นิทรรศการเสนอหน้า

กิจกรรมที่ทำเป็นประจำทุกๆปีของฝ่ายวิเคราะห์ฯ คือ การไปซื้อหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติในช่วงปลายเดือนมีนาคม ต้นเดือนเมษายนของทุกปี  (ปีนี้งานจัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม – 10 เมษายน 2559) กับงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติที่จัดประมาณเดือนตุลาคม (ปีนี้งานจัดวันที่ 13-24 ตุลาคม 2559) ระหว่างไปงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่นั้นสิ่งหนึ่งที่ชอบคือ การดูนิทรรศการที่จัดภายในงาน ปีนี้งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติมีนิทรรศการชื่อเรื่องว่า “เสนอหน้า” Theme ของนิทรรศการ เป็นเรื่องราวเบื้องหลัง 6 อาชีพของคนทำหนังสือ ได้แก่

  1. บรรณาธิการ – จัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัด ควบคุม
  2. นักเขียน – คนเขียน ถ่ายทอด เรื่องราว ความรู้
  3. นักแปล – แปลความให้ถูกต้อง ครบถ้วน
  4. นักพิสูจน์อักษร – ตรวจตัวสะกด คำให้สื่อถูกความ
  5. กราฟิคดีไซน์เนอร์ – ออกแบบ ดีไซน์ หนังสือ สื่อสารทางการมอง
  6. นักวาดภาพประกอบ – ตกแต่ง สร้างอารมณ์ให้น่าดู น่าอ่าน สร้างเนื้อหา แง่คิดผ่านภาพ

 
 
 
 
 
 
 
 
เนื้อหาของนิทรรศการกล่าวถึงการทำงานของทั้ง 6 อาชีพ คือ

บรรณาธิการ ที่ต้องมีความรู้ในงานต้นฉบับเป็นอย่างดี เพราะกว่าหนังสือหรือต้นฉบับจะจัดพิมพ์ออกมาเป็นเล่ม ต้องผ่านกระบวนการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาและภาษา ซึ่งบรรณาธิการต้องอาศัยความร่วมมือจากนักเขียนในการตรวจทานความถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ของบรรณาธิการต้นฉบับโดยตรง ถ้าเป็นงานแปลบรรณาธิการแปลมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับแปล ซึ่งต้องตรวจทั้งความถูกต้องของการแปลและขัดเกลาสำนวนงานแปลให้สละสลวย นอกจากนี้หากเป็นบรรฺณาธิการวารสารหรือนิตยสาร บรรณาธิการยังต้องกำหนดแนวของนิตยสารแต่ละเล่ม พร้อมกับต้องหานักเขียนเพื่อให้เข้ากับแนวทางหรือหาของนิตยาสาร ให้โจทย์กับคนออกแบปก คิดคำโปรย หาภาพประกอบ สร้างสไตล์หรือเอกลักษณ์ของนิตยสารชื่อนั้น


(https://www.facebook.com/1168group/photos/pcb.1396358883725139/1396346707059690/?type=3&theater)

นักเขียน หากถามว่านักเขียนคือใคร คำตอบแบบกว้างที่สุดคือ คนที่เขียนหนังสือขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดการศึกษาค้นคว้า ประสบการณ์ ความคิดเห็นตลอดจนจินตนาการให้ผู้อื่นได้รับรู้ การได้ซึ่งวัตถุดิบ รูปแบบการเขียน เป้าหมายในการเขียนของนักเขียนแต่ละคนจะแตกกต่างกันไป และไม่มีนักเขียนคนใดสามารถเขียนเรื่องขึ้นมาด้วยความสามารถและจินตนาการของตนเองล้วนๆ ได้

นักแปล อาชีพที่มีความสำคัญคือเป็นผู้สร้างความเข้าใจระหว่างคนต่างภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ มีความสำคัญในทุกยุคทุกสมัย  นักแปลไม่ใช่มีหน้าที่แค่แปลงานจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง แต่ต้องปลให้ครบถ้วนทั้งความหมายตรง ความหมายแฝง รวมทั้งบริบททางวัฒนธรรม และความเชื่อ จงเป็นงานที่ท้าทายสำหรับผู้เรียนภาษาต่างประเทศและผู้รู้ภาษาไทยที่ต้องแปลงานจากภาษาอื่นมาเป็นภาษาไทย การแปลเป็นงานสร้างสรรค์ แต่ต้องไม่เสริมเติมแต่ง จนผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ นักแปลใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์หลายสาขา จึงเป็นอาชีพที่ต้องมีมาตรฐานเพื่อให้ผู้รับสารได้อ่านงานแปลที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์


(https://www.facebook.com/1168group/photos/pcb.1396358883725139/1396346707059690/?type=3&theater)
นักพิสูจน์อักษร หากมีคนถามว่า พิสูจน์อักษร พิสูจน์อะไรบ้าง ขั้นแรกสุดหรือต่ำสุดคือ การตรวจตัวสะกดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่เป็นมาตรฐานการสะกดคำ คนฟังอาจดูว่าง่าย เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ระบบการตรวจคำผิดอยู่ แต่ คนพิสูจน์อักษรต้องเข้าใจความหมายของคำแต่ละคำเป็นอย่างดี ซึ่งต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนด้วยว่าคำที่ใช้นั้นสื่อความหมายถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของประโยคหรือไม่ เพราะแม้ว่าจะสะกดถูก แต่นักเขียนอาจใช้ความหมายผิดก็เป็นไปได้

(https://www.facebook.com/1168group/photos/pcb.1396358883725139/1396346707059690/?type=3&theater)
กราฟิกดีไซน์เนอร์ งานกราฟิกดีไซน์กลายเป็นสิ่งที่คนทำหนังสือให้ความสำคัญ ในยุคที่คนกำลังมองว่าหนังสือเป็นสื่อกแป็นภาพมิติเดียว หากเทียบกับความน่าตื่นเต้นเร้าใจจากจอภาพยนตร์ และจอคอมพิวเตอร์ ที่ทั้งภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง ซึ่งการออกแบบหนังสือที่ดีช่วยให้ สะดุดตา รักษาเอกลักษณ์ของสำนักพิมพ์ คนอ่านได้ดื่มด่ำอรรถรสจากการเสพผ่านสื่อกระดาษมากขึ้น ดังนั้นการใช้ตัวพิมพ์จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง การจัดวางงระยะ การใช้แบบตัวอักษร กราฟิกดีไซน์เนอร์จะต้องเข้าใจในความแตกต่าง รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของแบบตัวอักษรและเลือกใช้ได้ตรงตามจุดประสงค์ และตัวพิมพ์ที่ดียังแสดงอารมณ์ออกมาให้เห็นได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือ เพราะตัวพิมพ์ไม่ใช่แค่สื่อ แต่เป็นสาร

(https://www.facebook.com/1168group/photos/pcb.1396358883725139/1396346707059690/?type=3&theater)
นักวาดภาพประกอบ สิ่งสำคัญที่นักวาดภาประกอบต้องมีคือ 1) มุมมองต่อโลก – บุคลิกของคนๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญ 2) การตัดสินใจ – การเลือกที่จะพูดเรื่องไหน และเลือกที่จะไม่พูดเรื่องไหน 3) ความเป็นคนช่างสงสัย – นักวาดภาพประกอบต้องพบบทความหลายๆ ประเภท ตั้งแต่เรื่อง ทางวิทยาศาสตร์ จนถึงเรื่องซุบซิบดารา ดังนั้นการมองว่า อะไรคือสิ่งสำคัญหรือสิ่งที่น่าสนใจที่จะนำมาแสดงเป็นสิ่งสำคัญ ภาพประกอบที่ดีต้องช่วยเสริม เพิ่มเติม มุมมองการรับรู้อีกมุมที่นอกเหนือจากนักเขียนบทความ เพื่อเพิ่มประสบการณ์กับผู้อ่านบทความนั้นๆ ภาพประกอบมีประโยชน์ในการช่วยสร้างอารมณ์ให้กับบทความ หรือช่วยให้บทความที่ยากๆ เข้าถึงหรือเข้าใจได้ง่ายขึ้น
บรรยากาศการจัดนิทรรศการ :
     
แหล่งอ้างอิง :
นิทรรศการ “เสนอหน้า” ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติครั้งที่ 21 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-24 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/1168group/photos/pcb.1396358883725139/1396346707059690/?type=3&theater

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร