การเรียงชั้นหนังสือ

 :mrgreen: การปฏิบัติงานช่วงล่วงเวลาวันเสาร์และวันอาทิตย์ สิ่งที่พบบ่อยครั้งคือ ผู้ใช้บริการหาหนังสือที่ชั้นไม่พบ ซึ่งเมื่อผู้ใช้มาติดต่อสอบถาม ตัวผู้เขียนในฐานะหัวหน้าเวรล่วงเวลา จะสอบถามผู้ใช้ เช่น
1. จดเลขหมู่หนังสือมาไหมค่ะ ขอดูเลขหมู่หนังสือที่จดหน่อย (เนื่องจากในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลางจะรวมข้อมูลทรัพยากรไว้ทั้งสามวิทยาเขตและรวมถึงห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ด้วย) ดังนั้นต้องตรวจสอบว่าเลขหมู่ที่ผู้ใช้จดมานั้นเป็นของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์หรือไม่
2. ถ้าเลขหมู่ที่จดมาถูกต้อง และไปดูที่หนังสือไม่พบ ต้องสอบถามว่า ผู้ใช้ได้ไปดูที่ชั้นพักหนังสือของแต่และชั้นหรือไม่ หากผู้ใช้ตอบว่าดูทั้งสองแห่งแล้ว ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องไปสำรวจดูที่ชั้นอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีหนังสือเล่มนั้นๆ อยู่ที่ชั้นเรียงปกติ หรือที่ชั้นพักจริง
บางครั้งผู้ปฏิบัติงานพบว่าไม่มีหนังสือที่ชั้นเรียงและชั้นพักจริง ซึ่งอาจคาดกาณณ์ได้ว่า มีผู้ใช้ท่านอื่นๆ หยิบไปใช้หรือไปอ่านภายในหอสมุดฯ หรือ อาจเกิดกรณีการเรียงผิดชั้นๆได้ ก็จะแจ้งผู้ใช้ไป แต่ถ้าหากผู้ใช้ต้องการหนังสือเล่มนั้นมากๆ ก็ต้องให้ผู้ใช้ไปกรอกแบบฟอร์มหาหนังสือไม่พบ เพื่อให้หอสมุดฯ ดำเนินการหาหนังสือเล่มนั้นใให้ แต่บางครั้งผู้ใช้ก็จะบอกว่าไม่เป็นไร ไปใช้เล่มอื่นก็ได้
บางครั้งเมื่อผู้ปฏิบัติงานไปหาหนังสือที่ชั้นเรียงปกติ หนังสือก็อยู่ที่ชั้นเรียงตามปกติ ก็จะได้คำตอบจากผู้ใช้ว่า ตอนที่ผม/หนูค้นหนังสือ จะมองไล่ไปทางนี้ มองไปทางโน้น มองลงมา มองขึ้นไป ซึ่งทำให้เดาได้ว่า ผู้ใช้บริการบางคนไม่รู้และไม่คุ้นเคยกับการเรียงขั้นหนังสือของหอสมุดฯ
โดยปกติหอสมุดฯ จะนำหนังสือที่ดำเนินการทางเทคนิคเรียบร้อยแล้ว เช่น การประทับตรา กำหนดหมวดหมู่ หัวเรื่อง  การติดสันเรียบร้อยแล้ว นำไปการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามหมวดหมู่ เพื่อทำให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาสามารถเข้าถึงหนังสือที่ต้องการได้รวดเร็ว และทำให้หนังสืออยู่ในที่ที่ควรอยู่บนชั้น และทำให้ชั้นหนังสือเป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดเวลา
หลักการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น การเรียงเล่มหนังสือบนชั้นจะเรียงตามลำดับตัวอักษร และตัวเลข ของเลขเรียกหนังสือโดยเรียงตามลำดับ เลขหมู่ แล้วจึงเรียงตามลำดับ เลขหนังสือหรือเลขประจำผู้แต่ง และปีพิมพ์
จัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ เรียงจากซ้ายมือไปขวามือ และเรียงจากชั้นบนลงมาชั้นล่างของหนังสือ เรียงหนังสือจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก
หลักเกณฑ์ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น

  1. เรียงจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง
  2. จัดเรียงบนชั้นแยกตามหมวดหมู่หนังสือ
  3. หนังสือหมวดหมู่เดียวกันให้เรียงเลขน้อยไปหามาก
  4. หนังสือหมวดหมู่เดียวกัน เรียงลำดับตามอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง ถ้าอักษรผู้แต่งเหมือนกัน ให้เรียงตามเลขประจำตัวผู้แต่ง จากเลขน้อยไปหาเลขมาก
  5. หนังสือที่มีหมวดหมู่เดียวกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน และชื่อเรื่องเดียวกัน ให้เรียงตามปีพิมพ์ใหม่ ก่อนปีพิมพ์เก่า
  6. หนังสือที่มีหลายเล่มจบ (Volume) จัดเรียงตามลำดับเล่มที่
  7. หนังสือที่มีหลายเล่มจบ และมีหลายปีพิมพ์ให้เรียงตามลำดับเล่ม และปีพิมพ์ใหม่มาก่อน
  8. หนังสือที่มีซ้ำเล่ม (Volumes) และมีหลายฉบับ (Copies) ให้เรียงตามลำดับเล่มและฉบับ
  9. หนังสือที่มีหมวดหมู่เป็นจุดทศนิยม ตัวเลขหลังจุดทศนิยมให้เรียงตามลำดับตัวเลข

ส่วนใหญ่ การจัดชั้นหนังสือจะเหลือที่บริเวณด้านขวาไว้พอประมาณ หรือ 1 ใน 4 ของพื้นที่ของชั้นนั้น ๆ เพื่อเผื่อสำหรับการขยายตัวของหนังสือในโอกาสต่อไป

รูปภาพการเรียงชั้นหนังสือของหอสมุดฯ
แหล่งอ้างอิง : http://www.snc.lib.su.ac.th/libmedia/e-book/Banjong-book%20on%20shelves.pdf
ปล. หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ได้เคยจัดทำ”คู่มือจากการจัดการความรู้เรื่อง การเก็บและจัดชั้นหนังสือ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์” เมื่อปี 2553 ติดตามได้ตาม Link แหล่งอ้างอิงได้เลยค่ะ 😀 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร