การป้องกันอัคคีภัย

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558 บุคลากรของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จำนวน 10 คน ได้เข้าร่วมโครงการป้องกันและระงับอัคคีภัย ณ หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งได้เชิญเจ้าหน้าที่กู้ภัยของเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 4 คน มาเป็นวิทยากร ซึ่งวิทยากรได้ให้ความรู้ด้วยการบรรยาย สาธิตและให้ลองปฏิบัติจริง
20150617_151941 20150617_111122
20150617_145426
ในการบรรยาย วิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดไฟ ว่าเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งไฟจะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่
1.  ความร้อน ในอุณหภูมิที่จะทำให้เชื้อเพลิงคายไอ
2.  ออกซิเจน ประมาณ 16-21% ที่ช่วยให้เกิดการเผาไหม้
3.  เชื้อเพลิง ทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และสารเคมี ที่ยอมลุกไหม้เมื่อรับความร้อนจนเกินจุดติดไฟ
20150617_155449 20150617_154844
ทั้งนี้ไฟจะเกิดขึ้นได้เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนสูงเลยจุดติดไฟและปริมาณออกซิเจนรอบ ๆ เพียงพอ เกิดเป็นความร้อนและแสงสว่างปรากฏให้เรารู้สึกและเห็นได้ ไฟจะลุกไหม้อย่างต่อเนื่องต่อไปเรื่อย ๆ หรือเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีลูกโซ่ตราบเท่าที่มีความร้อน ออกซิเจน และเชื้อเพลิงเพียงพอ และไฟจะมอดดับไปเมื่อองค์ประกอบที่ทำให้เกิดไฟหมดลงหรือถูกขัดขวางไม่ให้ไหม้ต่อไปได้อีก ดังนั้น วิธีการดับเพลิงจึงทำได้ด้วยการลดอุณหภูมิ การทำให้อับอากาศ การขจัดเชื้อเพลิง หรือการตัดปฏิกิริยาลูกโซ่
ในการดับไฟที่สามารถควบคุมได้ จะใช้เครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือซึ่งบรรจุสารดับเพลิงประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้ดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละประเภท ดังนี้
1.  ไฟประเภท เอ เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง พลาสติก จะใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้นํ้าสะสมแรงดัน
2.  ไฟประเภท บี เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ ก๊าซ และน้ำมันประเภทต่าง ๆ จะใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้สารเคมีดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์หรือโฟม หรือผงเคมีแห้ง
3.  ไฟประเภท ซี เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า จะใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้สารเคมีดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงเคมีแห้ง โดยให้ตัดกระแสไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิง
4.  ไฟประเภท ดี เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะหรือสารเคมีที่ติดไฟ จะใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามชนิดของสารเคมีนั้น ๆ หรืออาจใช้ทรายแห้งดับ
20150617_160530 20150617_160307 20150617_160041
เมื่อประสบเหตุไฟไหม้ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ต้องควบคุมสติไม่ให้ตื่นกลัว ให้เปิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้หรือตะโกนบอกคนอื่นให้ทราบ แล้วรีบออกจากตัวอาคาร หากต้องอพยพออกจากห้อง ควรใช้มือสัมผัสบริเวณผนังหรืออังใกล้ ๆ ลูกบิดประตู เพื่อดูว่ามีไฟไหม้บริเวณนั้นหรือไม่ และให้เดินชิดขวาทั้งขึ้นและลงบันได หากเส้นทางหนีไฟเต็มไปด้วยกลุ่มควันให้ใช้ผ้าชุบน้ำมาคลุมตัวและปิดจมูกเพื่อป้องกันการสำลักควัน แล้วหมอบคลาน เนื่องจากเมื่อเกิดไฟไหม้ ความร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศบริสุทธิ์จะอยู่ด้านล่างเหนือพื้นไม่เกิน 1 ฟุต หรืออาจใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ตักอากาศ แล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควันออกมา
กรณีติดอยู่ในห้องที่ไม่สามารถหลบหนีออกมาได้ ให้ปิดประตูหน้าต่าง ใช้ผ้าชุบน้ำอุดตามช่องว่างทั้งหมดป้องกันควันลอยเข้ามาและรีบส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
20150617_152300 20150617_152158
การฝึกซ้อมหนีไฟ การฝึกป้องกันอัคคีภัย และฝึกใช้อุปกรณ์ในการดับไฟต่าง ๆ โดยสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดทักษะและความชำนาญซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไปได้มาก  ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศ เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ข้อ 19 (3) จัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด หรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ และ ข้อ 36 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง…ถ้านายจ้างไม่สามารถฝึกซ้อมดับเพลิงหรือหนีไฟได้เองให้ขอความร่วมมือหน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรองว่าช่วยดำเนินการฝึกซ้อม

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร