ข้อมูลกับระยะเวลา

ดิฉันได้รับเอกสารเพื่อให้จัดทำข้อมูลอัตรากำลัง งบประมาณและขอบเขตงาน รวมทั้งสถิติในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 พร้อมทั้งตัวอย่างแนบมาหนึ่งปึกซึ่งตัวอย่างเป็นคนละสายงานของห้องสมุด
เอกสารที่ได้รับ ลงวันที่ 19 ถึงมือวันที่ 23 สิงหาคม ส่ง 2 กันยายน นับได้ 8 วันทำการ และเป็น 8 วันที่พวกเราต้องทำอะไรๆ มากมาย ตั้งแต่เตรียมตัวสำหรับการประกันคุณภาพ แต่นั่นไม่เท่าไรเพราะเป็นงานที่พวกเราทำกันมาอยู่แล้ว จากนั้นเป็นงานเปิดบ้าน ที่ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องดูแลไปอยู่ตามหน้างานเพื่อดูอะไรหลายๆ อย่าง และสุดท้ายคือการรายงานผลเพื่อการประเมินผลการขึ้นเงินเดือน
เรื่องพวกนี้ดราม่าไม่ได้ เพราะการดราม่าทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ หน้าที่คือทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นไปตามกรอบของระยะเวลาที่มีการกำหนด เพราะคนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างก็ได้รับตัวเลขของวันที่กำหนดส่งกันมาทั้งสิ้น เป็นเรื่องที่พึงยึดถือ
ผู้รับบทหนักคือหัวหน้าฝ่ายทั้งหลายที่ต้องทำทุกอย่างแบบอึนๆ มึนๆ อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อหาวัตถุดิบส่งมาให้ดิฉันต้มยำทำแกง
ระหว่างที่ดิฉันรอดิฉันก็นั่งคิดและคิดว่าสิ่งที่ให้ส่งคืออะไร และเราจะนำเสนองานของหอสมุดฯ อย่างไร  จะเขียนอย่างไรเพื่อสื่อสารกับคนที่อ่านว่าเราทำอะไรแค่ไหน อย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นของจำนวนอัตรากำลังกับงานที่รับผิดชอบ
โชคดีที่เจอไฟล์เก่าๆ ที่มีร่องรอยให้หยิบเนื้อหา ความคิดบางส่วนมาปรับใช้ในการทำงาน รู้สึกดีใจที่อดีตที่ผ่านผู้บังคับบัญชามักมอบหมายให้ทำงานแปลกๆ รวมทั้งชอบหาเรื่องใส่ตัวด้วยการทำในสิ่งที่คิดว่าควรจะมีในองค์กร การทำ/การคิดทุกอย่างที่ขวางหน้าจึงมีประโยชน์ในปัจจุบัน #ยิ้มกว้างๆให้ตัวเอง
เอกสารที่ใช้ประโยชน์ในครั้งนี้คือการวิเคราะห์อัตรากำลังของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ทำไว้ตั้งแต่ปี 2546-2547 ไม่อยากจะเชื่อว่า 12 ปีมาแล้ว และประเด็นนี้ยังเป็นคำคลาสสิคที่ผู้บริหารหลายถามว่าเคยทำกันไหม พวกเราจะบอกทุกครั้งทำมาแล้ว
ร่องรอยของการทำคือกระดาษที่ติดอยู่บนบอร์ดในห้องธุรการว่าท่านใดเกษียณอายุราชการปีไหน
retire
เนื้อหาแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ 1) ส่วนประวัติ โครงสร้าง วัตถุประสงค์ ฯลฯ แนะนำว่าขอคัดลอกจากคุณใหญ่ เพระาอ่านแล้วเป็นคนที่เขียนส่วนนี้ดีที่สุดในสายตาดิฉัน 2) ส่วนที่ 2 เป็นส่วนอัตรากำลัง ส่วนนี้ดิฉันทำอยู่เป็นประจำอย่างยาวนาน จนเกือบนึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่บุคคล ดิฉันจะมีข้อมูลตรงนี้เยอะ แค่บางมุม จึงต้องขอความช่วยเหลือจากงานธุรการ คือคุณใหญ่ มาช่วยกันตรวจสอบ และส่วนที่ 3 เป็นเรื่องภาระงานของแต่ละฝ่าย หัวหน้าทั้งหลายจะมีข้อมูล ส่วนดิฉันเป็นผู้มองอยู่ข้างนอก จึงมองเห็นว่าอะไรควรเพิ่มเสริมเข้าไป
ทั้งหลายทั้งปวงอยากจะบอกว่าการทำงานต้องอาศัยข้อมูล ตัวเลขแต่ละตัวจะต้องตอบคำถามได้ และทุกอย่างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงการพัฒนาองค์กร องค์กรซึ่งหมายถึงทุกอณูทั้งเรื่องคน งาน เงิน สิ่งของ องค์ความรู้ ฯลฯ
การเขียนรายงานแบบวลี ที่อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าจะให้ใครทำ หรือทำอะไร จึงต้องลด ละเลิก ซึ่งทุกอย่างต้องอาศัยความเพียรพยามทั้งสิ้น
เอกสารชิ้นนี้จะได้ฝากคุณน้อง พนิดาว่า อาจจะต้องทำแบบนี้กันอีกครั้งหนึ่งในอนาคตเมื่อมหาวิทยาลัยต้องกลับมาดูเรื่องอัตรากำลัง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นคนที่นั่งทำแบบนี้คงเป็นรุ่นน้องๆ !!ซึ่งไม่ได้หมายถึงเรื่องการเขียนเอกสาร แต่หมายถึงประเด็นของความเข้าใจการมองทะลุในองค์กร จำนวนของงาน/บุคลากร/ประมาณ คนที่เข้าใจ คนที่มองทะลุจนเห็นข้างหน้าจะได้เปรียบ ฝาก gen 2 ทุกคน
ดิฉันต้มยำทำแกงสำเร็จในวันที่กำหนดส่งพอดี ด้วยอาการของคนที่กำลังจะเริ่มนิ้วล๊อคต้องขยับนิ้วมืออยู่ตลอดเวลา เสร็จแล้วด้วยความภาคภูมิใจในตัวเอง #โหมดอวยตัวเอง  และขอขอบคุณหัวหน้าฝ่ายทุกท่านสำหรับคำชม  😀
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร