วันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

มหาวิทยาลัยกำหนดจัดงานวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในวันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2552 แทนวันที่ 24 ตุลาคม เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวันและช่วงนี้ยังเป็น ปิดภาคการศึกษา การจัดงานในเวลาราชการถือเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด
ระหว่างนี้จึงมีบุคลากรทั้งจากในและนอกหอสมุดเข้ามาช่วยจัดงานกันอย่างขัน แข็ง ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่จัดงาน
“ปิ่นมาลากุลวรานุสรณ์ เอกสถิตเลอค่าสถาพร เคียงคู่ศิลปากรนิรันดร์” เป็นชื่อของงานที่มีกำหนดการตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงกลางวัน เริ่มจากพิธีสงฆ์ และพิธีรำลึกถึงท่านด้วยการวางช่อดอกไม้ จากหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร
ตามด้วยการแสดง การบรรยายทางวิชาการ ปิดท้ายด้วยการเปิดนิทรรศการ เชิดชูเกียรติศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และชมห้องอนุสรณ์ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลและห้องสมุดเสียงปิ่นมาลากุลวรานุสรณ์
ในฐานะที่ทำงานในมหาวิทยาลัยศิลปากร สิ่งที่คิดตลอดเวลาคือจะทำให้บุคลากรรู้สึก “อิน” กับวันสำคัญของศิลปากร ที่ปีหนึ่งหากไล่เลี่ยงมาตั้งแต่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จนถึง 31 ธันวาคม ลองใส่ปฏิทินเล่นๆ แล้วนำเนื้อหาจากหนังสือไปเชื่อมโยงซึ่งเป็นความสามารถในวิชาชีพที่ถนัด ก็รู้สึกสนุกอยู่ไม่น้อย
เมื่อวันหยุดที่ผ่านมาลองค้นเรื่องราวของมหาวิทยาลัยศิลปากรจากที่บ้านผ่านทาง YouTube เนื่อง จากหากทำเรื่องราวแบบนี้ดูเหมือนว่าไม่ใช่งาน พบว่ามีหลายเรื่องที่นักศึกษาของเราฝากผลงานไว้ที่เครือข่ายสังคมดังกล่าว จึงนำบางส่วนไปแบ่งปันใน Facebook ของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และคิดว่าวีดิทัศน์สารคดีชุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในความทรงจำ ตอน “ลำนำแห่งใจภักดิ์” อาจโลดแล่นในเครือข่ายสังคมดังกล่าว



อาจมีผู้สงสัยถามว่าแล้วดีอย่างไร คงให้คำตอบแบบนักวิชาการไม่ได้ แต่ขอตอบโดยใช้ความรู้สึกคือ ยิ่งเราทำให้ปูชนียบุคคลของเราใกล้ชิดกับผู้คนในยุคปัจจุบันมากเมื่อไร เขาก็เข้าใจและซาบซึ้งมากเท่านั้น
ทุกวันของวันสำคัญของมหาวิทยาลัย ไม่น่าเป็นเพียงพิธีกรรมแล้วทุกคนก็บ้ายบายแยกย้ายกลับไปอยู่เหมือนเดิมและเหมือนเดิม…
เนื้อหาและจิตวิญาณของผู้มีคุณในมหาวิทยาลัยยังมีอยู่มากมาย ที่รอทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัยที่กำลังจะเรียกตัวเองว่า Creative University มา ช่วยกันสร้างผลงานหรือชิ้นงานออกมา ตัวอย่างเล็กๆ ก็เช่น ป้ายคมวาทะของผู้มีคุณูปการทั้งสองท่านที่อาจารย์สมบัติ ออกแบบและติดตั้งไว้ที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และเพชรบุรี
ที่ ห้องสมุดมีข้อมูลมากมาย แต่ยังไม่ได้นำมาทำเป็นสารสนเทศ ก็คงจะต้องอาศัยแรงสติปัญญาจากหลายๆ คน เข้าไปช่วยกันดูว่าจำนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายนั้น ทำให้เป็นสารสนเทศได้อย่างไร เนื่องจากเกี่ยวข้องแบบเฉี่ยวๆ จึงขอทำแบบที่ตนเองสามารถ
ปีนี้หยิบหนังสือสองเล่มมาอ่านคือ ชีวประวัติและผลงานด้านการศึกษาของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล : บรรณานุกรมและบรรณนิทัศน์ (LA 2385 ป64 พ44 2546) และวิทยานิพนธ์เรื่อง การจำแนกประเภทผลงานวรรณกรรมของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล (PL 4201.5 ป6 พ4) โดยคุณพรรณงาม แย้มบุญเรื่อง มาดูว่ามีอะไรที่พอจะทำได้ แต่ก็ยังคิดไม่ออก…เก็บไว้เป็นการบ้านปีต่อไป
พอดีกับที่ศูนย์คอมพิวเตอร์พยายามจัดการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ จึงคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่จะเริ่มงานแบบนี้ด้วยตนเอง จึงนำเทปเสียงเพลงที่เป็นผลงานของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ขับร้อง ให้น้องนักศึกษาไปจัดการทำให้เป็นซีดีเพื่อจะได้เปิดผ่านคอมพิวเตอร์ น้องไปทำให้บอกว่าเพลงเพราะดีครับ จึงน่าจะได้เปิดเพื่อขยายขอบเขตการฟังให้มากขึ้น ใครฟังไม่ฟังไม่ทราบแต่พี่แมวเปิดให้ฟังทั้งวัน
ในมหาวิทยาลัยมีเรื่องราวมากมายที่ชวนให้ Creative ในมุมมองและความถนัดของทุกคน
ปีนี้พวกเราก็อย่าลืมมาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกันแล้วกัน มาดู มาทำความเข้าใจกับแนวคิดของผู้มีคุณ แล้วมาช่วยเสนอความคิดต่อๆ กันไปว่าหอสมุดควรทำอะไรกันดี คนละนิดคนละน้อย…พี่แมวในฐานะผู้รับฟังเพื่อไปเชื่อมต่อคงยินดีมากกว่า ความรู้สึกที่บอกว่าโน้น นี้ โน่น นั่น…จริงไหม?
blog นี้แย่งพี่เกเขียน แต่คิดว่าเป็นคนละมุมกัน และพี่เกเขียนต่อไปค่ะ รออ่านอยู่

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร