การเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ในเรื่องของการทำงาน

การเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ในเรื่องของการทำงาน
          การเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ได้หมายความว่า ปล่อยเวลาว่างให้สูญเปล่า หรือปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ทำอะไร แต่มีความหมายว่า ใช้เวลาทำงานไป 2 ชั่วโมง ทั้งๆ ที่ควรจะทำงานเพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งมีสาเหตุหลายๆ อย่าง อันเนื่องมาจากอุปนิสัยของเราที่ทำให้เราเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ การเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์มีดังนี้
1.  ชอบแบกรับภาระ
          การแบกรับภาระ คนที่ไม่กล้าปฏิเสธผู้อื่น และเป็นคนที่ทุ่มเทกับงานเป็นอย่างมากนั้น มักจะเกิดความผิดพลาดขึ้นคือ รับงานเข้ามาทำมากเกินไป จนกระทั้งแม้ในแผนงานประจำวันจะถูกอัดแน่นไปด้วยงานสำคัญ จนหมดเวลาแล้วก็ไม่กล้าปฏิเสธ เมื่อถูกขอให้ทำงานเพิ่ม จนกระทั้งไม่สามารถบรรจุงานทั้งหมดลงไปในแผนการประจำวันได้  ผลที่สุดต้องใช้เวลาหลังเลิกงาน เวลาในวันหยุดซึ่งควรเป็นเวลาสำหรับให้ตัวเองและครบครัวมาทำงาน แต่ก็ยังไม่สามารถทำงานให้เสร็จไปได้ด้วยดี วิธีแก้ไขคือ
          1. ฝึกปฏิเสธอย่างนุ่มนวล เพื่อไม่ให้เสียสัมพันธภาพระหว่างบุคคล หรือ จะใช้วิธี saying yes to a person , saying to the trust เช่น เพื่อนให้ไปหาในเวลาที่เรายุ่งอยู่ แทนที่เราจะปฏิเสธ เราอาจจะบอกว่า ได้ครับ แต่เดี๋ยวผมทำงานนี้เสร็จแล้วจะรีบไปหานะครับ แล้วเราก็ทำงานต่อไปได้ แล้วถ้าเรายังทำงานไม่เสร็จเราก็ไม่ต้องไป
          2. ฝึกปฏิเสธอย่างนุ่มนวลเพื่อเอาเวลามาทุ่มเทกับงานที่มีเป้าหมายเป็นอับดับแรกและทำให้ดีที่สุด
          3. ฝึกปฏิเสธอย่างนุ่มนวลถึงแม้ว่าเขาจะทำงานไม่ดีเท่าเราก็ตาม แต่ถ้าผลงานพอที่จะรับได้ก็ให้ทำไป ถ้าได้ทำบ่อยก็จะดีขึ้นเอง การเก็บงานไว้ทำเองมากเกินไป อาจทำให้เราไม่มีเวลาไปทำงานที่มีความสำคัญและมีคุณค่ามากกว่าแล้ว ยังทำให้เราไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอีกด้วย ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมส่วนตัวด้วย เช่น ไม่ควรทำการบ้านให้ลูก หรือไม่ควรต่อเติมบ้านเอง
สรุปวิธีแก้ไข
           1) ฝึกที่จะปฏิเสธอย่างนุ่มนวล
          2) ปฏิเสธการทำงานที่ไม่ใช้เป้าหมายของการทำงานหรือปฏิเสธกิจกรรมที่ไม่ใช่เป้าหมายของชีวิต
          3) พยายามมอบหมายงานให้คนอื่นทำให้มากที่สุด
2. ชอบความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
          คนที่ชอบความสมบูรณ์แบบจะเป็นคนที่พิถีพิถันกังงานมาก งานที่เขาทำจะต้องดีที่สุด จะต้องไม่ผิดเลย  และเขาจะพึงพอในในความเป็นคนสมบูรณ์แบบของเขามาก เขามักจะลืมว่าเข้าจ่ายเวลาไปมากมายเพื่อให้งานดีขึ้นอีกเล็กน้อย คนเหล่านี้อาจใช้เวลาครึ่งชั่วโมงในการเขียนรายงานให้เสร็จ แต่ใช้เวลาแก้ไขรายงาน 1 ชั่วโมง แก้ไขคำพูด วลี หรือการเว้นวรรค  ขึ้นย่อหน้าใหม่ เพื่อให้ดูสละสลวยขึ้นกว่าเดิม  หรือการใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการเตรียม Powerpoint แต่ใช้เวลาทั้งวันในการตกแต่งให้สวยงาม  จริงอยู่ว่าการใช้เวลาเพื่อให้ผลงานที่ดีขึ้นเป็นการดี แต่อย่าลืมเปรียบเทียบผลงานกับเวลาที่เสียไปว่าคุ้มค่ากันหรือไม่
กฎ 80-20 ว่าเราใช้เวลา 20 เปอร์เซ็นทำงานเสร็จไปแล้ว 80 เปอร์เซ็น และใช้เวลาอีก 80 เปอร์เซ็ตเพื่อทำงานอีก20 เปอร์เซ็น
“พิถีพิถันกับงานมากเกินไป ต้องจ่ายเวลาไป อีกมากมาย เพื่อให้งานดีขึ้นอีกเล็กน้อย”
3. ช่างวิตกกังวล
          การคิดรอบคอบเป็นการดี แต่บางครั้งการคิดมากเกินไปทำให้เรากลายเป็นคนวิตกกังวลในงานมากเกินกว่างเหตุ ทำให้เราไม่กล้าตัดสินใจว่าจำทำอย่างไรดี จนไม่กล้าที่จะเริ่มงาน กลัวว่าจะทำงานผิดพลาด กลัวว่าผลงานไม่ดี กลัวว่าไม่ถูกใจนาย ความวิตกกังวลเหล่านี้ทำให้เราได้แต่จดๆจ้องๆ ไม่กล้าลงมือทำงาน หรือไม่กล้าตัดสินใจเกี่ยวกับงาน  ให้เวลาคิดหาวิธีอย่างรอบคอบถึงข้อดีข้อเสีย อาจในวิธีเขียนข้อดีข้อเสียในกระดาษ พิจารณาให้ดีก็ตัดสินใจ เมื่อตัดสินใจแล้วก็ลงมือทำ โดยไม่ต้องกลับมาคิดอีก มิฉะนั้นจะกลายเป็นคิดวกวน
4. ช่างฝัน
          คนบางคนมีนิสัยชอบเพ้อฝัน วันหนึ่งๆ เอาแต่คิดว่าจะทำนั้นทำนี้ตลอดเวลา แต่เมื่อรู้ว่าจะทำอะไรก็เอาเพ้อฝันว่าจะทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ เพ้อฝันโดยไม่ลงมือทำจริงสักที ผลสุดท้ายเวลาก็หมดไปโดยไม่ทำอะไรเลย อย่าเอาแต่เพ้อฝัน ลงมือทำจริงๆ ดีกว่า เพราะเวลาไม่คอยใคร
5. ชอบทำงานแบบไฟล้นก้น
          การทำงานแบบไฟล้นก้นคือ การไม่ยอมทำงานหากยังไม่ถึงกำหนด deadline ต่อให้มีเวลาว่างอยู่ก็ตามบางทีก็อ้างว่าคิดไม่ออก ไม่รู้จะทำอย่างไรดี แต่เมื่อถึง deadline ก็จะคิดออกทันทีทั้งที่ไม่ได้มีข้อมูลใหม่เลย การรอให้ถึง deadline นั้น เป็นสาเหตุให้เราต้องทำงานอย่างเร่งรีบ การทำงานอย่างเร่งรีบโดยเฉพาะถ้างานนั้นเป็นงานที่สำคัญจะเป็นสาเหตุให้เราเกิดความเครียด และทำผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
 
แหล่งอ้างอิง : ตัดตอนจาก วิชาการสื่อสารและการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (จากการอบรมหลักสูตรออนไลน์ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร