หนังสือ ภควัทคีตา Bhagavad Gita

 

ภควัทคีตา หรือ ลำนำ หรือ เพลงศักดิ์สิทธิ์
นับเป็นมหาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์
ของผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) ว่าเป็นพระเจ้าสูงสุด
ที่เรียกว่า นิกายไวษณพ ในศาสนาฮินดู
คำว่า ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา)
แปลว่า “บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า”
เนื้อหาเป็นการนำเรื่องราวส่วนหนึ่ง
มาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท
เมื่อ ๒๑ ก.พ.๒๕๖๒) ขณะกำลังเดินทำหน้าที่
ปชส. งานทับแก้ว Book Fair
พลันสายตาเหลือบไปเห็นหนังสือภควัทคีตา ฉบับภาษาไทย
จึงทำให้ระลึกขึ้นมาได้ ถึงหนังสือชื่อเดียวกันนี้ที่มีอยู่ในห้องสมุด
หนังสือเล่มดังกล่าวตีพิมพ์จากเมือง New Delhi ประเทศ India
โดย Geeta Foundation ราว ค.ศ. 1991
ภายในเล่มประกอบด้วยภาษาสันสกฤต พร้อมแปลเป็นภาษาฮินดี
นอกจากนั้นยังมีข้อความภาษาโรมัน ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ
หนังสือเล่มดังกล่าวนี้ ดิฉันไม่ทราบว่าได้รับบริจาคจากแหล่งใด
และได้รับมาในระยะเวลานานเท่าใดแล้วก่อนที่ดิฉันจะไปพบในห้องเก็บ
ดิฉันหยิบมาปัดฝุ่นและสำรวจภายในเล่ม
เมื่อได้เปิดดูภายในเล่ม ภาพประกอบที่สวยสะดุดตาทำให้ดิฉัน
มิสามารถจะละเลยวางกลับคืนที่เดิมได้
จึงได้นำมาจัดเป็นหมวด BL1138.62 A1H38
หนังสือดังกล่าวมีชื่อเรื่องว่า Srimad Bhagavad Gita
ผู้เผยแพร่คือ Swami Hari Har Ji Maharaj
ภาพประกอบเล่มสวยงามเพียงใด เชิญชมค่ะ

 ภาพปกหน้า 

ภาพปกหลัง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร