ดูงาน Map Room ที่ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CSEAS) มหาวิทยาลัยเกียวโต
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2558 ช่วงบ่ายได้เยี่ยมชม Map Room ที่ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CSEAS) มหาวิทยาลัยเกียวโต ห้องนี้เป็นที่จัดเก็บแผนที่ประมาณ 44,000 แผ่น ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศใกล้เคียง ได้แก่ อินเดีย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา, เนปาล ปากีสถาน, จีน, เกาหลี, ออสเตรเลีย, หมู่เกาะแปซิฟิก และญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ข้อมูลยังไม่ได้นำเข้าฐานออนไลน์ เวลาที่ผู้ใช้ต้องการจะมีแฟ้ม Index แยกตามภูมิภาคเพื่อหาในตู้แผนที่
นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายทางดาวเทียมอีกประมาณ 3,500 ชิ้น ซึ่งจัดทำดิจิตอลด้วยบริการห้องแผนที่ให้ใช้ภายในเท่านั้น และมีบริการถ่ายเอกสารฟรี เพื่อสำหรับการศึกษาและวิจัย
Map Collection
GaiHouZu เป็นแผนที่ที่จัดทำโดยกองทัพญี่ปุ่น ในช่วงก่อนสงครามโลก และระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ 20,000 รายการ จัดเก็บตามพื้นที่ Wall Maps มีประมาณ 500 รายการ Other Maps ประมาณ 24,000 รายการ
The Williams-Hunt Collection รวบรวมภาพถ่ายทางอากาศประมาณ 5,800 รายการ ที่ได้รับจาก Williams-Hunt และจัดทำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดทำโดย Dr. Elizabeth Moore ครอบคลุมประเทศกัมพูชา, ไทย, พม่า, และสิงคโปร์ และได้สแกนจัดเก็บบริการออนไลน์ด้วย ภายในคอลเลคชั่นนี้ยังมีภาพทางอากาศของญี่ปุ่นประมาณ 3,500 และของประเทศลาวและอินโดนีเซียประมาณ 2,200 รายการ
Human Ecology (HEF) รวบรวมบทความด้าน Human Ecology ประมาณ 5,600 มีทั้งข้อมูลจากการประชุม รายงานบทความวารสาร บทความจากหนังสือพิมพ์ ภายหลังมีบทความด้านป่าไม้ และต้นน้ำ จนมีเอกสารเพิ่มขึ้นกว่า 9,200 รายการ
จากนั้นผู้บรรยายพาเข้าชมห้องเก็บแผนที่ ซึ่งเป็นที่เก็บประเภทไมโครฟิล์มด้วย งาน Map Room ทำหน้าที่เก็บเอกสารเก่าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับงานศูนย์ภูมิภาคตะวันตกของห้องสมุดเรา ห้องนี้มีเจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการแค่ 1 คน สิ่งที่ดิฉันรู้สึกประทับใจคือได้เห็นภาพถ่ายทางอากาศของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภาพเก่าที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เก็บรักษาเป็นอย่างดี