หลาย Gen ของบุคลากรในองค์กร

:mrgreen: ปัจจุบันองค์กรหลายองค์กรคงประสบพบพากับเรื่องความหลากหลายของบุคลากร ไม่เว้นแม้แต่ที่ทำงานของผู้เขียนเอง
สาเหตุและความแตกต่างหลากหลายระหว่างบุคคลในองค์การ ที่ทำให้องค์การมีความแตกต่างกันมีดังต่อไปนี้
อายุของบุคลากรที่ต่างวัย (Generation) สามารถแบ่งได้ ตามรุ่นอายุดังนี้
– Baby Boomers อายุตั้งแต่ 46-62 ปี อยู่ในช่วงวางแผนปลดระวาง ดีดตัวเองออกจากงานง่าย ปัจจบันเป็นคนกลุ่มใหญ่ของโลก
ปัจจุบันคนในยุคนี้ที่ยังอยู่จะมีอายุประมาณ 50 ขึ้นไป ลักษณะนิสัยจะเป็นคนจริงจัง เคร่งครัดเรื่องขนมธรรมเนียนประเพณี เป็นเจ้าคนนายคน ชีวิตทุ่มเทให้กับการทำงานมากๆ มีความอดทนสูง ประหยัดอดออมฯล จนหลายๆ คนอาจจะรู้สึกว่าคนกลุ่มนี้เป็นพวก ‘อนุรักษ์นิยม’
– Generation X อายุ 32-45 ปี ชอบอะไรง่ายๆ ไม่เป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานและครอบครัว มีลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง
ปัจจุบัน คนยุค Gen-X เป็นคนวัยทำงาน มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป พฤติกรรม ลักษณะนิสัยของคนกลุ่มนี้ที่เด่นชัดคือ ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ มีแนวคิด สร้างความสมดุลในเรื่องงาน และครอบครัว กล่าวคือ ทำงานตามหน้าที่ ไม่บ้างาน ไม่ทุ่มเท ทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง สร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม หลายคนใน Gen-X มีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม ไม่ได้เชื่อเรื่องศาสนา และ ไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นมองว่าการอยู่ก่อนแต่ง หรือการหย่าร้างก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับเรื่องเพศที่ 3 ซึ่งต่างจากกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มองเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องผิดจารีตประเพณี
– Generation Y อายุ 16-31 ปี ก้าวเข้ามาสู่วัยทำงาน เกิดมาพร้อมกับความสดใส เกิดมาพร้อมความเพียบพร้อมและความสับสน
ลักษณะพฤติกรรมของคน Gen Y ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเอง และต่อหน่วยงานอย่างไร?  คาดหวังที่จะมีเงินเดือนสูงๆ คาดหวังคำชม แต่ไม่อดทนต่องานที่ทำ ชอบเปลี่ยนงานอยู่บ่อยๆ นอกจากนี้คน Gen Y จะจัดสมดุลเวลาให้กับตัวเอง จะเห็นได้ว่าหลังเลิกงานคนรุ่นนี้มักจะไปทำกิจกรรมให้ความสุขกับตัวเอง อาทิ ไปเล่นฟิตเนส แฮงเอาท์พบปะเพื่อนฝูง
ปัจจุบัน คนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียน และวัยทำงาน และจากการที่ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด คุยโทรศัพท์ ไปพร้อมๆ กับกินข้าวได้
ลักษณะการทำงานของคนต่างรุ่น

1. ค่านิยมและจริยธรรมในการทำงาน
Gen-Baby Boomers
บ้างาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความเพียรทำให้เกิดความสำเร็จ มุ่งคุณภาพงานไม่เน้นการใช้อำนาจที่เป็นทางการ
Gen-X
ทำงานเพื่อให้หมดภาระ เน้นการพึ่งตนเอง ต้องการคำสั่งและทิศทางที่ชัดเจน
Gen-Y
ใจร้อนอยากรู้อยากเห็น ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ต้องการเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นเป้าหมาย
2. งาน
Gen-Baby Boomers
สิ่งที่น่าตื่นเต้น
Gen-X
ความท้าทายภาระผูกพันที่ต้องการกระทำ
Gen-Y
วิธีการตอบสนองความต้องการของตนเอง
3. รูปแบบความเป็นผู้นำ
Gen-Baby Boomers
อาศัยความเห็นพ้องของสมาชิกในทีมงานใช้การตัดสินใจของกลุ่ม
Gen-X
ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้มีความเชื่อมั่นในตนเอง
Gen-Y
ยังไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากเพิ่งเข้ามาทำงานในองค์การ
4. รูปแบบการปฏิสัมพันธ์
Gen-Baby Boomers
ชอบการทำงานเป็นทีม ชอบการเข้าประชุม
Gen-X
ชอบการทำงานเป็นอิสระ ชอบการทำงานเดี่ยว
Gen-Y
ชอบการได้มีส่วนร่วมในการทำงาน ชอบให้สอนงานมากกว่าสั่งงานแบบเข้านาย
5. งานและชีวิตครอบครัว
Gen-Baby Boomers
ไม่มีจุดสมดุล ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการทำงาน
Gen-X
มีความสมดุลในการใช้ชีวิต และการทำงาน
Gen-Y
ใช้ชีวิตให้มีความสุขไปพร้อมๆ กับการทำงาน การมีสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว
6. การติดต่อสื่อสาร
Gen-Baby Boomers
ติดต่อกันโดยพบกันเป็นส่วนตัว ติดต่อโดยพบหน้ากันเมื่อมีโอกาสเป็นไปได้ เข้าติดต่อกันดัวยความเคารพต่อความสำเร็จของคนรุ่นนี้คาดหวังความน่าสนใจอย่างเต็มที่จากผู้อื่น สื่อในการรับรู้ข้อมูลข่างสารคือ โทรทัศน์
Gen-X
ติดต่อสื่อสารทันที เช่น โทรศัพท์ E-mail เป็นต้น ถนัดใช้ Personal Computer, Cable TV, Video Game, Call Phone
Gen-Y
ต้องการแสดงความคิดเห็นและได้รับการรับฟัง ต้องการได้รับข้อมูลอยู่เสมอเป็นผู้ที่รู้ดีเรื่องเทคโนโลยีและชอบใช้ เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น E-mail, Chat Facebook, Twitter ฯลฯ
7. ปฏิกิริยาย้อนกลับและการให้รางวัล
Gen-Baby Boomers
การตอบแทนเป็นเงิน การได้รับความยอมรับนับถือ ความช่วยเหลือในการวางแผนเกษียณ การฝึกอบรมความรู้ใหม่ๆ การได้ลาพักผ่อนไปเที่ยวหรือไปศึกษาต่อโดยยังได้รับเงินเดือน
Gen-X
ความเป็นอิสระ การพัฒนาทักษะการทำงาน การได้รับปฏิกิริยาย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง การจัดสภาพการทำงานที่ยึดหยุ่นและสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก
Gen-Y
การได้ปฏิกิริยาย้อนกลับและรางวัลอย่างรวดเร็วทันใจ การได้ทำงานอย่างมีความหมาย การได้รับโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แบบอย่างที่น่าเชื่อถือและเชิงบวก
8. คำพูดที่จะจูงใจได้
Gen-Baby Boomers
คุณเป็นคนมีคุณค่า คุณเป็นที่ต้องการ
Gen-X
จงทำมันตามวิธีของคุณ จงลืมกฎเกณฑ์ต่างๆ ไปเสีย
Gen-Y
คุณจะได้ทำงานกับคนที่ฉลาด และมีความคิดสร้างสรรค์
บุคลากรที่ต่างรุ่นกันนั้นต้องการการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม กล่าวคือ
บุคคลประเภท“Baby Boomers” ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรใช้การพูดคุยแบบตัวต่อตัว การให้เกียรติและตระหนักถึงคุณค่าของประสบการณ์ทำงานที่เขา ได้สั่งสมมาเป็นเวลานาน เช่น ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานหรือเป็นพี่เลี้ยงสอนงานให้แก่คนที่เป็น Generation Y บริษัทที่เป็นตัวอย่างที่ ดีในเรื่องนี้ คือ บริษัท SCG ซึ่งมีระบบการพัฒนาผู้บังคับบัญชาด้านการสอนงานและการให้คำปรึกษา(Coaching & Counseling) เพื่อฝึกให้ผู้บังคับบัญชา “ฟัง” ผู้อื่นมากขึ้น และสอนงานในลักษณะ ให้คำปรึกษาแนะนำมากกว่าการสั่งงาน ด้านการพัฒนาองค์การ ควรเน้นการฝึกอบรมความรู้ใหม่ๆ ให้แก่คนรุ่นนี้อย่างสม่ำเสมอ ควรจูงใจด้วยการชื่นชมยกย่อง มีการมอบรางวัลแก่บุคคลที่จงรัก ภักดีต่อองค์การและมีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน องค์การควร ให้การดูแลที่ดีก่อนจะเกษียณอายุ และให้รางวัลเป็นเงินเพื่อการ ออมสำหรับความมั่นคงในชีวิตภายหลังเกษียณ
สำหรับบุคลากรประเภท “Generation X” นั้น ผู้บริหารควรบอกให้เข้าใจเป้าหมายของงานอย่างชัดเจน และ ให้ทำงานแบบอิสระ(Independent) มีการมอบอำนาจในการ ทำงาน(Empowerment) ให้แก่พวกเขา จัดสภาพการทำงานที่ ยืดหยุ่น เช่น ให้เวลาการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Time) หรือ ให้ทำงานที่บ้านได้ เป็นต้น มีการพัฒนาทักษะการทำงานอย่าง ต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและสามารถ ทำผลงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ มุ่งเน้นการประเมิน ที่ผลลัพธ์ของงานมากกว่าพฤติกรรมการทำงาน และเชื่อมโยง ผลลัพธ์กับการให้รางวัลในลักษณะของการจ่ายค่าตอบแทนตาม ผลงาน (Pay for Performance) อย่างสมเหตุสมผลเพื่อกระตุ้น ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
ส่วนบุคลากรประเภท “Generation Y” ควรบริหาร โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนรุ่นใหม่ในองค์การ การมอบหมายงาน ที่ท้าทายความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ การติดตามงาน (Monitoring) และสอนงานด้วยระบบพี่เลี้ยง (Coaching) โดย ให้พวกBaby Boomers ที่เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นพี่เลี้ยงและให้คำ ปรึกษาแนะนำ จัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีซึ่งเอื้ออำนวย ต่อการทำงานและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่
อ้างอิง :
พฤติกรรมคน 8 เจเนอเรชั่น คุณอยู่กลุ่มไหน?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://lifestyle.campus-star.com/knowledge/17186.html. 1 กรกฎาคม 2559
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ : กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_11/pdf/aw21.pdf. 30 มิถุนายน 2559

One thought on “หลาย Gen ของบุคลากรในองค์กร

  • เวลาอ่านเรื่องเจน พี่มักถามว่าจริงเหรอ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร