เยี่ยมๆ มองๆ

กลับมาจากภารกิจนอกมหาวิทยาลัย พลันเห็นเรื่องปั้มตัวแดงแจ๋ว่า ด่วน ติดอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ พร้อมกับที่พี่ติ๋วรายงานอีกครั้งว่ามีเรื่องด่วนเห็นแล้วหรือยัง… ยังไม่พอยังต้องรายงานเรื่องงบประมาณโครงการบริการชุมชน ที่ต้นเรื่องบอกว่าเ่ร่งรัดการใช้งบประมาณ แต่หนูใหญ่บอกว่าพฤหัสบดีนี้ปิดงบแล้วครับผม แปลกๆ ดี และคอยเตือนอย่างสม่ำเสมอเลยชิวชิว
แต่จะมาปวดหัวก็เรื่องตารางการรายงานนี่แหละเพราะทำไปทำมาแล้วเริ่มเกิดความรู้สึกว่าบรรณารักษ์นี้ช่างรอบรู้และทำได้ทุกอย่างจริงๆ ตะหงิดๆ ว่าน่าจะรับบรรณารักษ์ไปทำงานซะทุกตำแหน่งให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย แต่ไม่จริงหร็อก พออ่านไปชักมิค่อยรู้เรื่องว่าให้ทำอะไร จึงขอรายงานตามประสาที่เราเข้าใจ ส่วนการลงข้อมูลในตารางโปรดดำเนินการต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง ก็แร้วกัลล์
กลับมาต่อเรื่อง ด่วน …. คณะที่มาตรวจเยี่ยมหน่วยงานเรา ใช้ชื่อว่า คลินิกให้คำปรึกษา ก.พ.ร. สำนักประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักของเรานี่แหละ เรื่องมีอยู่ว่า
สำนักหอสมุดกลาง ของเรานะจ๊ะ มิใช่หอสมุดฯ เสนอไปว่าจะขอรับประเมินจาก กพร. ในเรื่องการให้บริการผู้ใช้ภายนอก โดยเลือกที่การให้บริการฐานข้อมูล
ส่วนข้าพเจ้าก็มาทำการบ้านต่อกับหลายๆ คนว่า ต้องแยกกระบวนการทำงาน เพราะมีความแตกต่างกัน จึงจำแนกออกเป็น 4 ข้อ โดยกำหนดว่าให้ลงเวลาตั้งแต่เริ่ม-สิ้นสุดในแต่ละกระบวนงานคือ 1) สอบถามรายละเอียดของงาน 2) กำหนดคำค้นและการสืบค้น 3) บันทึกข้อมูลลงแผ่นบันทึก และ 4) การนัดหมายเพื่อรับข้อมูล  เนื่องจากเราไม่สามารถทำได้รวดเดียวทุกกระบวนการ แถมยังมีการส่งต่อให้ทำกันอีก
คณะที่มาตรวจไปตรวจดูเอกสารซึ่งเป็นของเรา… แล้วให้ความเห็นว่า มีประเด็นที่มีความไม่ชัดเจน คือ ไม่มีการลงนามผู้ใช้บริการ ในช่องเซ็นชื่อในตอนท้ายทั้งที่เขียนมาแล้วตั้งแต่ต้น
พี่แมวกับเราช่วยกันตอบ ก็เรียนทุกท่าน (5 คน) ไปว่าในการปฏิบัติงานจริงเรามีบริบทมากมาย ทั้งในเรื่องของผู้ใช้บริการที่ไม่ค่อยอยากจะตอบ ไม่ค่อยอยากจะเขียน หนึ่งในนั้นถามว่ามีแบบนี้ด้วยหรือเพราะเขาเข้ามาขอใช้บริการจากเรา  อืมมม….  ส่วนการปฏิบัติงานจริงมักมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเข้ามาแทรกอยู่เนื่องๆ เช่น การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ที่ต้องอาศัยเน็ตเวิร์คกิ้ง แต่บางที่ก็มักอยู่ในอาการเน็ตเวิร์คนิ่ง คนทำงานก็ต้องคอยจดเวลาว่าใช้ไปแล้วเท่าไร เสียไปเท่าไร ทำจริงเท่าใด ทำไปทำมามีคนเข้ามาถามอีกก็ต้องหันมาจดเวลาอีก มีโทรศัพท์เข้ามาถามขืนรับช้าเกินสามกริ้งก็ไม่ได้อีก กว่าจะเสร็จแต่ละเรื่อง จึงต้องบวกๆ ลบๆ สงสัยคงต้องประกาศว่าขณะนี้ตัวข้าพเจ้ากำลังทำเรื่องนี้อยู่แล้วเริ่มจับเวลาในบัดดล  ไม่รู้ว่าจะดีหรือปล่าวนะ ส่วนในมุมมองของท่านบอกว่าเวลา 30 นาทีนี้เผื่อทุกอย่างแล้ว ลักษณะงานของเรามันไม่เหมือนกับการไปเสียภาษี หรือการไปทำบัตรประชาชน สักหน่อย ฯลฯ ก็ว่ากันไป แต่เราก็พยายามนะเพราะเป็นงานที่เราต้องทำ
ไม่รู้ว่าที่อื่นทำกันอย่างไร แต่เห็นมีอยู่ที่หนึ่งจำไม่ได้ว่าที่ไหน เขาใช้เรื่องการทำบัตรบุคคลภายนอก บอกว่าเก็บข้อมูลง่ายดี ส่วนของเราคงชอบแบบท้าทาย จึงเก็บข้อมูลยาก แต่ไม่เป็นไรฝึกไว้ จะได้แข็ง แม้แรงจะไม่ค่อยมี
ส่วนข้อกังขาของคณะที่มาคือ ไม่มีการลงชื่อรับรองว่าเราปฏิบัติงานจริงตามระยะเวลาที่เราระบุไว้ อันนี้ของสารภาพว่ามันงงเพราะง่ายๆ คือ ในแบบฟอร์มไม่มีในส่วนนั้น แล้วใครมาลงชื่อให้  (ให้เขียนยังยากเลย)  เขียนแล้วทิ้งไว้ก่อน โน่นนนน อีกหลายวันถึงมา หรือให้คนอื่นมารับ อย่างงี้ให้ลงชื่อแทนกันได้ปล่าว ก็ไม่ได้อีก หรือได้ก็มีข้อสงสัยอีกว่าโม้กันหรือไม่ เพราะไม่ได้เห็นกันต่อหน้าต่อมา บอกไปว่าข้อมูลทั้งหมดการันตีว่าทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองพอ แม้จะไม่มีหลักฐาน ก็เรียนไปแบบนั้นแหละ
เพื่อความสบายใจของตัวเอง จึงขอเสนอนี๊ดนึงด้วยการอกตัวว่า ไม่ได้ว่าใครนะคะคือ
1.  เมื่อสำนักประกันคุณภาพ มีนโยบายให้เราทำอะไร ขอเสนอให้มีการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับก่อน อย่างในกรณีนี้ในเมื่อสำนักหอสมุดกลางแจ้งกลับไปว่าได้กำหนดว่าจะใช้บริการไหนเป็นตัวชี้วัด ก็น่าจะเข้ามาตรวจสอบว่าถึงวิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร ถูกต้องตามที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงมาช่วยกันพิจารณาว่าตรงไหน ส่วนไหน วิธีการใดน่าเชื่อถือและวัดได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ใกล้ชิดกับเรื่องแบบนี้รวมทั้งไม่มีประสบการณ์เท่ากับสำนักประกันฯ ที่จับเรื่องนี้โดยเฉพาะ จึงอาจละทิ้งในส่วนที่สำคัญออกไปได้
2.  เมื่อมีมาตรการอะไรก็ขอให้แจ้ง หรือเตรียมการแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (ซึ่งไม่น่าจะเกินเดือนธันวาคม) ทั้งดัชนีของ กพร. สกอ. และ สมศ. ว่าให้แต่ละหน่วยงานต้องทำอะไร หรือเตรียมตัวอย่างไร เพราะหากมาบอกใกล้ตอนทำ SAR แล้วมึนส์ แต่เรื่องนี้เราไม่ทราบเรื่องราวว่าเป็นไง แต่เนืองจากเรามึนส์แล้วก็ไม่ทราบว่าใครเป็นต้นเหตุ จึงเสนอแบบมั่วๆ ไว้ก่อน แต่เห็นน้องๆ พยักหน้ากัน เลยขอตีความว่าเห็นด้วยกันเพ่
3. มีการสรุปบทเรียนของแต่ละหน่วยงานแจ้งให้ทราบ ในกรณีได้ถามย้ำไปว่าในกรณีแสดงว่าทางสำนักงานประกันฯ เห็นว่า แบบฟอร์มนี้ มีข้อบกพร่องตรงนี้ๆ ใช่ไหม การมาครั้งนี้หมายความว่าหอสมุดฯ ต้องไปเพิ่มส่วนนี้ใช่ไหมคะ ก็ตอบว่าใช่ ก็รับมา
ส่วนเราขอสรุปมาให้ทุกท่านเพื่อทราบโดยทั่วกัน เพราะคณะนี้ไปกันหลายหน่วยงานอย่างวันนี้ก็ไปกันถึง 5 หน่วยงาน งานน่าจะเข้าตรึม ส่วนรายงานผลการมาที่นี่ไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่หรือมาแล้วผลหรือหน้าตาจะเป็นอย่างไร และขอแรงพี่แมวช่วยตรวจสอบประเด็นต่างๆ ที่อาจหลุดรอดไปด้วยค่ะ  รวมทั้งขอแรงบรรณารักษ์ท่านอื่นรวมด้วยช่วยกันขจัดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วยเทอญ
ขอบคุณที่เข้ามาชี้แนะ หากไม่มาคงหลงตัวเองไปอีกนานนนน… ส่วนที่บอกว่าอยากมาที่นี่อีก อันนี้ไม่ลืมแน่นอนค่ะ จัดให้เช่นกันค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร