น เสวนาศิลปากรเล่มใหม่ออกมาแล้ว  หน้าปกเป็นแว่นขยายที่ส่องไปภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร แถมในแว่นขยายยังเพิ่มเครื่องหมายคำถามไว้ข้างท้าย…นึกถึงตอนเรียนวิชาสุนทรียศาสตร์จังเลยเพราะคงสามารถบรรยายความเป็นนัยยะได้พอสมควร
เสวนาศิลปากร เป็นสิ่งพิมพ์ที่ชอบมากที่สุดตั้งแต่รับราชการที่นี่ เพราะมีความหนักแน่น มีปมปัญหาทิ้งไว้ให้ขบคิด รวมทั้งการมองมุ่งไปข้างหน้า ขณะที่สิ่งพิมพ์อื่นๆ มักอยู่ในลักษณะของภาพเป็นข่าว และข่าว ส่วนเนื่อหาหรือ content ต้องตามความหาเพื่อติดตามอ่านกันต่อไป…แต่มีเยอะจังเดือนๆ หนึ่งเป็นปึก แถมบางครั้งมีอยู่หน้าเดียว ..ที่บอกไม่ใช่อะไร ความเสียดายเป็นเหตุ
สมัยก่อนหอสมุดฯ เคยคิดจะทำสิ่งพิมพ์ของตนเอง แต่พี่แมวนี่แหละบอกว่าฝากข่าวไปน่ะีแล้ว เพราะทุ่นแรงทุ่นงบประมาณ รวมทั้งสองเรื่องแล้วไปเยอะ……
แต่ก้เข้าใจได้เพราะสิ่งพิมพ์ที่ผลิตออกมามีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน… รับได้ เพราะทุกอย่างมีประโยชน์หมด อยู่ที่จะหยิบหรือดึงเอามาใช้หรือไม่ ปัจจุบันก็อาศัยภาพเป็นข่าว หรือข่าว จากที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยฯ มาต่อยอด หรือมาทำมาหากินโดยไม่ต้องตากแดดหน้ากร้านออกไป ตะลอนๆ หรือตะเวนออกจากห้องแอร์อันแสนสบาย
ใครที่อ่านคงจะจำได้ว่าได้เขียนถึงเสวนาศิลปากรกับมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์หลายครั้ง เหตุเพราะอกหักจากการที่มหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ยิ่งตอนที่ไม่มีข่าวออกมาเลยว่าเราจะเดินทางไหน ยิ่งอาการหนักกว่านี้
แต่เมื่อประกาศออกมาอาการยิ่งหนักไปกว่าเดิม เพระาไม่รู้ว่าคืออะไร การสร้างสรรค์เป็นคำที่คลุมไปทุกอย่าง ไม่เฉพาะคณะวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการออกแบบหรือศิลปะเท่านั้น
หน่วยงานเล็กๆ อย่างห้องสมุด ก็น่าจะมีส่วนร่วม หรือทำอย่างไรให้สมกับการเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์ หากมีหอสมุดแบบเดิมๆ ทั้งความคิด รูปแบบ รวมถึงผลผลิต แม้จะอยู่ได้ก็คงอยู่แบบแกนๆ หรืออาจมีเครื่องหมาย ???????? ไม่วีนใดก็วันหนึ่ง
ตอนสายได้รับข่าววิจัย จากสถาบันวิจัยและพัฒนา แจ้งว่ามีการประชุมทางวิชาการและเสนอผลงานวิจัยสร้างสรรค์ “ศิลปากรวิจัยครั้งที่ 3 : ศิลปากรสรรค์สร้าง สังคมเศรษฐกิจไทยสร้างสรรค์ จึงหยิบมาอ่านดูว่าจัดวันไหน ที่ไหน ใครเป็นวิทยากร ฯลฯ เพื่อดูว่าจะมีอะไรสะกิดต่อมความคิดออกมาบ้าง
เห็นมีการเสวนาเรื่อง “Creative Economy : บทบาทของสถาบันการศึกษากับเสรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย” มีวิทยากรสามท่าน สองในสามเคยฟังแนวคิด ส่วนอีกหนึ่งไม่เคยฟัง แต่เห็นผลงานที่ TCDC จึงคิดว่าไม่ควรพลาด ค่าลงทะเบียนก็ไม่ได้หนักหนาสมเหตุสมผลกับการตักตวงความรู้
ข้อแนะนำก่อนไปหรือไม่ได้ไปก็เถอะน่าจะได้่อ่านหนังสือเรื่อง “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เขามั่งคั่งจากความคิดกันอย่างไร” แปลจากเรื่อง The Creative Economy : How people make money form ideas ของ John Howkins โดย คุณคุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ มี TCDC เป็นเจ้าภาพ
ขณะนี้กำลังตั้งอกตั้งใจอ่าน ใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะตัวหนังสือขนาดเล็กมาก ต้องอาศัยแสงแดดเข้าชวยในการอ่าน ยังดีที่พิมพ์โดยกระดาษถนอมสายตา …. มีหนังสือจำนวนมากที่พิมพ์เหมือนกับไม่อยากให้คนที่สายตากำลังผันผวนได้อ่าน
ระหว่างที่พิมพ์ชื่อหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะ link ไปที่ amazon.com โดยเฉพาะ …. โลกล้วนเกี่ยวโยงกันหมก เราคงอยู่นิ่งเพื่อต้านกระแสโลกไม่ได้
ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เป็นเรื่องของศาสตร์สาขาใด แต่เป็นเรื่องระหว่างความเป็นกับความตาย ระหว่างการคิดและการไม่คิด การเรียนรู้กับการไม่เรียนรู้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และทุกๆ สิ่ง …  (หน้าบทนำ)
ในเมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศตัว หน่วยงานอย่างเราจะทำอย่างไร พี่แมวเล่าว่าท่านอธิการเสนอว่าสำนักหอสมุดกลาง น่าจะทำคะแนนความพึงพอใจของห้องสมุดในฐานะแหล่งเรียนรู้ให้ได้ถึงร้อยละ 85 จากที่เสนอไป 80 ตามแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี
การจะได้คะแนนเท่าไร ก็คงต้องนำมาเทียบเคียงกับตอนเราเรียนหนังสือว่ากว่าจะได้สักคะแนนหนึ่ง เราต้องมีกระบวนการเรียนรู้มากมายขนาดไหน ปัจจุบันการทำงานก็ไม่แตกต่าง ตอนเรียนเราอ่านหนังสือ ติวกับเพื่อน หรือต้องทำงานกับเพื่อนสารพัดรูปแบบ   … ส่วนตอนทำงานเราเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าทบทวนอยู่เหมือนกัน
เคยมองเพื่อนที่สุดแสนจะขี้เกียจ ว่าทำไมถึงจำอะไรรอบๆ ตัว ตอบคำถามช่างฉาดฉานเป็นที่ถูกใจของครูบาอาจารย์ …. พี่เมทสมัยเรียนหนังสือบอกว่าพวกนั้นเป็น ปราชญ์ขี้เกียจ ส่วนเราเป็น ปราชญ์โง่ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคืออ่านเข้าไว้ ทำแบบฝึกหัดให้มากที่สุด อ่านไม่จำต้องท่อง หนึ่งรอบไม่จำก็ต้องเพิ่มๆๆๆๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ ….. เรื่องนี้แม้เวลาจะผ่านไปยี่สิบกว่าปี ก็ยังจดจำมาใช้กับตัวเอง จนถึงนำมาสอนลูกหลาน
ด้วย TCDC เป็นเจ้าภาพของงานนี้ และก็ยังมีห้องสมุดที่ดีมากๆ รวมทั้งเป็นห้องสมุดที่นำเทคโนโลยีของ web 2.0 มาใช้ในการทำงานเป็นที่แรกๆ จึงขอแนะนำให้ไปดูกัน… เผื่อจะนำมาปรับใช้ได้อย่างไร
tcdc
สำหรับตัวเองแล้วไม่มีอะไรดีไปกว่า เรียนรู้และเรื่มทำ ตามที่หนังสือบอก รวมทั้งตามประสบการณ์ที่ได้รับ แม้จะเป็นคนชื่มชมตัวเอง (ค่อนข้างหลง) แต่ยังมีความไม่เชื่อมั่นว่าเราดี เราเก่ง เราเลิศ ยังแอบซุกอยู่ๆ เงียบๆ และพร้อมจะแสดงตัวอกมาทุกเมื่อ…
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เขียนไว้ในคำนิยมของหนังสือเล่มนี้ตอนหนึ่งว่า…เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคที่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมีข้อจำกัดมากขึ้น  และเทคโนโลยีทำให้การผลิตมีความเท่าเทียมกัน ความมั่งคั่งจึงตกอยู่ในมือของผู้ที่เป็นเจ้าของ “ความคิดสร้างสรรค์ ” ที่จะสามารถผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่าง และสามารถตอบสนองความต้องการความต้องการเฉพาะด้านของตลาดได้ตรงที่สุด
ลองเปลี่ยนคำว่า โลก =มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของ = ห้องสมุด และ ตลาด = ผู้ใช้บริการ
หรอยจังแฮะ….ไปอ่านหนังสือต่อดีกว่า อีกตั้งร้อยหน้ากว่าจะจบ…. และไปเปลี่ยนหนังสือใน Shelfari ให้เป็นเรื่องนี้ดีกว่า….

3 thoughts on “มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์

  • อ่านบทความของพี่ทีไรมีแรงฮึดให้มองตัวเองทุกทีสิน่า แต่พอสักพักแรงก็อ่อนลงตามเดิมดูสิ นิสัย..

  • ขอบใจน้อง…ตามไปอ่านเรื่อง Hero ของอาจาย์ระพีพรรณ ฉลองสุข ในเล่มเดียวกัน… อ่านเยอะๆ ทำเยอะๆ คิดแยะๆ ฯลฯ แล้วรู้จักแบ่งเวลาของยี่สิบสี่ชั่วโมงให้ดีๆ เราน้อยไปหรือปล่าวกับชั่วโมงการเรียนรู้ ถ้าใช่ก็ต้องตัดส่วนอื่น เพิ่มส่วนนี้ เหมือนกับที่เรียนหนังสือ… ไม่มีอะไรเป้นของแปลงใหม่ …พยายามแล้วลงมือทำ just start and do it. Don’t wait for the time…

  • พี่แมวแจ้งว่าตัวเลขผิดค่ะ เสนอไป 75 ขอให้เพิ่มเป็น 80 ค่ะ จำผิดค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร