Stockholm syndrome

ช่วงสัปดาห์ก่อนดิฉันเสพข่าวเรื่องการรับน้องมหาวิทยาลัยจนจิตตก มีคนเขียนแสดงความคิดเห็นว่าแนวคิดในบางเรื่องเข้าข่าย Stockholm syndrome งงกับคำศัพท์คำนี้ เพราะไม่รู้จักว่าคืออะไร รู้จักแต่ Office syndrome ซึ่งเมื่อนานมาแล้วคุณอ้อชอบเขียน จึงไปหาอ่านเพื่อคลายความสงสัยของตนเองและดูว่าตัวเรานั้นจะเข้าข่ายหรือไม่ :mrgreen: และเห็นว่าน่าจะนำมาเล่าสู่กันอ่าน
 
Stockholm syndrome คือ อาการทางจิตที่เกิดขึ้นกับตัวประกันหรือเชลยที่ถูกจับตัวไป และได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนร้ายในสถานที่อันจำกัดเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันระหว่างกัน ก่อเกิดความเห็นอกเห็นใจ สงสาร จนในที่สุดตัวประกันอาจเห็นผิดเป็นชอบไปกับคนร้าย กลายเป็นพวกเดียวกันเลยก็มี หรือบางเคสอาจโดนคนร้ายขู่ซ้ำ ๆ ว่าหากเหยื่อกระโตกกระตาก แจ้งตำรวจ จะทำร้ายหรือฆ่าทิ้งให้รู้แล้วรู้รอด ซึ่งตัวประกันก็จะรู้สึกหวาดกลัว และโอนเอียงไปในทางร่วมมือกับคนร้าย และทำตามความต้องการของคนร้ายอย่างว่าง่ายมากขึ้นได้ ปัจจัยที่ทำให้ตัวประกันเห็นใจคนร้ายมากขึ้น นั่นก็อาจเป็นเพราะโจรที่จับตัวประกันไปไม่ได้มีพฤติกรรมเลวร้ายจนเหยื่อทนไม่ได้ หนำซ้ำยังอาจดูแลเอาใจใส่เหยื่อเป็นอย่างดี ทำให้เหยื่อเกิดความรู้สึกผูกพันมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่คิดจะหลบหนีหรือดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากการจับกุมแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้ก็จะเพิ่มความลำบากในการติดตามหาเหยื่อ หรือหากจับกุมคนร้ายได้แล้วก็อาจดำเนินคดีความกับคนร้ายได้ไม่มากเท่าที่ควร  ส่วนในเรื่องการบำบัดรักษาสตอกโฮล์ม    ซินโดรม ยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่ชัด แต่อาจบำบัดอาการได้โดยอาศัยเวลา ที่จะทำให้ความรู้สึกผูกพันกับคนร้ายนั้นค่อย ๆ เจือจางลงไปด้วยตัวของมันเอง (https://health.kapook.com/view154493.html) นักจิตวิทยาวิเคราะห์ ว่าเป็นพฤติกรรม “สองดอกจิก แหม่มโพธิ์ดำ” หรือที่ทางธรรม เรียกว่า เห็นผิดเป็นชอบ  เกิดจากความใจอ่อนสงสารสัตว์โลกผู้ชะตาตกต่ำ (http://www.vibhavadi.com/health402.html
 
สองดอกจิก แหม่มโพธิ์ดำ คือสเปโต ที่คนเล่นรัมมี่จะเข้าใจดี ส่วนดิฉันไม่เล่นจึงไม่ค่อยอินเท่าไร
 
มีนิยายไทยหลายเรื่่องที่ใช้พล๊อต Stockholm syndrome ตบจูบๆ แล้วรักเลย ที่รู้จักและนึกออกทันทีคือจำเลยรัก และมนต์อสูร ส่วนฝรั่งก็ไม่น้อยหน้า มีผู้สรุปไว้จำนวน 15 เรื่อง ใน https://thematter.co/life/stockholm_syndrome_movies/28961    คือ Beauty and the Beast : Belle / 3096 Days : Natascha Kampusch / King Kong : Ann Darrow / In Time : Sylvia Weis / The Chase : Natalie Voss / Buffalo ’66 : Layla / Labor Day : Adele / V for Vendetta : Evey Hammond / Tie Me Up Tie Me Down : Marina Osorio / Interrogation  : Antonina / Bandits : Kate Wheeler / Out of sight : Karen Sisco / The 39 steps : Pamela / Elle : Michèle Leblanc / Highway : Veera
 
อ่านชื่อเรื่องแล้วยกมือทาบอก เพราะบางเรื่องดิฉันเคยเสียน้ำตาให้กับผู้ร้าย !!!!!  นี่เราอยู่ในข่าย syndrome ชัดๆ  😥
 
MATTER ฉบับเดือนที่แล้ว มีบทความเรื่อง “เอาใจทุกคน ผลคือความฉิบหาย : การเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ อันตรายมากกว่าที่คิด” อ่านแล้วอื้อฮือ เพราะ นักจิตวิทยาเตือนว่า ความที่ต้องการเอาใจทุกคน (People-Pleasing) จนกลายเป็นคน ‘อะไรก็ได้ ‘เนี่ย จริงๆ แล้วเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของคนๆ นั้น แน่นอนล่ะว่า ตามทฤษฎีของมาสโลว์แล้ว เราต่างปรารถนาจะเป็นที่รัก ที่ชื่นชม และที่ยอมรับของคนอื่นๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการ ‘อะไรก็ได้’ ความปรารถนานั้นจะถูกขับดันด้วยระบบประสาท (Neurotic Desire) จนบั่นทอนสุขภาพ ความคิด บุคลิกภาพ และส่งผลเสียเรื้อรังด้วย   ลองอ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ https://thematter.co/rave/people-pleasing/33808
 
อ้าวววว!!!! พยายามอ่านบทความทวนหลายๆครั้ง แล้วเกาหัวแกรกๆ  🙄
 
เขียนดราฟท์ไว้หลายวันจนเมื่อวันอาทิตย์ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาก มี TEDxSilpakornU ดร. ข้าว ต้นสมบูรณ์ บอกว่า “เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเป็นเหยื่อของอารมณ์ EGO และความลำเอียง เมื่อนั้นคุณจะเป็นโรคไม่เอ๊ะ”

ดิฉันคุ้นเคยกับคำนี้จากการอบรมเรื่อง จากงานประจำสู่งานวิจัย ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธ์ุ บอกว่าเวลาทำงานเราต้อง “เอ๊ะ” !!!
 
พอนำทั้ง3 เรื่องมาเรียงกัน งั้นขอเก็บโรค “เอ๊ะ” มีไว้คานน้ำหนักกับอาการต่างๆ แล้วกัน เพราะอยากอยู่ตรงกลางที่ไม่ใช่หว่างใจ 😛

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร