ภาษาอังกฤษนอกกะลา

หอสมุดฯ ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง Blog Refresh และเรื่องอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน มีประโยชน์มากๆ เข้าอบรมแล้ว อบรมอีก รู้แล้ว (ไม่มาก) อยากรู้อีก บางเรื่องอบรมแล้วยังมีการเข้าไปอบรมอีก เพราะทำไม่ได้ บางเรื่องลืมต้องเข้าไปอบรมอีก (รอบ ๓) ครูที่สอนบอกว่าสอนไปแล้ว อยู่นั่นแหละ เราไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะจำไม่ได้ แต่ก็ยังสอนให้เราทุกครั้ง เราถือคติที่ว่า อายครู บ่ รู้วิชา อายภรรยา บ่ มีบุตร ต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ได้ให้ความรู้ แก่พวกเรา และจะตั้งใจศึกษาต่อไปเพื่อความเชี่ยวชาญยิ่งๆ ขึ้น

เห็นพี่ๆ พูดถึงเรื่อง KM ทุกวัน วันละ หลายเวลา และพวกเราก็ต้องทำ KM บุคคล ด้วย แล้วมันเป็นอย่างไร

น้อ …..ลืมอีกแล้วเรา ทบทวนความจำก่อน………… นึกออกแล้ว……..เราทำงานบอกรับวารสาร ต้องไปเขียนขั้นตอนการทำงานการบอกรับวารสาร หรือเพื่อนๆ อยากรู้วิธีการบอกรับก็ถามได้นะจ๊ะ ไม่หวง หรือจะให้เราบอกรับวารสารให้ก็ได้จ๊ะ ขอให้มี Money วันนี้เลยถือโอกาสเขียนภาษาอังกฤษเล็กน้อย

ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ KM

KM (Knowledge Management) คือการสร้างฐานความรู้ขององค์กร เพื่อประโยชน์ในการทำงาน

จุดประสงค์ของการทำ KM คือการส่งเสริมให้คนในองค์กรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน

(Knowledge Sharing) โดยเฉพาะการแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ของแต่ละคน (Tacit Knowledge) ซึ่งถือเป็นความรู้ที่มีค่าที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล เพื่อทำให้ Tacit Knowledge กลายเป็น ความรู้ที่ปรากฏแจ้งชัด (Explicit Knowledge) ซึ่งผู้อื่นสามารถเรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

คำศัพท์

KM ย่อมาจาก Knowledge Management หมายถึง การจัดการความรู้

Explicit Knowledge หมายถึง ความรู้ที่แจ้งชัด หรือความรู้ชัดแจ้ง ความหมายเดียวกันจ๊ะ แล้วแต่จะเรียก หรือแล้วแต่จะเขียนใช้ได้

Knowledge Sharing หมายถึง การแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้กัน ตัวอย่างเช่น เรามาเขียนภาษาอังกฤษ กันวันละประโยค จะเป็นสำนวน หรือ สุภาษิต คำศัพท์ ก็ได้ นั่นแหละคำว่า แบ่งปันความรู้แล้วเราก็มาเขียน หรือ คุยกัน แลกเปลี่ยนกันตามอัธยาศรัย

Tacit Knowledge หมายถึง ความรู้ที่ฝังลึกที่อยู่ในตัวบุคคล หรือ ความหมายอีกนัยหนึ่ง เมื่อคนๆ หนึ่งสามารถทำอะไรได้พิเศษกว่าคนอื่น หรือมีความสามารถพิเศษ สิ่งนั้นคือ ความรู้ที่ฝังลึกที่อยู่ในตัวบุคคล

สนใจข้อมูลเกี่ยวกับ KM เพิ่มเติม หาอ่านได้ที่

วิทยาจารย์. ปีที่ 103 ฉบับที่3 (มค.2552) หน้า 80-86

http://gotoknow.org/blog/paew/83849

One thought on “ภาษาอังกฤษนอกกะลา

  • มาขยายความต่อ เพราะอาจจะหลงลืม… ความรู้ประเภท Tacit เป็นความรู้ที่มีความจำเป็นกับหน่วยงาน เพราะไปค้นหรือหาอ่านที่ไหนก็ไม่ได้ ฝังติดตัวคนไปตลอด อย่างเช่น พี่มานิตย์ ดูภายนอกออกจะโหดๆ กลับปลูกต้อไม้ได้ง้ามงามดูอย่างกระบองเพชรที่ระเบียงนั่นปะไร อันนี้ถือเป็นเทคนิคเฉพาะตัว เฮ้วๆ อย่างน้องกอล์ฟ ก็ซ่อมหนังสือได้อย่างเรียบร้อยโดยที่ไม่ได้อ่าหนังสือเรื่องการซ่อมมาก่อน แต่ได้เรียนรู้จากความรู้เฉพาะบุคคลที่รุ่นพี่เพียรสอน ปัญหาคือทำอย่างไรที่จะดึงความรู้เหล่านี้ออกมจากรุ่นพี่ๆ ที่ต่อไปก็จะเกษียณ ออกไปให้รุ่นน้องให้มากที่สุด เพราะุรุ่นน้องในวันนี้ก็คือรุ่นพี่ในวันหน้าที่เขาจะต้องเป็นหลักต่อไป
    การดึงความรู้มีวิธีการมากมาย แต่วิธีการเหล่านั้นก็ไม่สามารถดึงอะไรๆ ออกมาได้ทั้งหมด หรือออกมาพร้อมๆ กัน เรื่องพวกนี้จึงต้องอาศัยเวลาเก็บเล็กผสมน้อย
    แต่การเก็บเล็กผสมน้อย หากไม่ได้บันทึกไว้ก้อาจจะหลงลืม ก็เลยต้องมีการค่อยๆ จดบันทึก ค่อยๆ รวบรวม แล้วค่อยๆ เอามากลั่นกรอง เลือกหยิบเนื้อหาในมุมของแต่ละคน แล้วนำมารวมกันพัฒนาเป็นคู่มือในการทำงานที่เกิดจากความร่วมมือและทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งก็น่าจะดีกว่าคู่มือที่เขียนโดยคนเดียว ในมุมมองเดียว ลองนึกภาพคู่มือต่างๆ พอเวลาเราอ่านแล้วเกิดความสงสัยแต่ไม่มีเนื้อหาบอกกล่าว นั่นก็เพราะมุมนั้นคนเขียนไม่ได้นึกถึงจึงละไป
    แต่การเขียนในลักษณะวิชาการคนอาจไม่ชอบ จึงให้เขียนแบบเล่าเรื่อง บันทึกเรื่องราว สมัยก่อนมีการเขียนและจดบันทึกแบบนี้ เช่น จดหมายเหตุต่างๆ พระราชหัตถเลขา ปูม diary อย่างในซีรี่ย์เกาหลีก็จะมีคนคอยการบันทึก หรือมีจิตรกรมาวาดรูป (แทนการถ่ายรูป) ฯลฯ
    เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา มีการสร้างเครือข่ายสังคมในโลกของออนไลน์แบ่งปันกันทั่วไป Web 2.0 เข้ามาทำให้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสร้างเนื้อหาของตัวเองได้ในโลกของอินเทอร์เน็ต สมัยก่อนไม่ใช่ต้องให้คนที่ทำหน้าที่นี้นำเรื่องราวขึ้นไปเพียงคนเดียว
    กระบวนการ KM ใช้ blog เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    ลองเข้ามาเล่าเรื่องบ่อยๆ บางทีงานที่เรายังหาทางไปไม่ได้ หากได้นำมาบอกเล่าให้พี่น้องรู้ พี่น้องจะได้เข้าไปช่วยเหลือ เข้าไปช่วยคิดต่อให้ได้ ลองดูนะ
    ส่วนระบบที่เราไม่คุ้นเข้ามาบ่อยๆ ก็จะคุ้นโดยอัตโนมัติ ดูอย่างระบบที่น้องกาญน์ทำซิ ยากกว่านี้มากมายยังอยู่กับมันได้ เอาใจช่วยค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร