หาย และ ชำรุด
ได้รับโทรศัพท์ปลายสายมาจากน้องที่หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นห้องสมุดน้องใหม่ของสำนักหอสมุดกลาง ใหม่หมดทั้งคนทำงานและสถานที่ สอบถามเรื่องหนังสือชำรุด และหนังสือหาย ว่าทำกันอย่างไร
จึงมอบหมายให้คุณพี่ติ๋วหาเอกสารตัวจริงๆ ให้ จำได้ว่าเก๊าเก่าเก๋ากึ๊ก จนเป็นเหตุให้เราได้ทำแบบใหม๊ใหม่ พิมพ์บนกระดาษสีเหลืองอ่อน ดังนั้นเวลามีผู้ใช้บริการมาแจ้งหนังสือชำรุด ก็จะห้องกรอกในแบบฟอร์มแจ้งหาย/ชำรุด พร้อมกลับให้คำชี้แจงแจ้งรายละเอียดว่าหนังสือชำรุดหรือหนังสือ ทำอย่างไร ที่สำคัญและเป็นคำตอบสุดท้ายคือ รวมแล้วต้องจ่ายเงินเท่าไร
หลักการคือสองเท่าสิบ บวกกับสิบเปอร์เซ็นต์ บวกด้วยค่าดำเนินการหนึ่งร้อยบาท บวกกับค่าปรับถ้ามี แต่การทำงานจริงๆ มักมีเรื่องจุกจิก จนทำให้เราจู้จี้ กวนใจและกวนอารมณ์ผู้ใช้บริการ เรื่องแบบนี้พี่น้องมักยกให้ดิฉันเป็นผู้เจรจาความ โดยยกยอว่าเป็นผู้มีความสามารถ จึงได้แต่ก้มหน้าก้มตาทำกันปายยยย….
ความจริงแล้วทุกอย่างเป็นเรื่องของประสบการณ์ ใครแก้ปัญหามาก คนนั้นก็จะได้ประสบการณ์มาก ยิ่งปัญหานั้นยากมากเท่าไร เราก็จะได้ประสบการณ์มากขึ้นเท่านั้น เป็นเงาตามตัว ดังนั้นเราจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงปัญหาพร้อมผจญมัน มองให้ทะลุ แล้วจะพบว่าทุกอย่างมีทางแก้ หรือถ้าไม่ไหวจริงสุดจะกล้ำกลืนก็ส่งต่อไปและต่อไป เพราะปัญหามีไว้แก้ไม่ใช่มีไว้ให้ปวดหัว หากจำไม่ผิดคุณ “หนุ่มเมืองจันทร์” เขียนไว้ ในหนังสือชุด ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ
หน้าฝนแบบนี้หนังสือชำรุดบ่อยแม้จะมี ถ ถุง ใส่หนังสือแล้วก็เถอะนะ อ่านต่อที่นี่ค่ะ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=4346
การที่มีหนังสือแบบนี้มาบ่อยๆ อาการของพวกเราคือ ควันออกหู เพราะบ่อยๆ ของเรา แต่เป็นครั้งแรกของเขา ดังนั้นเราต้องทำใจและบังคับตัวเองให้ทำใจว่าเขาไม่เจตนา ไม่เลยสักนิด ก็น่าจะพอเยียวยาไปได้บ้างนะอิอิ ตอนเขียนน่ะเขียนแบบนี้ แต่ตอนจริงๆ ก็หลุดบ้างเหมือนกัน
กรณีศึกษามีมากมายตั้งแต่โดนกระชากกระเป๋า หายไปพร้อมกับรถที่โขมย โดนหมาแทะ ปลวกขึ้น กระต่ายกิน แมวฉี่รด กาแฟหก หลังคาหอพัง น้องเล็กๆ ฉีก ถุงของหอสมุดทะลุ ที่เด็ดสุดบอกว่าแก้วน้ำหวานล้มแล้วไหลมาโดนเอง …..
ลางทีมีคนเดินเข้ามาบอกเลยว่าหอสมุดฯ อยากได้เงินนักศึกษาเพื่อนบอกว่าเสียเงินให้ห้องสมุดตั้งเยอะ ก็บอกว่า น้องคะพี่เป็นชาวพุทธ มีเหตุ ก็ต้องมีผล เรื่องนี้ผลคือเสียเงินเยอะ เหตุคืออะไรรบกวนช่วยตอบพี่หรือรบกวนไปสอบถามเพื่อนให้พี่สักนิดนะคะ พี่จะได้อธิบายได้ถูก การตราหน้าว่าเป็นคนงกนี่ดูแย่จัง เท่ากับที่โดนถามกลับมาว่ามีอะไรกับร้านถ่ายเอกสาร ด้วยเหตุที่หวังดีทะลึ่งแนะนำว่าให้ไปถ่ายเอกสารและเย็บเล่มที่ร้านนี้หรือร้านนั้น
ทุกสถานการณ์พอนำมาเล่าภายหลังแล้วจะฟังดูขำๆ แต่สถานการณ์จริงคือความตึงเครียด แต่ก็พยายามนะ และขอบอกว่า่พูดแบบนี้ไม่สามารถทำได้กับทุกคน ทุกสถานการณ์ ต้องดูตาม้าตาเรือ ตามคำโบราณท่านว่าไว้ เพราะเผลอเมื่อไรมีงานเมื่อนั้น
อีกอย่างหนึ่งคือต้องจริงใจ สงสารก็คือสงสารจริงๆ เห็นใจก็เห้นใจแท้ๆ เราพร้อมที่จะช่วยเหลือ ขณะก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเรากำลังทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของหลวง ดูดิงานฉานนนน…ชิวๆ เนอะ
ทุกเช้าจึงต้องตรวจสอบ เพราะเก็บไว้ไม่ดี ผู้ใช้มักมาพบกับเจ้าหน้าที่ในช่วงล่วงเวลา ดังนั้นจึงต้องมีคำตอบให้กับเจ้าหน้าที่ส่งผ่านไปยังผู้ใช้บริการ แต่บางทีก็จะหลงๆ ลืมๆ อันนั้นท่านพี่ก็มักวิทยายุทธ์ดำเนินการต่อไป และด้วยเกียรติของอนุกาชาดขอสัญญาว่าจะไม่ทำแบบนี้อีก เพราะตอนนี้เก็บโต๊ะจนเห็นพื้นกระจกแล้ว
เมื่อหายครั้งแรกมักให้ชดใช้เป็นตัวเล่มก่อน ซึ่งก็หมายความว่าต้องไปหาซื้อด้วยตนเอง โดยเข้าไปตรวจสอบตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่แหล่งที่มีหนังสือที่หาย/ชำรุดของที่นี่และตามเว็บไซต์อื่นๆ ไม่มี ต้องยกให้่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นอกจะมีหนังสือแบบที่คนอื่นไม่มีแล้ว ผู้ใช้บริการของศิลปากรยังไปง่ายเพราะใกล้กับที่ มศก.ท่าพระ
หนังสือชำรุด หากพอจะเยียวยาได้ ก็มักจะให้ชดใช้ตามสภาพโดยใช้วิจารณญาณ ซึ่งหมายความว่าข้าพเจ้าตัดสินแต่เพียงผู้เดียว พื้นฐานของการตัดสินใจก็คือ หากเป็นหนังสือใหม่ ยืมเป็นคนแรกแล้ว แบบนี้ต้องขอร้องให้ซื้อชดใช้ แล้วบอกว่าเราเอามาแลกกันนะคะ
หากเก่าหน่อยบริการหลายปีแล้ว ชำรุดแบบมองเิมินๆ ได้ เช่น หมาแทะไปสองหน้า จะให้ชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนตามเห็นสมควร คือน้อยกว่าราคาจริง ส่วนใหญ่ต้องมากกว่าหนึ่งร้อยบาท ส่วนตัวเล่มต้องขอแรงให้งานซ่อมฯ ช่วยพลิกฟื้นคืนชีวิต หากเป็นหนังสือบริจาคก็จะใช้หลักการเดียวกัน คือชดใช้เป็นตัวเล่ม หากหาไม่ได้ก็จะให้ถ่ายเอกสารชดใช้แบบโคลนนิ่ง หากไม่ได้ก็จะคิดค่าถ่ายเอกสารหนาละเจ็ดสิบห้าสตางค์ แล้วเข้าขั้นตอนคูณสองที่ว่า… หนังสือปีพิมพ์เก่ากว่า มิอาจรับ ชื่อคล้ายกัน ก็มิอาจเื้อื้อม
ค่าดำเนินการ 100 บาท เรื่องนี้บางครั้งต้องชี้แจงว่าเอาไปทำอะไรบ้าง พี่ๆ มักเป็นผู้บอกรายละเอียดว่าต้องแต่ประทับตรา ………..เรื่อยไปจนถึงนำตัวเล่มออกให้บริการ คือบอกให้เยอะและยุ่งเข้าไว้ หากมีกรณีเด็ดๆ สัญญาว่าจะมาเขียนให้อ่าน
สองปีก่อนมีเพื่อนร่วมวิชาชีพจากสถาบันอื่นถามเป็นกรณีศึกษาในที่ประชุมว่า เคยเจอกันไหมที่ผู้ใช้ใช้กลยุทธ์แบบใต้ดินไม่ย้อมไม่ยอม เสียงตอบว่ามีๆๆๆ กันเซ็งแซ่ แล้วถามว่าเราคิดอย่างไร ก็บอกไปว่าแสดงความคิดเห็นไปตามหน้าที่ ส่วนคำตอบและการตัดสินใจจะเป็นแบบไหนและอย่างไรนั้น เมื่อท่านผู้บริหารว่าไงก็ว่างั้น ดำเนินการตามที่สั่งการ ยุติแล้วขอเก็บเรื่องเข้าแฟ้ม ถูกใจก็เฉยๆ ไม่ถูกใจก็ต้องยิ่งต้องเฉย เพราะเรากับคนนั้นไม่เกี่ยวกัน อารมณ์ต้องไม่เสียเพราะเราจะไม่สวย คนถามก็บอก อ๋อ…แล้วก็เอวังด้วยประการละฉะนี้แล
ปัจจุบันที่หน้าเคาน์เตอร์ของเรา มีจดหมายของน้องเน่ากับน้องรา รวมถึงสารรูปของน้องท้งสองตั้งแสดงไว้ให้ผู้ใช้พิจารณาแบบยุบหนอ… พองหนอ… ความว่า
พวกหนูขอลาก่อน ถึงหนูจะรู้ว่าพี่ๆ ไม่เจตนา ไม่ตั้งใจสักนิด แต่ หนูเจ็บ หนูอาย หนูไม่สามารถมองหน้าใครได้อีกแล้ว ดังนั้น ถังขยะ จึงเป็นที่เดียวที่เหมาะกับพวกหนู ….. ลาก่อน หากชาติหน้ามีจริง หนูจะกลับมาให้พี่ๆ อ่านอีก จาก น้องเน่าและน้องรา
3 thoughts on “หาย และ ชำรุด”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
การชดใช้หนีังสือหาย/ชำรุดที่นำออกให้บริการไม่ได้แล้ว มีมานานตั้งแต่แรกตั้งหอสมุด แต่การชดใช้ (ขอย้ำ ๆๆๆๆๆ จนหมดปัญญาหาหรือได้ตัวเล่มฉบับจริงาทดแทน โดยที่ทำทุกวิถีทางแล้วนะ) ที่กำหนด 2 เท่ากับ 10% ของราคาตัวเล่ม ที่พบหลักฐาน เมื่อปีพ.ศ. 2523 เป็น sheet ขนาดยาวกว่า A 4 จำไม่ได้เรียกว่า A 3 หรือไม่ ยาวเท่ากระดาษฟุลสแก็ป (เด็กรุ่นใหม่รู้จักไหม ) นัยนา คงนึกได้ อาจมีหลักฐานแสดงอยู่ก็ได้ ปองลองสอบถามด้วย และส่วนล่างจะเพิ่มเติม เรื่อง 10 % เข้าใจว่าเป็นการคาดคะเนการขึ้นราคาของหนังสือสมัยต่อๆมานะแหละ ต่อมาจำไม่ได้ว่า นำมาพิมพ์ เป็นประกาศ หรือข้อปฏิบัติไว้แล้ว เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร
การพูดกับผู้ใช้บริการ เป็นเดทคนิคเฉพาะตัว แต่หัด และเลียนแบบกันได้บ้าง คำพูดที่ดูดี ควรจำไว้ใช้ ขอบอกพูดคุยกับผู้ใช้ที่ Ego สูงๆ ต้องระวังให้มาก จำไว้ว่าผู้ใช้บริการไม่ใช่ญาติ พี่น้อง ควรเรียกเขาเหล่านั้นว่า คุณ หรืออาจารย์แล้วแตว่าเป็นนักศึกษา ป.ตรี นักเรียน แต่ป.โท ขึ้นไป ใช้อาจารย์ไปเลย เขาจะได้เกรงใจเราไง ดีไหม กฎข้อแรก การชดใช้ ต้องการตัวเล่มจริง เงินมาสุดท้าย สำหรัยการถ่ายเอกสารต้องตามคำสั่งหรือตัดสินจากหัวหน้าฝ่ายบริการ (หลัก) หัวหน้าหอสมุดในต่อมา(ถ้ามีปัญหาที่ใหญ่กว่าหัวหน้าฝ่ายบริการ) ต่อไปจนถึงผู้อำนวยการ ตามลำดับ ส่วนใหญ่ไม่ถึง หน. หอหรอก ต้องขอบคุณด้วยจ้า ไม่ใช่ผู้ใช้ไปถ่ายมาเลย แล้วนำมาชดใช้ อย่างนี้ไม่เอาไม่รับนะ เงินที่ชดใช้ เราส่งหลวง ตัวเล่มเราก็ไม่มีบริการ เงินก็ไม่ได้คืนมาเพื่อซื้อหนังสือเล่มที่หาย เงินเข้าหลวงไปแล้ว อย่างไรต้องเอาตัวเล่มให้ได้ เจ๊จุ๋ม ติ๋ว เนา เกศิ ดวง (ย่าเคาน์เตอร์ในขณะนี้ น่าจะยังจำเหตุการณ์การชดใช้ต่างได้บ้่างนะ เอามา Up date บ้างก็ดี เป็นองค์ความรู้ ขณะเดียวกันเป็นการฟื้นความหลังที่สืบทอดกันมาจนปัจจุบัน ยังคงเดิม หรือแปรเปลี่ยนไปนะ) ข้อปฏิบัติต่างๆ ยังคงอยู่ ก็มีเขียนเป็นคู่มือ ที่ปัจจุบันเรียกตามฝรั่งซะหรูเลยว่า การจัดการความรู้ หรือ KM นั่นแหละ
เวลาเราทำอะไรให้ใคร แล้วเขาตอบขอบคุณมา จะตอบกลับว่า ยินดีค่ะ แทนคำว่า ไม่เป็นไร อันนี้จำมาจากเวลาไปขึ้นเครื่ิองบิน
พี่ติ๋วจะเรียกผู้ใช้บริการว่า นักศึกษา เช่น รบกวนนักศึกษาเขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์มฯ ด้วยค่ะ และแทนตัวเองว่า หอสมุดฯ หรือ แทนว่า ผู้ให้บริการ ส่วนลุงบูรณ์จะลงว่า ครับผม หรือ พูดว่า ค่ะ กับนักศึกษาหญิง ฟังดูน่ารักดี เหมือนพ่อคุยกับลูก ฯลฯ เรื่องแบบนี้ลองสังเกต ลองฝึกใช้กับตัวเอง
แบบอย่าง พี่ปอง บอกมาก็ดีนะ แต่ก็นั่นแหละ อย่างพี่บูรณ์ พูดครับผม เสียงอ่อนๆ ฟังดูดี และลองให้ลูกกอลฟ์ ครับผมซิ สะดุ้งเลยล่ะ ก็เสียงของเขาแข็งง่ะ จริงจริ๊ง(ทำเสียงเหมือนตาตุ๊ใน บางรัก ซอย 9 ) แบบพี่ติ๋ว พี่จุ๋มก็ ็คงทำได้ไม่เนียน เหมือนหรอก ให้ทำเสียงอ่อนๆ ยิ้มๆๆๆๆ เข้าไว้ เหมือนเดิม เนียนทำหน้าตาใสบริสุทธิ์ แป๋วแหวว ไว้ด้วยล่ะ ฝากทุกคน บางเรื่องต้องพูดยาวหน่อยเพื่อความเข้าใจตรงกัน
จริงของปอง ยินดีค่ะ จะนำไปใช้ เป็นคำแปลมาจากภาษปะกิตไหม ที่บอกว่า ยัวร์เวลคัม (Your welcome) เวรกรรมจริงๆ เกือบสะกดผิดอีกแล้ว ก็Welcome