ตัวเราใน facebook

13 July 2016
Posted by Ekanong Duangjak

:mrgreen: ทุกวันนี้การเล่น Facebook เป็นเรื่องธรรมดาของคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าลูกเด็กเล็กแดง ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ วัยรุ่น และจะมีคนเล่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยจะมีผู้ที่เล่น Facebook ประมาณ 1/3 ของประชากร ยิ่งมีคนเล่มมากเท่าไร ข้อความที่โพส Link ที่แชร์ ย่อมมากตามไปด้วย และมีหลากหลายรูปแบบและยิ่งต้องระมัดระวังเนื่องจากบางคนใช้กันอย่างไม่ระมัดระวัง
ทุกวันนี้สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือ เครือข่ายWifi สามารถมีใช้กันได้แทบจะทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน ห้าง สถานที่สาธารณะต่างๆ ดังนั้นการเล่น Facebook จึงเข้าง่าย
เว็บไซต์ Opify.net ได้สำรวจถึงพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้งาน Facebook และสรุปได้ว่า ผู้ใช้ Facebook สามารถแยกออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่
•กลุ่มนักสะกดรอย (The Stalker) กลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่ชื่นชอบการติดตามและสังเกตความเคลื่อนไหวของเพื่อนหรือผู้ใช้งานคนอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยในการใช้งาน Facebook มากกว่าผู้ใช้งานทั่วไปถึง 14 เท่า
•กลุ่มผู้สูงอายุ (The Baby Boomer) กลุ่มผู้สูงอายุนับว่าเป็นอีกหนึ่งที่เริ่มให้ความสนใจและหันมาใช้งาน Facebook เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นกลุ่มที่มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 55-65 ปีขึ้นไป ซึ่งการใช้งานส่วนใหญ่เป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกหลาน
•กลุ่มผู้เล่นหน้าใหม่ (The Newbie) กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เพิ่งหัดใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมถ่ายตัวเอง รวมถึงชอบกด Like และ Comment เป็นชีวิตจิตใจ เรียกได้ว่ากดทุกอย่างที่เห็นเลยก็ว่าได้ โดยผลการสำรวจพบว่าผู้เล่นหน้าใหม่กลุ่มนี้มีการกด Like สูงถึง 5 แสนครั้งภายในระยะเพียงแค่ 2 นาที
•กลุ่มที่รักการโพสและแชร์เป็นชีวิตจิตใจ (The Over-Sharer) ลักษณะของผู้ใช้งานในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่รักและชื่นชอบการเช็คอินเป็นชีวิต จิตใจ ถึงแม้ว่าบางครั้งจะอยู่ในห้องน้ำก็ตามก็ยังไม่วายที่จะเช็คอิน โดยผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้งานประเภทนี้มีจำนวนมากถึง 4.8 ล้านคน
•กลุ่มนักประชาสัมพันธ์ (The Brand Promoter) กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นพนักงานของแบรนด์หรือบริษัท ซึ่งมีหน้าที่ใน การใช้งาน Facebook เพื่อโปรโมท ประชาสัมพันธ์และแชร์เฉพาะสินค้าขององค์กรเท่านั้น
•กลุ่มที่กลัวเสียความเป็นส่วนตัว (The Fearful User) พฤติกรรมของผู้ใช้งานกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความลึกลับและไม่ค่อยมีการเปิดเผย ข้อมูลส่วนตัวสู่สาธารณะมากนัก เพราะกลัวว่าอาจจะมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบนำภาพถ่ายหรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้โดยไม่ ได้รับอนุญาต โดยส่วนใหญ่มักใช้ชื่อสมมุติในการใช้งานรวมถึงยังไม่ค่อยรับ Add จากคนแปลกหน้า การสำรวจพบว่าผู้ใช้งานที่มีพฤติกรรมลึกลับเหล่านี้มีจำนวมมากถึง 13 ล้านคน
•กลุ่มที่ชอบโพสและแชร์เพื่อสร้างกระแส (The Curator) กลุ่มนี้ชอบโพสรูปภาพหรือวีดีโอไม่ว่าจะเป็นแมว, สุนัข, เด็ก รวมถึงมุขตลกและคำคมที่ได้รับความนิยมเพื่อสร้างกระแสและได้ยอดกด Like โดยการโพสในรูปแบบนี้พบว่าเป็นรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบมากที่สุด
•กลุ่มนักเล่นเกม (The Gamer) กลุ่มนี้ดูจากชื่อกลุ่มแล้วก็ค่อนข้างชัดเจนว่า ส่วนใหญ่เน้นการใช้งานเพื่อการเล่นเกมบน Facebook เท่านั้น ซึ่งบนหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้งานกลุ่มนี้มักมีเพียงแค่การอัพเดทคะแนนและสถิติ ในการเล่นเกมต่างๆ
•กลุ่มที่มี Facebook ไว้เฉยๆ (The Non-User) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีบัญชีแต่ไม่เคยใช้งานหรือมีส่วนร่วมกับ กิจกรรมอะไรเลยและบางส่วนยังใช้เป็นบัญชีสำหรับสัตว์เลี้ยงอย่าง น้องหมาน้องแมวอีกด้วย โดยผู้ใช้งานกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 18% ของจำนวนผู้ใช้งาน Facebook ทั้งหมด
พฤติกรรมของผู้ใช้ Facebook ทั้ง 9 ประเภทนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะพฤติกกรม นิสัยของผู้ใช้งาน Facebook ที่แตกต่างกันไป
และหากเป็นบุคคลที่ทำงานในสถานที่ทำงาน สำนักงาน หรือหน่วยงานต่างๆ การเล่น Facebook ย่อมต้องมีแน่นอน อาจเข้าไปเช็คสถานะ เข้าไปแอบๆ ส่องเพื่อนแล้วออก หรือเข้าไปเล่นเพลินจนลืมว่างานอยู่ หรือทำงานบ้าง เล่นบ้าง อาจทำให้ไม่มีสมาธิกับการทำงานเกิดขึ้นได้
Facebook “กับการทำงาน”หลายคนส่วนใหญ่เจอปัญหาต่างๆ เครียดจากการทำงาน และเมื่อเจอเหตุการณ์เหล่านั้น”มักจะ” มาระบายออก โดยการโพสปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน, เพื่อนร่วมงาน, หัวหน้างาน,ระบบการทำงาน,บริษัท บน Facebook ของเรา เรื่องเหล่านี้ถือว่าไม่ดีต่อตนเองและหน่วยงาน
ระยะหลังๆ นี้มักได้ข่าวว่า ในบางประเทศการรับสมัครงาน หลายบริษัทเริ่มที่จะขอข้อมูล Facebook ของผู้สมัครงาน เพื่อดูพฤติกรรมผู้สมัครงานและดูว่าผู้สมัครงานเป็นคนแบบไหน
โดยปกติทั่วไปหากบริษัทอยากจะ จ้างงาน คนเข้ามาทำงาน ตามมาตรฐานโดยทั่วไปก็ต้องตรวจสอบดูจากจดหมายสมัครงานเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ แต่ปัจจุบันได้มีวิธีการที่ล้ำกว่านั้น จากการทำการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัย Old Dominion ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้เพิ่มวิธีการตรวจสอบอีกช่องทางหนึ่ง คือการตรวจสอบประวัติของผู้สมัครงานบน Facebook
จากการศึกษาเรื่อง “ความเที่ยงตรงของสื่อออนไลน์ในการทำนายผลการปฏิบัติงาน” ดูนักเรียนที่จบปริญญาตรีจำนวน 146 คนผู้ซึ่งได้รับการจ้างงานจากบริษัท ต่าง ๆ โดยแต่ละคนนั้นได้ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพตนเอง และยินยอมให้มีทีมงานเข้ามาดูประวัติในหน้าโปรไฟล์ของพวกเขา และสรุปข้อมูลออกมา
พบว่าไม่เพียงแค่ลักษณะ บุคลิกภาพที่สรุปจากประวัติในหน้าโปรไฟล์ Facebook เท่านั้น ที่สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานได้ แต่ยังสัมพันธ์กับผลจากแบบทดสอบการประเมินตนเองที่พวกเขาได้ทำ และผลการปฏิบัติงานจริงจากนายจ้างอีกด้วย
ผู้ทำการศึกษากล่าวว่า การคาดการณ์ลักษณะตัวตนจาก Socail Media นั้นมีข้อดีกว่าการทำแบบทดสอบ ประเมินบุคลิกภาพ เพราะว่าพวกเขาสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้เป็นปี ซึ่งดีกว่าการประเมินครั้งเดียวแน่อน
หลายคนคิดว่า Facebook เป็นเรื่องส่วนตัว อยากโพส อยากแชร์ อยาก Comment อะไรก้อได้ ความคิดนั้นจริงหรือ ในเมื่อสิ่งที่กระทำบน Facebook นั้น มันออกสู่สายตาคนที่เป็นเพื่อนคุณใน Facebook ออกสู่สาธารณะ เพื่อนของเพื่อนก็สามารถดูของคุณได้ แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม แล้วถ้าหากเป็นเพื่อนร่วมงานด้วยแล้วจะเห็นพฤติกรรมของคุณ บางคนไม่รับเพื่อร่วมงานเป็นเพื่อนใน Facebook บางคนรับ ซึ่งก็มีทั้งผลดีและผลเสีย?
ดังนั้นมารยาทในการเล่น Facebook แบบไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานอาจทำได้ดังนี้ ดังนี้
1. อย่าโพสต์อะไรในแง่ติดลบมากไป Status ใน Facebook แสดงถึงทัศนคติของผู้ใช้ Facebook อย่างมาก ๆ ยิ่งโพสต์ความคิดแบบลบๆ ก็คงไม่มีใครอยากเข้าใกล้คนคิดลบแน่นอน
2. อย่าใช้คำหยาบ พยายามใช้คำหยาบให้น้อยที่สุด หรือถ้าจะให้พูดให้ถูกแล้ว คือ ไม่ควรใช้คำหยาบเลย เพราะ มีคนมากมายที่สามารถเข้ามาอ่านเจอได้ ดังนั้นจงพยายามระมัดระวังความคิดและคำพูดให้มากที่สุด
3. อย่าดราม่า จริง ๆ ถ้าดราม่ากับตัวเอง ไม่ได้ไปมีผลร้ายกับใครก็ทำไปเถอะ แต่อย่าเยอะมาก มันจะดูว่าคุณเป็นคนควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ดูเป็นคนเวิ้นเว้อ
4. อย่าโพสต์ด่า บ่น เรื่องงาน ข้อนี่อันตรายมาก ถ้ามีเพื่อนใน Facebook เป็นเพื่อนร่วมงาน แม้แต่แค่คนเดียว ก็อย่าได้มี เรื่องนี้แนวนี้โพสต์ขึ้นไป ถ้าเพื่อนคุณเอาไปเล่าต่อ หรือบอกเจ้านาย ก็จะไปกันใหญ่ หรือแม้แต่ไม่ได้มีเพื่อนร่วมงานเป็นเพื่อนก็ต้องระวัง หรืออย่าโพสต์เรื่องนี้เลยจะดีกว่า ใครจะรู้ว่าเพื่อนในเครือข่ายคุณรู้จักใครบ้าง
5. อย่าแชร์อะไรต่อมั่ว ๆ ข่าวลือมีมากมาย กรุณาใช้สติ ใช้ความคิด ใช้วิจารณญาณก่อนแชร์ต่อ ควรดูที่มาของแหล่งข้อมูลว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ อย่างไร บางเรื่องบางอย่างแชร์มั่ว ๆ ออกไป อาจสร้างความแตกตื่นให้กับสังคมทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องจริง
แหล่งอ้างอิง :
ข้อมูลบน Facebook ของผู้สมัครงานทำนายประสิทธิภาพการทำงานได้. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://th.jobsdb.com/th-th/articles/ข้อมูลบน-facebook-ของผู้สมัคร. 13 กรกฎาคม 2559
ควรมีเพื่อนในออฟฟิศเป็น friend ในเฟซบุ้กหรือเปล่า. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://th.jobsdb.com/th-th/articles/เพื่อนออฟฟิศ -friend-facebook. 13 กรกฎาคม 2559
Facebook เรื่องที่ต้องระวังในการใช้. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://storylog.co/story/565bd788fe200b3c7e921af2. 13 กรกฎาคม 2559
thumbsupteam. 2013. เอ็กซ์เรย์พฤติกรรม 9 ประเภทของกลุ่มผู้ใช้งาน Facebook (Infographic).
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://thumbsup.in.th/2013/08/types-of-facebook-user/. 13 กรกฎาคม 2559

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร