สำเนาถูกต้อง

ช่วง 2 เดือนที่แล้ว หอสมุดฯได้สั่งซื้อหน้งสือกับสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นการสั่งซื้อแบบใช้เครดิต (เงินเชื่อ) ดังนั้นจึต้องติดต่อขอเอกสาร ข้อมูลหลักผู้ขาย เพื่อส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน ซึ่งเอกสารทุฉบับต้องมีการเซ็นสำเนาถูกต้อง
เริ่มด้วยสำนักพิมพ์แห่งนี้ เจ้าของเป็นชาวต่างชาติ เราคือบรรณารักษ์ก็มาคิดกันว่า ต้องเซ็นสำเนาถูกต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่อย่างไร ก็เริ่มต้นสังสัยและหากันว่า หากต้องต้องเขียนรับรองเอกสารต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ ต้องรับรองสำเนาเป็นภาษาอังกฤษ จะเขียนกันอย่างไร
ก็พบว่ามีกันหลายวิธี หลายข้อความ เช่น
การเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องบนเอกสาร ภาษาอังกฤษใช้ว่า certified true copy หรือ certified copy
และถ้าต้องการบอกว่าจะนำเอาเอกสารไปประกอบการทำอะไรจะเขียนว่า Used For …………. Only
ตัวอย่างเช่น ถ้าจะเขียนว่าสำหรับประกอบการสมัครเท่านั้น จะเขียนว่า Used For Registration Only แล้วค่อยเซ็นชื่อกำกับ
หรือใช้คำว่า Certified correct copy
หรือ I cettify that the obove statement is true
จะใช้กรณีที่รับรองข้อความ เวลาหนังสือไทยจะเขียนประมาณว่า ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ข้อความที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดเป็นความจริงทุกประการ
ลองดูนะคะเพราะบางครั้งเราอาจต้องมีการติดต่อทำธุระกับชาวต่างชาติหรือต้องไปทำธุระต่างประเทศ ซึ่งจะต้องรับรองสำเนาเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ หรือถ้าใครมีคำอื่นที่ใช้จะมาบอกกันบ้างก็ได้จ้า 😆 
ปล. ตื่นเต้นหากับแทบแย่ ปรากฎว่าไม่ได้ใช้ เพราะ สำนักพิมพ์มีเจ้าหน้าที่เป็นคนไทย เจ้าหน้าที่เลยเขียนคำว่า สำเนาถูกต้อง 
แล้วให้ เจ้าของสำนักพิมพ์ลงชื่อมาเท่านั้น 😳  :mrgreen: 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร