คิดแล้วลงมือทำ

          จากการที่ได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายก็ได้คิด หาแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้งานในหน้าที่ง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็วขึ้น และหาข้อเแตกต่างของงานที่ทำอยู่เดิมมีกับแนวทางการปฏิบัติแบบใหม่ แตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วต้องไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานหรือถ้าส่งผลกระทบก็ต้องน้อยที่สุด เนื่องด้วยฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนหนังสือใหม่ หนังสือที่ได้รับบริจาคเข้ามาทุกวัน มีจำนวนมากมาย ส่วนหนึ่งก็นำเข้าระบบแล้ว  ซึ่งหนังสือที่นำเข้าระบบแล้วผู้ใช้บริการสามารถ request  (จอง) ได้ ซี่งหนังสือเหล่านี้มีทั้งที่อยู่บนชั้นรอเตรียมตัวเล่มบ้างอยู่บนชั้นรอ Cat บ้าง อยู่ห้องคลินิกหนังสือบ้างล่ะ สถานะจะขึ้นว่า In Process หรือเป็นหนังสือที่บรรณารักษ์กำลังดำเนินการอยู่บนโต๊ะ ของบรรณารักษ์แต่ละคน จะขึ้นคำว่า Cataloging ต้องใช้เวลาในการค้นหาตัวเล่ม จึงได้หาแนวทางการปฏิบัติงานในการค้นหาหนังสือเหล่านี้ ให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยมีชั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้

  1. – รับตัวเล่มหนังสือที่ Key เข้าระบบแล้วจากงานจัดหา(หนังสือซื้อ) หัวหน้าฝ่าย (หนังสือบริจาค) มาเตรียมตัวเล่ม
  2. – บันทึกเลช Bib ของหนังสือ (ดังตัวอย่าง)
  3. – บันทึกว่าเป็นหนังสือ/บริจาค (ดังตัวอย่าง)
  4. – ใส้เลขเล่มของหนังสือให้ตรงกับเลข Bib โดยเขียนไว้ที่ส่วนบนของสลิปหนังสือ 

       – บอกสถานะของหนังสือว่าอยู่ที่ไหน ตรงไหน อยู่ระหว่างการดำเนินงานอะไร เป็นต้น
ตัวอย่าง

          เมื่อลงมือปฏิบัติตามขั้นดังกล่าวสามารถค้นหาหนังสือได้รวดเร็ว และรู้ได้ว่าหนังสืออยู่ขึ้นตอนการดำเนินงานอะไร ทำให้ใช้เวลาน้อยลงกับการหาหนังสือทั้งฝ่าย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร