Customer Delight

มีคนถามว่า Customer Delight มีมาตั้งแต่เมื่อไร
อืมม..นานทีเดียวจนจำไม่ได้ ต้องมาหาร่องรอย คาดว่าประมาณปี 2008 ต้องขอบคุณคอมพิวเตอร์ที่ให้ร่องรอยไว้
มีคนถามอีกว่าตอนคิด คิดอย่างไร
บอกว่าไม่คิดอะไร รู้แต่ว่า “สนุก” ที่คิด และสนุกยิ่งขึ้นเมื่อได้ “ทำ” (จริงๆแล้ว ท่านอื่นลงทำมากกว่า)
ทุกเรื่องคิดไว้เยอะ เขียนได้ไม่ครบ บอกได้ไม่หมด ทำได้เพียงบางอย่าง เพราะสิ่งที่คิดทำไม่ได้ในยุคนั้น แต่ยุคนี้อาจเป็นเรื่องเบสิคมาก
Customer Delight ไม่ใช่เป็นเรื่องของการโปรโมทหรือสร้างโปรโมชั่นเรื่องการยืมหนังสือเพียงอย่างเดียว หากมีอะไรๆ อีกมากมาย ตั้งแต่คิดถึงรอบๆ ห้องสมุด นักศึกษา เวลา  จำนวนผู้ใช้ โอกาส สื่อ ความเป็นไปได้ ฯลฯ ร่องรอยของความคิดนอกจากตัวเราแล้ว ยังมีโฟลเดอร์เก่าๆ ทีเก็บไว้ พอให้ทบทวนได้
customer
เมือวันศุกร์กรรมการประกันคุณภาพบอกรวมๆ ว่าเข้าใจตั้งชื่อ พี่นกบอกว่าขอเข้าข้างตัวเองว่าเป็นโครงการของห้องสมุดพวกเรา
ก่อนเขียนบล๊อกนี้ลองค้นในกูเกิ้ล มีคนให้ความหมายคำนี้ไว้ว่า “Customer delight is surprising a customer by exceeding his or her expectations and thus creating a positive emotional reaction. This emotional reaction leads to word of mouth” คนเขียนในวิกิเขียนเมื่อ 25 May 2015, at 06:13. แสดงว่าเราคิดก่อน 🙄 #รู้สึกว่าตัวเองเท่ห์
คนเขียน เขียนเหมือนอยู่กลางใจเรา และแปลกใจว่ามีคนคิดใช้คำที่เหมือนกับเราเป๊ะ! เอ๊ะเป็นไปได้อย่างไร Customer delight !!!!!
เสียใจอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่ไม่ค่อยชอบเขียนคำจำกัดความเลยอดเป็นเจ้าของทฤษฎี 55  😛
ตามประสบการณ์แล้วจะพบเรื่องนี้บ่อยๆ บางอย่างคิดว่าเก๋ไก๋ แต่พอมาค้นดู โห…ชาวประชาทำไปนานหลายปีแล้ว การพบแบบนี้บ่อยๆ สิ่งที่ได้คือเป็นคนช่างค้นหา ตรวจสอบและตะลุยอ่านทุกอย่างที่พบ สิ่งที่อ่านเยอะแยะมากบางทีนำมาใช้ได้เพียงหนึ่งประโยค แต่หนึ่งประโยคนั้นทำงานได้มหาศาล
ชั่วโมงการเรียนรู้แบบอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ เป็นสิ่งที่น่าอึดอัดสำหรับตัวเองเพราะชอบอ่านหนังสือในเรื่องเดียวกันจากหลายๆ เล่ม หลายๆ บทความ แล้วจึงนำมาประมวลผล หนังสือที่อ่านจริงๆจังๆ ใช้เวลาเป็นเดือนๆ จนปกเยินและอ่านมากกว่าหนึ่งครั้งจึงจะเขียนสรุปออกมาได้
customer1
รูปข้างบนเป็นหน้าแรกของสไลด์ที่ไปบรรยายที่ไหนสักที่ที่ต้องการสื่อถึงคำว่า Customer Delight ที่แรกๆ ทำไปอย่างไรก็ไม่ชอบ นั่งๆ ทบทวนว่าตอนเราตั้งชื่อนึกถึงอะไร
คำตอบคือ “ไอติม” ส่วนตัวหนังสือที่มีสีสันเพราะต้องการสื่อถึงความสดใส เรื่องสไลด์เป็นอีกเรื่องที่ฉีกกฎ น้องเอ๋บอกว่าคนได้สไลด์ไปแทบจะระทม เพราะไม่มีอะไรเลยนอกจากรูปภาพ ข้อแก้ตัวคือ ดิฉันต้องไปกับสไลด์แล้วจะ “อิน” ตอนหลังๆเห็นมีหนังสือทำสไลด์แนวนี้ออกมาเช่นกัน
ผู้คนในโลกล้วนแต่ต้องใช้ความคิดทั้งนั้น ความคิดเหล่านั้นสามารถทับซ้อน ละม้ายเหมือนกันได้ การค้นคว้าหาอ่านจึงมีความจำเป็นสำหรับชีวิต ยิ่งค้นจะทำให้เรารู้มากยิ่งขึ้น ส่วนตัวแล้วชอบค้นแบบรู้กว้างๆ เอาไว้ก่อน เพราะย่นเวลา แล้วจะคิดตาม เพราะการคิดเป็นเรื่องของ anywhere anytime แต่สำหรับบางคนชอบค้นแสวงหาข้อมูลเยอะๆ แบบรู้ลึก
ถามว่าอะไรถูก อะไรผิด เราตอบไม่ได้ เพราะชีวิตการทำงานเหมือนการทดลอง เหมือนการทดสอบ เป็นบทเรียนให้เราได้ทุกวัน ต้องเลือกหยิบเอามาใช้ให้ถูกที่ แบบทันเวลา
ขอบคุณ-ไอศครีมวอลล์ ชุดเอเชี่ยนดีไลท์รสกระทิเผือก ที่ข้าพเจ้าหลงรักและจุดประกายความคิดของโครงการ Customer Delight
Tina Seelig ผู้เขียนเรื่อง inGenius: A crash course on creativity บอกว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่สิ่งที่คุณคิด แต่เป็นสิ่งที่คุณทำ  🙂
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร