จิตบริการ (2)

ได้เขียนเรื่องการบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่อง จิตบริการ (Service mind) : การพัฒนาบุคลิกภาพและการสื่อสารในงานบริการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคเช้าแล้ว จะไม่เขียนเนื้อหาการอบรมภาคบ่ายต่อก็กระไรอยู่  ดังนั้นตอนนี้จึงเป็นกิจกรรมและเนื้อหาภาคบ่าย  วิทยากรให้นับจำนวนคนและแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ  แล้วให้แต่ละคนเขียนถึงสิ่งที่รู้สึกดี ๆ ความรู้สึกว่าอยากขอบคุณใครบ้างใส่กระดาษเอ 4 โดยให้ยกตัวอย่างมา 10 เรื่องพร้อมบอกเหตุผลสั้น ๆ ว่ารู้สึกขอบคุณเพราะอะไร เสร็จแล้วให้ทุกคนผลัดกันอ่านให้คนในกลุ่มฟังโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า “ภาวนา ขอบคุณ” การทำกิจกรรมนี้เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนโยน มีเมตตา
เมื่อผ่านกิจกรรมต่าง ๆ วิทยากรได้สอดแทรกเนื้อหาไว้ด้วย สรุปได้พอสังเขป ดังนี้
สาเหตุแห่งปัญหาของมนุษย์
1 ปัญหาเกิดจากการที่บุคคลพยายามปรับสิ่งแวดล้อม แทนที่จะจัดการกับตัวเองหรือแทนที่จะพึ่งตนเอง
พัฒนาตนเองให้มีความสามารถ ให้มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น
2. ปัญหาเกิดจากการที่บุคคลขาดความยืดหยุ่นทางความคิดและการกระทำจนไม่ยอมรับหรือ ไม่ยอมสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
3. ปัญหาเกิดจากการที่บุคคลครุ่นคิดแต่สภาพการณ์ใน อดีตที่ก่อปัญหาให้แก่เขา โดยย้ำคิดซึ่งเป็นการเปลืองพลังงานแทนที่จะใช้พลังงานไปในทางแก้ปัญหา
4. ปัญหาเกิดจากการที่บุคคลพิจารณาตนเองแต่ลำพังเพียง ด้านเดียว
ลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ 1. มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและมีคุณค่า 2. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเอง 3. โดย
พื้นฐานแล้วมนุษย์เป็นคนดีน่าเชื่อถือ 4. มนุษย์จะมีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
5. มนุษย์ต้องการความรักความเอาใจใส่ และการยอมรับจากผู้อื่น
การสร้างพลังชีวิตตามแนวนีโอฮิวแมนนิส
นีโอฮิวแมนนิส คือ มนุษย์ยุคใหม่ที่มีความสามารถในการศึกษาตัวเอง (รู้จักตัวเอง) และสามารถนำจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึกที่มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของคนเรานี้มาสร้างความสำเร็จและความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ เป็นแนวทางที่สามารถนำศักยภาพที่แฝงเร้นในแต่ละบุคคลมาสร้างความสำเร็จและความสุข ทั้ง 3 ด้านคือ
ด้านส่วนตัว การเสริมสร้างบุคลิกภาพและความเชื่อมั่นในตนเอง, การเอาชนะความกลัว ความวิตกกังวล ปมด้อยปมเด่นของคนเรา, การผ่อนคลายความเครียดอย่างล้ำลึก, การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์, การพัฒนาความจำ, การเปลี่ยนแปลงนิสัยที่ไม่พึงประสงค์, การฝึกโยคะ สมาธิ ฯลฯ
ด้านครอบครัว การเสริมสร้างเสน่ห์ในตัวคนเรา, ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเพศและการสัมผัส, การดึงดูดเพศตรงข้ามและการใช้ชีวิตคู่, การช่วยให้คนในครอบครัวสามารถนำศักยภาพในตัวเอง ออกมาใช้ได้มากขึ้นและมีความสุข
ด้านการงาน ศิลปะของการเป็นเจ้านายหรือลูกน้องที่น่ารัก, มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน, การปรับพฤติกรรมของตนเองและบุคคลอื่นๆในหน่วยงาน
คลื่นสมองกับพฤติกรรมบริการ
คลื่นสมอง
– มีความถี่มากกว่า 40 รอบ/นาที เรียกว่า คลื่นประจัญบาน(คลื่นแกมม่า) เป็นคลื่นของความกลัวและเกลียดชัง พร้อมที่จะทำร้ายตัวเองและผู้อื่น
– มีความถี่ 13-40 รอบ/นาที เรียกว่า คลื่นแห่งสับสนวุ่นวาย (คลื่นเบต้า) เป็นคลื่นของความวุ่นวาย สับสนและมีความเครียดสูง และเป็นเหตุให้เกิดความคิดในด้านลบ เช่น ความอิจฉาริษยา ความโลภ ความรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น ความรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น
– มีความถี่ 8-13 รอบ/นาที เรียกว่า คลื่นแห่งสมาธิและความสงบสุข(คลื่นอัลฟ่า)เป็นคลื่นของความสงบ มีสมาธิ มีความเยือกเย็นและมีพลังสติสูง เป็นคลื่นที่เหมาะสำหรับการกิจกรรมในทุก ๆ ด้านและทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงแก่กิจกรรมนั้นๆ และ คนที่มีคลื่นสมองประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีอารมณ์ดีร่าเริงเบิกบาน มีความคิดสร้างสรรค์สูง มีภูมิคุ้มกันในร่างกายสูง มีจินตภาพความจำดี มีความผ่อนคลายสูง มีสมาธิ มีความคิดที่เป็นบวก มีพลังความคิดที่จะนำไปสู่ความเป็นจริงสูง
– มีความถี่ 0 รอบ/นาที เรียกว่า คลื่นแห่งจักรวาล (คลื่นคอสมิก) เป็นคลื่นที่เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติและจักรวาล ทำให้เข้าถึงสภาวะปิติสุขที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดมีความรักความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ให้กับทุก ๆ สรรพสิ่ง ไม่มีความรู้สึก “ตัวเรา” หรือ “ตัวเขา” อีกต่อไป  การปรับคลื่นสมองให้เข้าสู่สภาวะมีสมาธิ (คลื่นอัลฟ่า) การฝึกหายใจและผ่อนคลายด้วยท่าโยคะ การฝึกท่าต้นไม้  การฝึกท่านั่งดอกบัว
ภาพพจน์กับพฤติกรรมบริการ
ภาพพจน์ (Self Image/Self Concept) คือ ความรู้สึกที่เรามีกับตัวเองหรือความรู้สึกที่เรามองตัวเองและความรู้สึกนั้นจะติดตัวเราตลอดไป ภาพพจน์เกิดขึ้นได้จาก จิตสำนึก (ตา หู จมูก ลิ้นและสัมผัส) ทำหน้าที่ รับรู้ นึกคิด และสั่งการ (7 %) จิตใต้สำนึก ทำหน้าที่บันทึกประสบการณ์และความทรงจำทั้งในด้านบวกและด้านลบ (93 %) ความเชื่อที่ฝังใจเกิดได้จากขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คิด (เป็นภาพ) ขั้นตอนที่ 2 คิดซ้ำๆ (เป็นภาพ) ขั้นตอนที่ 3 แสร้งเชื่อ ขั้นตอนที่ 4 เป็นจริง (ฝังไปในจิตใต้สำนึก)  ภาพพจน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยคำพูด การพูดกับตัวเอง การได้ฟังผู้อื่นพูด โดยการจินตนาการ โดยการใช้พลังของสติ โดยการใช้พลังแห่งความรัก มอบความปรารถนาดีให้กับเพื่อน ๆ ของท่าน  การคงไว้สำหรับพฤติกรรมที่ดีทำได้โดย การให้ความรักแก่คนรอบข้าง การเป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ (คิดดี ๆ เข้าไว้) พูดเชิงบวก (ชม ยกย่อง) สบตา สัมผัส การยกมือสวัสดีทักทายกัน
และสามสิ่งที่ทำไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ นั่นคือ เวลา ผ่านแล้วผ่านเลยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้, คำพูด ทั้งดีและร้าย พูดออกไปแล้วไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ และโอกาส บางคนมีโอกาสดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตแต่กลับปล่อยให้หลุดลอยไป

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร